ข้ามไปเนื้อหา

สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้าพิกุลทอง กรมขุนศรีสุนทร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ
เจ้าฟ้าพิกุลทอง
สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้าชั้นตรี
กรมขุนศรีสุนทร
พระรูปภายในศาลาการเปรียญ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์
ประสูติพ.ศ. 2320
สิ้นพระชนม์พ.ศ. 2353 (34 ปี)
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท
พระมารดาเจ้าศรีอโนชา
ศาสนาเถรวาท
ธรรมเนียมพระยศของ
กรมขุนศรีสุนทร
การทูลใต้ฝ่าพระบาท
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับพ่ะย่ะค่ะ/เพคะ

สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้าพิกุลทอง กรมขุนศรีสุนทร[1] (พ.ศ. 2320—2353) เป็นพระราชธิดาในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ประสูติแต่เจ้าศรีอโนชา พระองค์ดำรงพระอิสริยศเป็น เจ้าฟ้าวังหน้า พระองค์แรกจากทั้งหมดสองพระองค์ที่ปรากฏในยุครัตนโกสินทร์[2]

พระประวัติ

[แก้]

สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้าพิกุลทอง กรมขุนศรีสุนทรประสูติเมื่อ พ.ศ. 2320 เป็นพระราชธิดาพระองค์เดียวในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ที่ประสูติแต่เจ้าศรีอโนชา พระขนิษฐาในพระเจ้ากาวิละ เมื่อครั้งพระบิดายังดำรงพระยศเป็น เจ้าพระยาสุรสีห์พิษณุวาธิราช (บุญมา) แม่ทัพมณฑลฝ่ายเหนือและผู้สำเร็จราชการเมืองพิษณุโลก ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี[3]

หลังจากที่เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ทรงได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชที่พระราชทานพระฐานันดรศักดิ์เป็น เจ้าฟ้าทรงกรม เป็นกรณีพิเศษเพียงพระองค์เดียวในจำนวนพระราชโอรสธิดาในกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท และเป็น เจ้าฟ้าวังหน้า พระองค์แรก (ส่วนพระองค์ที่สุดท้ายคือพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอิศราพงศ์)[2]

สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้าพิกุลทอง กรมขุนศรีสุนทร สิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ. 2353 สิริพระชันษาได้ 34 ปี ได้รับพระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุผ้าขาว ท้องสนามหลวง[1]

พระเกียรติยศ

[แก้]

พระอิสริยยศ

[แก้]
  • พิกุลทอง (พ.ศ. 2320 - 6 เมษายน พ.ศ. 2325)
  • สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้าพิกุลทอง กรมขุนศรีสุนทร (10 มิถุนายน พ.ศ. 2325 - ปัจจุบัน)

พงศาวลี

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 กรมศิลปากร. สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ (2554). ราชสกุลวงศ์ (PDF). กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. p. 110. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-02-02. สืบค้นเมื่อ 2013-09-18.
  2. 2.0 2.1 กรมศิลปากร. สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ (2554). ราชสกุลวงศ์ (PDF). กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. p. 226. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-02-02. สืบค้นเมื่อ 2013-09-18.
  3. สรัสวดี อ๋องสกุล. ประวัติศาสตร์ล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ:อมรินทร์, 2552. หน้า 316