พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าฉายรัศมีหิรัญพรรณ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าฉายรัศมีหิรัญพรรณ
พระราชวรวงศ์เธอ ชั้น 5
พระองค์เจ้าชั้นโท
พระองค์เจ้าฉายรัศมีหิรัญพรรณ (ด้านหลัง)
กับพระองค์เจ้าเทวีวิไลยวรรณ (ด้านหน้า)
ประสูติ17 ธันวาคม พ.ศ. 2414
สิ้นพระชนม์9 เมษายน พ.ศ. 2471 (56 ปี)
ราชวงศ์จักรี
พระบิดากรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ
พระมารดาจอมมารดาปุ้ย

พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าฉายรัศมีหิรัญพรรณ (17 ธันวาคม พ.ศ. 2414 — 9 เมษายน พ.ศ. 2471) เป็นพระราชธิดาพระองค์ที่ 11 ในกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ประสูติแต่จอมมารดาปุ้ย

พระประวัติ[แก้]

พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าฉายรัศมีหิรัญพรรณ เป็นพระราชธิดาพระองค์ที่ 11 ในกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ประสูติแต่จอมมารดาปุ้ย (ธิดาพระยาพระราม (แสง) กับท่านปุก) เมื่อวันอังคารที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2414[1]

ในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อปี พ.ศ. 2435 พระองค์เจ้าฉายรัศมีหิรัญพรรณ ทรงเข้าเป็นสามัญสมาชิกของหอพระสมุดวชิรญาณในพระบรมมหาราชวัง และประทานเงินบำรุงปีละ 20 บาทเป็นประจำทุกปี ปรากฏความใน วชิรญาณวิเศษ ว่า[2]

"...คราวประชุมครั้งที่ ๓ พระเจ้าน้องนางเธอ พระองค์เจ้าอรุณวดี อุปนายก ทรงนำ พระเจ้าบวรวงษ์เธอ พระองค์เจ้าดวงประภา ภาคินีสมาชิก ทรงรับรอง ๑๔ พระบวรวงษ์เธอ พระองค์เจ้าฉายรัศมีหิรัญญพรรณ์ เปนภาคินีสมาชิก ๑๕ พระบวรวงษ์เธอ พระองค์เจ้าอับศรศรีราชกานดา เปนภาคินีสมาชิก ได้ลงชื่อส่งเงินแล้ว วันที่ ๒ พฤศจิกายน ร,ศก ๑๑๑ ท่านสมาชิกทั้งปวงจงทราบว่า บรรดาท่านที่ได้กล่าวนามแลพระนามมาแล้วนี้ นับว่าเปนสมาชิกของหอพระสมุดวชิรญาณ ตั้งแต่วันที่ได้มาลงนามแลพระนาม ซึ่งได้กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้น เปนต้นไป..."

และ[3]

"...ตั้งแต่วันที่ ๕ จนถึงวันที่ ๑๑ มกราคม รัตนโกสินทร์ศก ๑๑๒ ในระหว่าง ๗ วันนี้ ท่านสมาชิกได้มายังหอพระสมุดวชิรญาณ ๒๒ ท่าน ได้ลงชื่อ ๓๙ ครั้ง แลหนังสือที่ได้ให้ยืม ๔๕ ครั้ง แลสมาชิกได้นำเงินค่าเกมบิลเลียดมาส่ง ๕ ท่าน รวมเปนเงิน ๙๕ บาท ๑๖ อัฐ สมาชิกได้นำเงินบำรุงหอพระสมุดวชิรญาณจำนวนปีที่ ๑๓ มาส่งยังหอพระสมุดวชิรญาณ เปนเงินรายละ ๒๐ บาท ดังจะมีรายพระนามแลนามแจ้งต่อไปนี้ คือ... พระบวรวงษ์เธอ พระองค์เจ้าฉายรัศมีหิรัญญพรรณ์ ๑..."

พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าฉายรัศมีหิรัญพรรณ ประชวรพระโรคอัมพาตมาช้านาน สิ้นพระชนม์ที่พระตำหนักในพระบรมมหาราชวัง ในสมัยรัชกาลที่ 7 เมื่อวันจันทร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2471 พระชนมายุนับปีได้ 57 พรรษา พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์ เสด็จเป็นประธานในการพระราชทานน้ำหลวงสรงพระศพ กับทั้งรับพระศพไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์มีกำหนดเวลา 15 วัน[4] พระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2473[1]

พระเกียรติยศ[แก้]

พระอิสริยยศ[แก้]

  • พระบวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าฉายรัศมีหิรัญพรรณ (17 ธันวาคม พ.ศ. 2414 — 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2454)[5]
  • พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าฉายรัศมีหิรัญพรรณ (15 กรกฎาคม พ.ศ. 2454 — 9 เมษายน พ.ศ. 2471)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

พงศาวลี[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 กรมศิลปากร. สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ (2554). ราชสกุลวงศ์ (PDF). กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. p. 140. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-02-02. สืบค้นเมื่อ 2017-06-26.
  2. วชิรญาณวิเศษ เล่ม ๘ แผ่นที่ ๕ วันพฤหัศบดีที่ ๑๐ เดือน พฤศจิกายน รัตนโกสินทร์ศก ๑๑๑ ราคาแผ่นละ ๓๒ อัฐ[ลิงก์เสีย]
  3. วชิรญาณวิเศษ เล่ม ๙ แผ่นที่ ๑๒ วันพฤหัศบดี ที่ ๑๘ เดือน มกราคม รัตนโกสินทร์ศก ๑๑๒ ราคาแผ่นละ ๓๒ อัฐ[ลิงก์เสีย]
  4. ข่าวสิ้นพระชนม์
  5. ราชบัณฑิตยสถาน. พระเจ้าวรวงศ์เธอ (ตอนที่ ๑) (๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๒). เรียกดูเมื่อ 13 เมษายน 2556
  6. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จุลจอมเกล้าฝ่ายใน, เล่ม 24 หน้า 1011, วันที่ 29 พฤศจิกายน 2451.