พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุนทรีนาฏ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุนทรีนาฏ
พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชั้นโท
Sunthrinat after 1914.jpg
ราชวงศ์จักรี
พระบิดากรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ
พระมารดาจอมมารดาสุ่นเล็ก
ประสูติ27 เมษายน พ.ศ. 2423
สิ้นพระชนม์10 ตุลาคม พ.ศ. 2513 (90 ปี)
พระบรมมหาราชวัง จังหวัดพระนคร

พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุนทรีนาฏ (27 เมษายน พ.ศ. 2423 – 10 ตุลาคม พ.ศ. 2513) เป็นพระราชธิดาในกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ประสูติแต่จอมมารดาสุ่นเล็ก

เมื่อประสูติทรงดำรงพระอิสริยยศที่ พระบวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุนทรีนาฏ ขณะพระชันษา 4 ปีเศษ พระราชบิดาเสด็จทิวงคต ปีถัดมา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนา สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ ขึ้นเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ซึ่งเป็นพระองค์แรกที่ทรงดำรงตำแหน่ง "สยามมกุฎราชกุมาร" ทำให้ตำแหน่ง "กรมพระราชวังบวรสถานมงคล" ถูกยกเลิกตั้งแต่นั้นมา

ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2454 ชณะพระชันษา 30 ปีเศษ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนคำนำพระนามจาก พระบวรวงศ์เธอ เป็น พระราชวรวงศ์เธอ

จากการยกเลิกตำแหน่งวังหน้า ส่งผลให้อำนาจและความเป็นอยู่ของเจ้านายวังหน้าร่วงโรย เจ้านายฝ่ายในหลายพระองค์ดำรงพระองค์อย่างอัตคัต พระองค์เจ้าสุนทรีนาฏเองก็ไม่มีรายได้เพียงพอ พระองค์ทรงเคยทำหนังสือกราบบังคมทูลขอพระราชทานเงินเพื่อทรงใช้หนี้เก่าจำนวน 10,000 บาท แต่กระทรวงวังเบิกจ่ายให้ 5,560 บาท ต่อมาทรงกู้ยืมเงินจากแสง แสงชูคำ จำนวน 350 บาท จนเกิดคดีความขึ้น[1]

พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุนทรีนาฏ เป็นเจ้านายชั้น "พระราชวรวงศ์เธอ" ที่มีพระชนม์อยู่เป็นพระองค์สุดท้าย ก่อนสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2513[ต้องการอ้างอิง] สิริพระชันษา 90 ปี

ต่อมาเมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2514 เวลา 17.00 น. ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร ประธานองคมนตรี เสด็จแทนพระองค์ไปในการพระราชทานเพลิงพระศพ พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุนทรีนาฏ ในกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญเมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส[2]

พระอิสริยยศ[แก้]

  • 27 เมษายน พ.ศ. 2423 — 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2454 : พระบวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุนทรีนาฏ[3]
  • 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2454 — 10 ตุลาคม พ.ศ. 2513 : พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุนทรีนาฏ

พงศาวลี[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. วีระยุทธ ปีสาลี. ""แม่ค้าศักดินา" : การปรับตัวสู่การประกอบอาชีพของเจ้านายสตรีหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475". ศิลปวัฒนธรรม. 36:10 สิงหาคม 2558, หน้า 76
  2. ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวในพระราชสำนัก วันพฤหัสบดีที่ ๑๔ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๑๔, เล่ม 88, ตอน 9 ง, 26 มกราคม พ.ศ. 2514, หน้า 247
  3. ราชบัณฑิตยสถาน. พระเจ้าวรวงศ์เธอ (ตอนที่ ๑) (๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๒). เรียกดูเมื่อ 13 เมษายน 2556