พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภัควดี
พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภัควดี | |
---|---|
พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ ชั้น 4 พระองค์เจ้าชั้นโท | |
![]() | |
ประสูติ | 1 เมษายน พ.ศ. 2398 |
สิ้นพระชนม์ | 3 กันยายน พ.ศ. 2483 (85 ปี) |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว |
พระมารดา | เจ้าจอมมารดาพลอย |
พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภัควดี (1 เมษายน พ.ศ. 2398 – 3 กันยายน พ.ศ. 2483) เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาพลอย ได้รับพระมหากรุณาธิคุณเป็นพิเศษจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานหีบหมากเสวยลงยา และโต๊ะทองคำ
หลังเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 ทำให้เหล่าพระบรมวงศานุวงศ์ทั้งหลายต้องดำรงพระชนม์ชีพอยู่อย่างยากลำบากและขัดสน บางพระองค์ถูกปลดออกจากงานราชการ บางพระองค์ต้องทรงลี้ภัยไปประทับยังต่างประเทศ บางพระองค์ถูกลดเบี้ยหวัดเงินปี ซึ่งพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภัควดีก็ทรงเป็นหนึ่งในพระบรมวงศานุวงศ์ที่ได้รับผลกระทบ ด้วยทรงได้รับเบี้ยหวัดเงินปีไม่เพียงพอต่อการดำรงพระชนม์ชีพ จนถึงขนาดต้องไปหยิบยืมจากพระบรมวงศานุวงศ์พระองค์อื่น โดยในเรื่องนี้มีใจความปรากฏในลายพระหัตถ์ของหม่อมเจ้าหญิงจงจิตรถนอม ดิศกุล ที่ทรงเขียนไปถวายแด่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ผู้เป็นพระบิดาซึ่งทรงประทับอยู่ที่ปีนัง มีความในจดหมายว่า “เมื่อ ๒ วันนี้ พระองค์ภัควดีเสด็จมาที่บ้านรับสั่งว่าเงินงวดยังไม่ออก ไม่มีเงินจะใช้เลย ท่านขอยืมหม่อนฉัน ๒๐ บาท หม่อมฉันได้ทูลว่าหม่อมฉันก็ยากจน ท่านก็วิงวอนอยู่ท่าเดียวเลยต้องถวายท่าน รับสั่งว่าเคยไปทูลรบกวนเสด็จอาถ้าท่านจะกวนหม่อมฉันแทนเสด็จพ่อ เห็นว่าเพียง ๒๐ บาทจึงได้ถวายไปเพื่อสงเคราะห์แก่พระราชวงศ์”[1]
พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภัควดี สิ้นพระชนม์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร เมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2483 สิริพระชันษา 85 ปี เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่สิ้นพระชนม์เป็นลำดับท้าย ๆ มีพระชนม์ยาวนานถึง 5 แผ่นดิน
พระเกียรติยศ
[แก้]พระอิสริยยศ
[แก้]- พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภัควดี (1 เมษายน พ.ศ. 2398 – รัชสมัยรัชกาลที่ 5)[2]
- พระเจ้าบวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภัควดี (รัชสมัยรัชกาลที่ 5 – 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2454)
- พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภัควดี (15 กรกฎาคม พ.ศ. 2454 – ปัจจุบัน)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2447 –
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 4 ชั้นที่ 3 (ม.ป.ร.3)[3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ลายพระหัตถ์โต้ตอบระหว่างสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ กับหม่อมเจ้าจงจิตรถนอม ดิศกุล ที่ระลึกในการพระราชทานเพลิงศพ หม่อมเจ้าจงจิตรถนอม ดิศกุล ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส 2 พฤศจิกายน 2521
- ↑ ราชบัณฑิตยสถาน. พระเจ้าวรวงศ์เธอ (ตอนที่ ๑) (๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๒)[ลิงก์เสีย]. เรียกดูเมื่อ 13 เมษายน 2556
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ ฝ่ายใน เก็บถาวร 2015-10-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๒๑, ตอน ๓๒, ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๔๗, หน้า ๕๗๐
- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. เจ้านายพระชันษายืนในพระราชวงศ์จักรี. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ และหม่อมเจ้าจงจิตรถนอม ดิศกุล พระธิดา, พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2474, แก้ไขปรับปรุง พ.ศ. 2486, พ.ศ. 2530. 153 หน้า. ISBN 974-8356-98-1