ศุภรักษ์ ควรหา
ศุภรักษ์ ควรหา | |
---|---|
รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 30 ธันวาคม พ.ศ. 2551 – 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 | |
นายกรัฐมนตรี | อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 7 กันยายน พ.ศ. 2502 อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ชาติไทยพัฒนา (2556–ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | กนกกาญจน์ ควรหา |
ศุภรักษ์ ควรหา (เกิด 7 กันยายน พ.ศ. 2502) อดีตรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุรินทร์ สังกัดพรรคไทยรักไทย ปัจจุบันสังกัดพรรคชาติไทยพัฒนา
ประวัติ
[แก้]ศุภรักษ์ เกิดเมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2502 ที่ตำบลกร่ำ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง เป็นบุตรคนที่ 2 ของนายปราราภ์ ควรหา นางชื่น ควรหา ด้านครอบครัวสมรสกับกนกกาญจน์ ควรหา สมาชิกวุฒิสภา ปี พ.ศ. 2549 (เป็นโมฆะ) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาเคมี จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
การทำงาน
[แก้]นายศุภรักษ์ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสุรินทร์ ในปี พ.ศ. 2544 และ พ.ศ. 2548 ภายหลังการยุบพรรคไทยรักไทย จึงย้ายมาสังกัดพรรคเพื่อแผ่นดิน และได้รับตำแหน่งรองหัวหน้าพรรค ต่อมาได้รับตำแหน่งรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และได้ลาออกในเวลาต่อมา [1] โดยสาเหตุที่ลาออกไม่ได้มาจากเหตุผลทางการเมืองแต่อย่างใด เพียงแต่ตนต้องการใช้เวลาไปดูแลภรรยา[2] และที่ผ่านมาก็มีปัญหาในการเดินทางมาทำงานที่ทำเนียบรัฐบาลมาก จนไม่ได้ประชุมคณะกรรมการหลายชุด
ต่อมาในปี พ.ศ. 2553 ได้รับแต่งตั้งเป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย[3]
การเลือกตั้งซ่อมเดือนธันวาคม 2553
[แก้]ในการเลือกตั้งซ่อม ส.ส. จังหวัดสุรินทร์ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2553 เพื่อแทนตำแหน่งที่ว่างหลังจากศาลรัฐธรรมนูญมีคำตัดสินให้ ส.ส. จำนวน 6 คน พ้นสมาชิกสภาพ โดยนายศุภรักษ์ ควรหา ได้รับการคัดเลือกจากพรรคภูมิใจไทย ให้ลงสมัครในเขตเลือกตั้งที่ 3 จังหวัดสุรินทร์ และได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในการเลือกตั้งครั้งนั้น[4]
การเลือกตั้ง พ.ศ. 2557
[แก้]ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุรินทร์ เขต 8 สังกัดพรรคชาติไทยพัฒนา
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2553 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[5]
- พ.ศ. 2547 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ข้าราชการการเมืองลาออกจากราชการ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-12. สืบค้นเมื่อ 2010-11-26.
- ↑ "ศุภรักษ์ ควรหา"พรรคพผ. ลาออกรองโฆษกรัฐบาล อ้างเหตุผลไปดูแลภรรยา ยันไม่เกี่ยวการเมือง
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-09-21. สืบค้นเมื่อ 2020-08-05.
- ↑ กกต.รับรองผลการเลือกตั้งซ่อมส.ส.3จังหวัด[ลิงก์เสีย]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๓ เก็บถาวร 2022-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๑๐, ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-06-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๓๘, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗