ระบอบวาง จิงเว่ย์
สาธารณรัฐจีน | |||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ค.ศ. 1940–1945 | |||||||||||||||
ระบอบวาง จิงเว่ย์ (สีแดงเข้ม) และเหมิ่งเจียง (สีแดงอ่อน) ภายในจักรวรรดิญี่ปุ่น (สีชมพู) ในช่วงแผ่อำนาจไพศาลที่สุด | |||||||||||||||
สถานะ | รัฐหุ่นเชิดของจักรวรรดิญี่ปุ่น | ||||||||||||||
เมืองหลวง | หนานจิง | ||||||||||||||
เมืองใหญ่สุด | ช่างไห่ | ||||||||||||||
ภาษาราชการ | จีนมาตรฐาน ญี่ปุ่น | ||||||||||||||
การปกครอง | รัฐเดี่ยว รัฐฟาสซิสต์ระบบพรรคการเมืองเดียวภายใต้ลัทธิไตรราษฎร์[2] | ||||||||||||||
ประธานาธิบดี | |||||||||||||||
• ค.ศ. 1940–1944 | วาง จิงเว่ย์ | ||||||||||||||
• ค.ศ. 1944–1945 | เฉิน กงปั๋ว | ||||||||||||||
รองประธานาธิบดี | |||||||||||||||
• ค.ศ. 1940–1945 | โจว ฝัวไห่ | ||||||||||||||
ยุคประวัติศาสตร์ | สงครามโลกครั้งที่สอง | ||||||||||||||
• ก่อตั้ง | 30 มีนาคม ค.ศ. 1940 | ||||||||||||||
• รับรองโดยญี่ปุ่น | 20 พฤศจิกายน 1940 | ||||||||||||||
• ล่มสลาย | 16 สิงหาคม ค.ศ. 1945 | ||||||||||||||
|
ระบอบวาง จิงเว่ย์ หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ รัฐบาลชาตินิยมปฏิรูปแห่งสาธารณรัฐจีน (จีน: 中華民國國民政府; พินอิน: Zhōnghuá Mínguó Guómín Zhèngfǔ) เป็นรัฐหุ่นเชิดของจักรวรรดิญี่ปุ่นที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกของประเทศจีนในปัจจุบัน ระบอบก่อตั้งขึ้นและดำรงอยู่ควบคู่ไปกับรัฐบาลชาตินิยมแห่งสาธารณรัฐจีนของเจียง ไคเชก ซึ่งร่วมมือกับฝ่ายสัมพันธมิตรเพื่อต่อสู้กับญี่ปุ่นในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ระบอบมีลักษณะการปกครองแบบเผด็จการภายใต้วาง จิงเว่ย์ ผู้เป็นอดีตเจ้าหน้าที่ระดับสูงของพรรคชาตินิยมกั๋วหมินต่าง โดยในช่วงแรก การบริหารภูมิภาคอยู่ภายใต้การควบคุมของญี่ปุ่นในช่วงต้นสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สองเมื่อประมาณปลายทศวรรษ 1930
วาง จิงเว่ย์ เป็นคู่แข่งทางการเมืองของเจียง ไคเชก และเป็นสมาชิกฝ่ายฝักใฝ่สันติภาพของกั๋วหมินต่าง เขาเข้าร่วมกับญี่ปุ่นและก่อตั้งรัฐบาลไส้ศึกในเขตยึดครองหนานจิงเมื่อ ค.ศ. 1940 พร้อมทั้งปกครองรัฐบาลใหม่ควบคู่ไปกับฝ่ายไส้ศึกกั๋วหมินต่างคนอื่น ๆ ระบอบใหม่ได้อ้างสิทธิ์เหนือดินแดนจีนทั้งหมด (ยกเว้นรัฐหุ่นเชิดของญี่ปุ่นในแมนจูเรีย) รวมถึงยังแสดงท่าทีว่าเป็นผู้สืบทอดที่ถูกต้องทางนิตินัยของการปฏิวัติซินไฮ่และมรดกของซุน ยัตเซ็น ซึ่งไม่ยอมรับรัฐบาลของเจียงในฉงชิ่ง ทว่าแท้จริงแล้ว มีเพียงดินแดนในการยึดครองของญี่ปุ่นเท่านั้นที่รัฐบาลใหม่สามารถควบคุมได้โดยตรง นอกจากนี้ ระบอบใหม่ยังได้รับการยอมรับในระดับสากลอย่างจำกัด ซึ่งทั้งหมดเป็นสมาชิกที่ลงนามในกติกาสัญญาต่อต้านโคมินเทิร์น รัฐบาลชาตินิยมปฏิรูปดำรงอยู่จวบจนสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สองและการยอมจำนนของญี่ปุ่นในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1945 เป็นเหตุให้สมาชิกชั้นนำของรัฐบาลจำนวนมากได้รับโทษประหารชีวิตในข้อหาทรยศชาติ
ระบอบก่อตั้งขึ้นจากการรวมตัวกันของรัฐบาลปฏิรูป (ค.ศ. 1938–1940) และรัฐบาลชั่วคราว (ค.ศ. 1937–1940) แห่งสาธารณรัฐจีน ซึ่งเป็นรัฐบาลหุ่นเชิดที่ปกครองดินแดนจีนที่ญี่ปุ่นยึดครองทางตอนกลางและตอนเหนือ ตามลำดับ โดยรัฐบาลเหล่านี้เป็นเพียงแค่อาวุธของผู้นําทหารของญี่ปุ่น และไม่ได้รับการรับรองใด ๆ แม้แต่จากญี่ปุ่นเองหรือพันธมิตร อย่างไรก็ดี หลังจาก ค.ศ. 1940 ดินแดนเดิมของรัฐบาลชั่วคราวยังคงมีสถานะกึ่งปกครองตนเองจากการควบคุมของหนานจิงภายใต้ชื่อ "สภาการเมืองจีนเหนือ" และสำหรับภูมิภาคเหมิ่งเจียง (รัฐบาลหุ่นเชิดในมองโกเลียใน) นั้นอยู่ภายใต้ระบอบวาง จิงเว่ย์ แต่ในนาม ระบอบใหม่ยังถูกขัดขวางจากอำนาจที่ญี่ปุ่นมอบให้อย่างจำกัด ซึ่งต่อมามีการเปลี่ยนแปลงบางส่วนด้วยการลงนามในสนธิสัญญาใหม่ใน ค.ศ. 1943 ทำให้ระบอบมีอํานาจอธิปไตยมากขึ้นจากการควบคุมของญี่ปุ่น
ชื่อ
[แก้]ระบอบมีชื่อเรียกอย่างไม่เป็นทางการที่รู้จักกันว่า รัฐบาลชาตินิยมหนานจิง (จีน: 南京國民政府; พินอิน: Nánjīng Guómín Zhèngfǔ) หรือ ระบอบหนานจิง และ ระบอบวาง จิงเว่ย์ (จีน: 汪精衛政權; พินอิน: Wāng Jīngwèi Zhèngquán) ตามชื่อผู้นำของรัฐบาล ส่วนทางรัฐบาลสาธารณรัฐจีนและสาธารณรัฐประชาชนจีนในเวลาต่อมาถือว่าระบอบการปกครองนี้ผิดกฎหมาย ทำให้ถูกเรียกว่า ระบอบหุ่นเชิดของวาง (จีน: 汪偽政權; พินอิน: Wāng Wěi Zhèngquán) หรือ รัฐบาลชาตินิยมหุ่นเชิด (จีน: 偽國民政府; พินอิน: Wěi Guómín Zhèngfǔ) และสำหรับชื่ออื่นที่เป็นที่รู้จัก ได้แก่ สาธารณรัฐจีน-หนานจิง, จีน-หนานจิง หรือ จีนใหม่
ดูเพิ่ม
[แก้]หมายเหตุ
[แก้]<ref>
ชื่อ "Flag1" ซึ่งนิยามใน <references>
ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้าอ้างอิง
[แก้]- ↑ Japanese Newsreel with the national anthem ที่ยูทูบ
- ↑ Larsen, Stein Ugelvik (ed.). Fascism Outside of Europe. New York: Columbia University Press, 2001. ISBN 0-88033-988-8. p. 255.
แหล่งข้อมูล
[แก้]- บทความวารสาร
- Martin, Brian G. (2003-01-01). "'in My Heart I Opposed Opium': Opium and The Politics of the Wang Jingwei Government, 1940–45". European Journal of East Asian Studies. 2 (2): 365–410. doi:10.1163/157006103771378464. JSTOR 23615144.
- So, Wai Chor (January 2011). "Race, Culture, and the Anglo-American Powers: The Views of Chinese Collaborators". Modern China. 37 (1): 69–103. doi:10.1177/0097700410382542. JSTOR 25759539. S2CID 220605241.
- Zanasi, Margherita (June 2008). "Globalizing Hanjian: The Suzhou Trials and the Post-World War II Discourse on Collaboration". The American Historical Review. 113 (3): 731–751. doi:10.1086/ahr.113.3.731. JSTOR 30223050.
- หนังสือ
- Bate, Don (1941). Wang Ching Wei: Puppet or Patriot. Chicago, IL: RF Seymour.
- Barrett, David P.; Shyu, Larry N., บ.ก. (2001). Chinese Collaboration with Japan, 1932–1945: The Limits of Accommodation. Stanford University Press.
- Behr, Edward (1987). The Last Emperor. Recorded Picture Co. (Productions) Ltd and Screenframe Ltd.
- Boyle, John H. (1972). China and Japan at War, 1937–1945: The Politics of Collaboration. Harvard University Press.
- Brodsgaard, Kjeld Erik (2003). China and Denmark: Relations since 1674. Nordic Institute of Asian Studies.
- Bunker, Gerald (1972). The Peace Conspiracy: Wang Ching-wei and the China War, 1937–1941. Cambridge, Massachusetts: Harvard University Press. ISBN 978-0674-65915-5.
- Ch'i, Hsi-sheng (1982). Nationalist China at War: Military Defeats and Political Collapse, 1937–1945. Ann Arbor, MI: University of Michigan Press.
- Chiang, Kai-Shek. The Soviet Russia in China.
- Chiang, Wego W. K. How the Generalissimo Chiang Kai Shek gained the Chinese-Japanese eight years war, 1937–1945.
- Cotterel, Arthur (2009). Western Power in Asia: Its Slow Rise and Swift Fall, 1415–1999. Wiley.
- Dorn, Frank (1974). The Sino-Japanese War, 1937–41: From Marco Polo Bridge to Pearl Harbor. Macmillan.
- Hsiung, James C.; Levine, Steven I., บ.ก. (1992). China's Bitter Victory: The War with Japan, 1937–1945. Armonk, NY: M. E. Sharpe.
- Jowett, Phillip S. (2004). Rays of The Rising Sun, Armed Forces of Japan's Asian Allies 1931–45, Volume I: China & Manchuria. Solihull, West Midlands, England: Helion & Co. Ltd.
- MacKinnon, Stephen; Lary, Diana (2007). China at War: Regions of China, 1937–1945. Stanford University Press.
- Max, Alphonse (1985). Southeast Asia Destiny and Realities. Institute of International Studies.
- Mote, Frederick W. (1954). Japanese-Sponsored Governments in China, 1937–1945. Stanford University Press.
- Newman, Joseph (March 1942). Goodbye Japan. New York, NY.
- Pollard, John (1014). The Papacy in the Age of Totalitarianism, 1914–1958. Oxford University Press. ISBN 0199208565.
- Smedley, Agnes (1943). Battle Hymn of China.
- Wang, Wei (2016). China's Banking Law and the National Treatment of Foreign-Funded Banks. Routledge.
- Young, Ernest (2013). Ecclesiastical Colony: China's Catholic Church and the French Religious Protectorate. Oxford University Press. pp. 250–251. ISBN 978-0199924622.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Central China Railway Company Flag, under Japanese Army control
- Flags of the Reorganized National Government of the Republic of China
- Slogans, Symbols, and Legitimacy: The Case of Wang Jingwei's Nanjing Regime
- Visual cultures of occupation in wartime China
ก่อนหน้า | ระบอบวาง จิงเว่ย์ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
รัฐบาลชั่วคราวแห่งสาธารณรัฐจีน (ค.ศ. 1937–1940) รัฐบาลปฏิรูปแห่งสาธารณรัฐจีน (ค.ศ. 1938–1940) |
รัฐบาลชาตินิยมปฏิรูปแห่งสาธารณรัฐจีน (ค.ศ. 1940–1945) |
รัฐบาลชาตินิยม (ค.ศ. 1927–1948) |