ลัทธิไตรราษฎร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สามหลักการแห่งประชาชน
ดร.ซุน ยัตเซ็น ผู้วางหลักการของหลักลัทธิไตรราษฎร์
อักษรจีนตัวเต็ม三民主義
อักษรจีนตัวย่อ三民主义

ลัทธิไตรราษฎร์ หรือ สามหลักการแห่งประชาชน (จีน: 三民主义; จีน: 三民主義; พินอิน: Sān Mín Zhǔyì; อังกฤษ: Three Principles of the People, Three People's Principles, San-min Doctrine, หรือ Tridemism) เป็นปรัชญาการเมืองซึ่งซุน ยัดเซ็น พัฒนาขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของปรัชญาที่ทำให้ประเทศจีนเป็นดินแดนอันเสรี รุ่งเรือง และทรงอำนาจ

ลัทธิไตรราษฎร์ประกอบด้วยหลักการสามข้อ ได้แก่ "ประชาชาติ" (民族; people's rule) คือ ความนิยมชาติ, "ประชาสิทธิ์" (民權; people's right) คือ ประชาธิปไตย, และ "ประชาชีพ" (民生; people's livelihood) คือ ความอยู่สุขสวัสดีของผองชน

การนำหลักการทั้งสามไปใช้นั้นก่ออิทธิพลและผลลัพธ์ที่เด่นชัดที่สุดเป็นการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินของสาธารณรัฐจีนในไต้หวัน อนึ่ง

ปรัชญานี้ถูกอ้างว่าเป็นรากฐานที่สำคัญของนโยบายของสาธารณรัฐจีนซึ่งดำเนินการโดย พรรคก๊กมินตั๋ง (國民黨) หลักการเหล่านี้เป็นดังเสาค้ำชาติไต้หวันที่ แบกไว้บนบ่า หลักการทั้งสามยังปรากฏในท่อนแรกของเพลงชาติสาธารณรัฐจีนด้วย

ต้นกำเนิด[แก้]

แนวคิดปรากฏตัวครั้งแรกในหนังสือพิมพ์ หมินเปา ในปี ค.ศ. 1905 、ปรากฎเป็น "สามหลักการใหญ่ของประชาชน" (三大主義) แทน "สามหลักการแห่งประชาชน" (三民主義)

ในปี ค.ศ. 1894 เมื่อมีการก่อตั้งสมาคมฟื้นฟูประเทศจีน (ซิงจงฮุ่ย) ในขณะนั้น ดร.ซุน ยัตเซ็น มีเพียงสองหลักการ ได้แก่ ชาตินิยมและประชาธิปไตยเท่านั้น ดร.ซุนได้หยิบความคิดที่สาม คือ สวัสดิการ หรือ ความเป็นอยู่ของประชาชน ระหว่างการเดินทางสามปีของเขาไปที่ยุโรป จากปี ค.ศ. 1896 ถึง ค.ศ. 1898[1] เขาประกาศแนวคิดทั้งสามในฤดูใบไม้ผลิปี ค.ศ. 1905 ระหว่างเดินทางไปยุโรปอีกครั้ง ดร.ซุนกล่าวสุนทรพจน์ครั้งแรกในชีวิตของเขาเกี่ยวกับ "สามหลักการของประชาชน" ใน บรัสเซลส์[2] ดร.ซุนสามารถรวบรวมสมาชิกและจัดระเบียบสมาคมซิงจงฮุ่ย ในหลาย ๆ เมืองในยุโรป ในขณะนั้นมีสมาชิกประมาณ 30 คนในสาขาบรัสเซลส์ สมาชิก 20 คนใน เบอร์ลินและ 10 คนใน ปารีส[2] ในภายหลังจากได้มีการก่อตั้งขบวนการถงเหมิงฮุ่ยแล้ว ดร.ซุน ได้ตีพิมพ์บทบรรณาธิการลงในหนังสือพิมพ์ หมินเปา (民報) นี่เป็นครั้งแรกที่ความคิดถูกแสดงออกเป็นลายลักษณ์อักษร ต่อมาในฉบับครบรอบของ หมินเปา สุนทรพจน์อันยาวนานของดร.ซุนในหลักการสามประการถูกตีพิมพ์และบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์ได้กล่าวถึงประเด็นการดำรงชีวิตของผู้คน[1]

อุดมการณ์กล่าวกันว่าได้รับอิทธิพลอย่างมากจากประสบการณ์ของดร.ซุน ขณะพำนักอยู่ในสหรัฐอเมริกาและมีองค์ประกอบของขบวนการก้าวหน้าของชาวอเมริกันและแนวความคิดของอับราฮัม ลินคอล์น ซุนให้เครดิตหนึ่งบรรทัดจากสุนทรพจน์ที่เกตตีสเบิร์กของลินคอล์น "รัฐบาลของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน" เป็นแรงบันดาลใจให้กับหลักการสามประการของดร.ซุนมาใช้ในประเทศจีน[2] หลักสามประการของประชาชนของเฝดร.ซุนเชื่อมโยงระหว่างกันเป็นแนวทางในการพัฒนาสิ่งใหม่ๆ เพื่อให้จีนเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ โดยมีผู้ขับเคลื่อนที่สำคัญคือ หู ฮั่นหมิน[3]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Li Chien-Nung, translated by Teng, Ssu-yu, Jeremy Ingalls. The political history of China, 1840–1928. Princeton, NJ: Van Nostrand, 1956; rpr. Stanford University Press. ISBN 0-8047-0602-6, ISBN 978-0-8047-0602-5. pp. 203–206.
  2. 2.0 2.1 2.2 Sharman, Lyon (1968). Sun Yat-sen: His life and its meaning, a critical biography. Stanford: Stanford University Press. pp. 94, 271.
  3. "+{中華百科全書‧典藏版}+". ap6.pccu.edu.tw. สืบค้นเมื่อ 2015-12-24.