ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จักรพรรดิโชวะ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
AvocatoBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.3) (โรบอต เพิ่ม: bn:হিরোহিতো
บรรทัด 166: บรรทัด 166:
[[be-x-old:Хірахіта]]
[[be-x-old:Хірахіта]]
[[bg:Хирохито]]
[[bg:Хирохито]]
[[bn:হিরোহিতো]]
[[bo:ཧི་རོ་ཧི་ཐོ།]]
[[bo:ཧི་རོ་ཧི་ཐོ།]]
[[br:Hirohito]]
[[br:Hirohito]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 01:54, 8 กรกฎาคม 2555

จักรพรรดิโชวะ
สมเด็จพระจักรพรรดิแห่งญี่ปุ่น
พระประมุขแห่งเกาหลี
รัชสมัย25 ธันวาคม พ.ศ. 2469 - 7 มกราคม พ.ศ. 2532 (63 ปี)
รัชกาลก่อนหน้าสมเด็จพระจักรพรรดิไทโช
รัชกาลถัดไปสมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ
ประสูติ29 เมษายน พ.ศ. 2444
พระราชวังอาโอยามะ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
สวรรคต7 มกราคม พ.ศ. 2532
พระราชวังโอมิยะ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น (พระชนมายุ 87 พรรษา)
พระอัครมเหสีสมเด็จพระจักรพรรดินีนะงะโกะ
พระราชบุตรเจ้าหญิงชิเงโกะ ฮิงะชิคุนิ
เจ้าหญิงซะชิโกะ
คะซุโกะ ทะคะสึคะซะ
อัตสึโกะ อิเกะดะ
สมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ
เจ้าฟ้าชายมะซะฮิโตะ ฮิตะชิ
ทะคะโกะ ชิมะสึ
ฮิโระฮิโตะ
ราชวงศ์ราชวงศ์ญี่ปุ่น
พระราชบิดาสมเด็จพระจักรพรรดิไทโช
พระราชมารดาสมเด็จพระจักรพรรดินีเทเม
ไฟล์:403px-Emperor Hirohito and empress Kojun of japan.jpg
จักรพรรดิโชวะ และสมเด็จพระจักรพรรดินี
ไฟล์:K2870702-12.jpg
จักรพรรดิโชวะ ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
ไฟล์:K2870702-9.jpg
จักรพรรดิโชวะ ตอนเสด็จขึ้นครองราชย์

สมเด็จพระจักรพรรดิโชวะ (ญี่ปุ่น: 昭和天皇โรมาจิShōwa Tennōทับศัพท์: โชวะเทนโน) (29 เมษายน 2444 - 7 มกราคม 2532) พระนาม ฮิโระฮิโตะ (裕仁) ทรงเป็นจักรพรรดิพระองค์ที่ 124 ของประเทศญี่ปุ่น ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 2469 - พ.ศ. 2532 รวมแล้วถึง 63 ปี

สมเด็จพระจักรพรรดิฮิโระฮิโตะเสด็จพระราชสมภพ ณ ปราสาทอะโอะยะมะ กรุงโตเกียว เมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2444 ทรงเป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระจักรพรรดิไทโช และเจ้าหญิงซาดาโกะ โดยมีพระนามขณะทรงพระเยาว์ ว่า เจ้าชายมิจิ (迪宮)

ทรงมีบทบาทที่สำคัญในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง โดยเป็นผู้นำญี่ปุ่นเข้าร่วมฝ่ายอักษะร่วมกับนาซีเยอรมันและฟาสซิสต์ของอิตาลี

พระราชโอรส-ธิดา

พระองค์ทรงได้อภิเษกสมรสกับ เจ้าหญิงนางาโกะ คุนิ ต่อมาคือสมเด็จพระจักรพรรดินีโคจุน เป็นพระธิดาพระองค์โตในเจ้าชายคุนิ คุนิโยะชิ เมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2467 (ค.ศ. 1924) และทรงมีพระราชโอรส 2 พระองค์ และพระราชธิดา 5 พระองค์

มกุฎราชกุมาร

หลังจากสมเด็จพระจักรพรรดิไทโชทรงประชวร เจ้าชายฮิโระฮิโตะจึงได้ถูกแต่งตั้งขึ้นมาเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในขณะนั้นเจ้าชายฮิโระฮิโตะทรงมีพระชนมายุได้ 20 พรรษา และทรงกลายมาเป็นจักรพรรดิของประเทศตามพฤตินัย ขาดเพียงพระอิสริยยศว่า "สมเด็จพระจักรพรรดิ" เท่านั้น ขณะที่สมเด็จพระจักรพรรดิไทโชกลับเป็นพระประมุขเพียงในทางนิตินัย

เจ้าชายฮิโระฮิโตะ ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจในส่วนของสมเด็จพระจักรพรรดิในทันที เช่นการเสด็จไปร่วมพิธีเปิดการประชุมสภา ต้อนรับอาคันตุกะต่างแดน และเสด็จพระราชดำเนินชมแสนยานุภาพของการทหาร เจ้าชายยังทรงเอาพระราชกิจด้านการเมืองการปกครองทั้งหมดในวังหลวงของสมเด็จพระจักรพรรดิมาทำ รวมถึงการหารือกับนายกรัฐมนตรี และออกราชโองการรับรองนโยบายของรัฐบาลอย่างเป็นทางการ

ในปี พ.ศ. 2464 (ค.ศ. 1921) เจ้าชายฮิโระฮิโตะในฐานะมกุฎราชกุมารได้เสด็จประพาสทวีปยุโรปเป็นเวลาครึ่งปี ซึ่งประกอบด้วย สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส อิตาลี นครรัฐวาติกัน เนเธอร์แลนด์ และ เบลเยียม ซึ่งการเสด็จประพาสในครั้งนี้ถือได้ว่าเป็นมกุฎราชกุมารพระองค์แรกที่ได้เสด็จไปยุโรป

ขึ้นครองราชย์ และสถานการณ์ในราชสำนัก

เจ้าชายฮิโระฮิโตะเสด็จขึ้นครองราชย์ โดยพระนามว่า สมเด็จพระจักรพรรดิโชวะ ที่หมายถึงสันติภาพอันส่องสว่าง ทรงตั้งความหวังไว้กับประเทศญี่ปุ่นไว้สูง โดยในพระราชโองการฉบับแรกแห่งรัชสมัยที่ทรงประกาศเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2469 มีข้อความว่า

โลกเราในขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนของการวิวัฒน์ไปอย่างต่อเนื่อง ประวัติศาสตร์บทใหม่แห่งอารยธรรมโลกกำลังพลิกเผยตัวเองให้เราได้เห็นกัน

กระแสพระราชดำรัสต่อไปว่า

นโยบายของชาติเรามักจะมุ่งเน้นไปที่กระบวนการอันต่อเนื่องพร้อมกับการปรับปรุงให้ดีขึ้นไปเรื่อยๆ ความเรียบง่ายแทนการสร้างภาพที่ไร้ประโยชน์ ความมีเอกลักษณ์เฉพาะตนแทนการลอกเลียนแบบที่ไม่รู้จักคิด วิธีดำเนินงานที่สอดคล้องกับวิวัฒนาการแห่งยุคสมัยที่ดำเนินอยู่ การปรับปรุงให้ดียิ่งๆขึ้นเพื่อให้ไหลลื่นไปกับกระแสความก้าวหน้าแห่งอารยธรรมโลก ความกลมเกลียวในชาติทั้งในด้านจุดหมายที่ต้องไปให้ถึงและวิธีการที่จะทำให้บรรลุจุดหมายนั้นๆ คุณงามความดีเผยแผ่ไปทุกชนชั้น และสุดท้าย ความมีมิตรจิตต่อประเทศทั้งมวลบนผืนโลก สิ่งเหล่านี้คือจุดหมายหลักที่เราใฝ่ใจและมุ่งที่จะไปให้ถึงอย่างที่สุด

วังหลวงกับวิกฤตการณ์การเมือง

หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง สิ้นสุดลง ญี่ปุ่นกระทำการหลายอย่างที่แสดงถึงความเปิดกว้างและเป็นมิตร โดยเข้าร่วมแนวคิดสากลนิยมที่ประกาศไว้ในหลักการขององค์การสันนิบาตชาติ นอกจากนี้ในการประชุมร่วมที่กรุงวอชิงตัน ญี่ปุ่นยังเห็นชอบที่จะสลายความเป็นพันธมิตรระหว่างอังกฤษกับญี่ปุ่น เพื่อแลกกับการลงนามในสนธิสัญญาว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยร่วมกับมหาอำนาจตะวันตก ซึ่งระบุให้จำกัดจำนวนยุทโธปกรณ์ทางน้ำ และยอมรับสิทธิและอำนาจเต็มของจีนเหนือดินแดนจีนเองด้วย ค.ศ. 1925 ญี่ปุ่นยังขยายความสัมพันธ์ทางการทูตไปถึงสหภาพโซเวียต แม้กลุ่มโคมินเทิรน์จะคอยสนับสนุนความเคลื่อนไหวของฝ่ายคอมมิวนิสต์ในภูมิภาคเอเชียนอยู่ก็ตาม แต่ในอีกด้านหนึ่งความสัมพันธ์ของสหรัฐอเมริกากับญี่ปุ่นกลับเลวลง เมื่อมีกฎหมายห้ามชาวญี่ปุ่นเข้าสหรัฐอเมริกา สร้างความโกรธแค้นให้แก่ชาวญี่ปุ่นอย่างยิ่ง เพราะไปประจวบกับเวลาที่ญี่ปุ่เพิ่งถูกองค์กรสันนิบาตชาติปฏิเสธที่จะรับรองข้อเสนอของญี่ปุ่นว่ามนุษย์ทุกเผ่าพันธ์เท่าเทียมกัน เข้าไว้ในพันธะสัญญาขององค์กร แม้กระนั้น ก็แทบจะไม่มีสัญญาณใดๆในช่วงทศวรรษ 1920 ถึงวิกฤตความสัมพันธ์ในอนาคตระหว่างญี่ปุ่นกับ สหรัฐอเมริกาเลย

นโยบายเปิดเสรีการค้าของญี่ปุ่นที่ใช้ความร่วมมือทางการทูต โดยสันติเป็นสื่อก็ตรงกับนโยบายเปิดประตูความสัมพันธ์และการค้า ซึ่งริเริ่มโดยวุฒิสมาชิก จอห์น เฮย์ ในช่วงต้นศตวรรษด้วยซ้ำ ด้วยความไว้วางใจในข้อตกลงที่ทำไว้กับนานาประเทศว่าจะเป็นหนทางเสริมสร้างสันติภาพและความมั่นคงในประเทศและภูมิภาคเอเชียได้

สมเด็จพระจักรพรรดิโชวะ เจ้าชายไซองจิ มากิโนะ และผู้นำที่สนับสนุนระบอบรัฐธรรมนูญคนอื่นๆในวังต่างพากันให้ความเห็นชอบกับนโยบาย ความร่วมมือทางการทูตของชาติมหาอำนาจ อังกฤษ-สหรัฐฯ และจีนกันหมดทุกคน เจ้าชายไซองจิขึ้นดำรงตำแหน่งหัวหน้าผู้แทนชาติญี่ปุ่นไปร่วมประชุมสันติภาพที่กรุงปารีส โดยมีมากิโนะ และ จินดะ สุเทมิ เป็นผู้ช่วย เจ้าชายไซองจิเคยกล่าวไว้ว่า

หน้าที่ของฉันในการรับใช้สมเด็จพระจักรพรรดิมี 2 ด้าน คือคอยหลบเลี่ยงความเสียหายใดๆที่อาจกระทบต่อรัฐธรรมนูญของญี่ปุ่น และส่งเสริมเกียรติสนธิสัญญาที่ทำไว้กับนานาชาติ

[1]

แต่ในไม่ช้าสถานการณ์ในประเทศจีนทำลายภาพฝันที่จะมีความสงบสุขอย่างถาวรในประเทศจีนจนสิ้น เริ่มตั้งแต่ความสำเร็จของ แผนยึดแดนเหนือ ของเจียงไคเช็ก ในปีค.ศ. 1926 เพื่อรวมชาติจีนให้อยู่ภายใต้การปกครองของพรรคชาตินิยม หรือ กว๋อหมินตั่ง หรือที่คนไทยรู้จักกันในนาม ก๊กมินตั๋ง ที่สร้างความตระหนกแก่นายทหารญี่ปุ่นประจำกองทัพกวานตง ที่ปักหลักอยู่แถบแมนจูเรียใต้ เพราะพวกเขาไม่ไว้ใจ จางจว้อหลิน ผู้นำกองทัพที่เป็นลูกค้าของญี่ปุ่นอยู่ทางตอนเหนือของจีน คิดไปว่าจางจว้อหลินอาจช่วยหยุดยั้ง เจียงไคเช็ก และปกป้องสิทธิประโยชน์ของญี่ปุ่นเหนือดินแดนแมนจูเรียไม่ให้ถูกองกำลังของเจียงไคเช็กคุกคามไม่ได้ ดังนั้นในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1928 ทหารญี่ปุ่นเหล่านี้จึงลอบสังหารจางจว้อหลิน ด้วยการระเบิดรถไฟที่เขาโดยสารมาขณะกำลังมุ่งสู่เมืองมุกเด็น (ปัจจุบันคือเมือง เสิ่นหยาง) และโยนความผิดให้กองโจรชาวจีน ว่าเป็นผู้ลงมือ

สงครามโลกครั้งที่ 2

ไฟล์:Hirohito.jpg
จักรพรรดิโชวะ และจักรพรรดินีนางาโกะ ตอนเสด็จประพาสสหรัฐอเมริกาหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
ไฟล์:Reagan-hirohito.jpg
จักรพรรดิโชวะ ตอนเสด็จประพาสสหรัฐอเมริกาหลังสงครามโลกครั้งที่ 2

เมื่อญี่ปุ่นเข้าสู่สงคราม สมเด็จพระจักรพรรดิโชวะย่อมมีพระราชประสงค์ที่จะให้ญี่ปุ่นได้ชัยชนะ พระองค์จึงพอพระทัยเป็นอันมากที่ปฏิบัติการโจมตีเพิร์ล ฮาร์เบอร์ สร้างความเสียหายอย่างหนักให้แก่กองกำลังสหรัฐอเมริกาประจำภาคพื้นแปซิฟิก

ต้นเดือนมีนาคม พ.ศ. 2485 ทรงพอพระทัยไม่น้อยไปกว่ากันกับชัยชนะปานสายฟ้าแลบของญี่ปุ่นเหนือเกาะฮ่องกง กรุงมะนิลา สิงคโปร์ ปัตตาเวีย (จาร์กาตา) และย่างกุ้ง

ขณะเดียวกัน ก็ทรงกังวลเกี่ยวกับปัญหาในการลำเลียงเสบียงและเชื้อเพลิงไปให้กับกองกำลังญี่ปุ่นที่กำลังรบอยู่ในสมรภูมิที่ห่างไกลมาตุภูมิ "ชัยชนะที่ได้ออกจะมาเร็วไปหน่อย" พระองค์จึงมักจะทรงเตือนผู้นำทหารบกและทหารเรือให้ปรับปรุงการทำงานระหว่างสองกองทัพให้ประสานงานได้ดีขึ้น เพราะสภาพที่เป็นอยู่นั้นจัดว่าไร้ประสิทธิภาพโดยสิ้นเชิง และยังทรงเตือนให้สองกองทัพ เลิกใช้วิธีเหมือนเล่นการเมืองพาทะเลาะกันเรื่องการเคลื่อนย้ายฝูงบินเสียที เมื่อทรงได้รับรายงานเกี่ยวกับความปราชัยครั้งสำคัญของญี่ปุ่นเช่นที่ ยุทธภูมิมิดเวย์ จึงมีแต่พระราชดำรัสให้ผู้นำทหารทั้งหลายทำงานของตนให้ดีที่สุดในการปฏิบัติครั้งหน้า โดยแทบจะมิได้ทรงแสดงอารมณ์ใดๆออกมาอีก ราวกับทรงปลงเสียแล้ว

พระราชกรณียกิจที่ทรงปฏิบัติในระหว่างสงครามกระตุ้นให้ประชาชนฮึกเหิมกับศึกที่เกิดขึ้นด้วยอีกแรงหนึ่งไม่ว่าจะเป็นการทรงม้าขาวออกเสด็จตรวจกำลังพล หรือมีพระราชดำรัสเปิดการประชุมรัฐสภาที่ปลุกเร้ากำลังใจของราษฎรให้ช่วยกันพยายามเพื่อชัยชนะของประเทศตามหนังสือที่ร่างโดยรัฐบาล พระราชกรณียกิจเหล่านี้ล้วนสร้างภาพว่า พระองค์กำลังทรงบัญชาการความเคลื่อนไหวทั้งหมดของกองทัพในฐานะที่ทรงเป็นจอมทัพของชาติ แต่ขณะที่พระองค์ทรงอ่านรายงานการรบและลงพระนามรับรองแผนปฏิบัติการทางทหารต่างๆอยู่อย่างขะมักเขม้นทุกวี่ทุกวันนั้น สมเด็จพระจักรพรรดิโชวะมิได้ทรงมีส่วนในการบังคับบัญชาใดๆ เฉกเช่นที่สมเด็จพระจักรพรรดิเมจิไม่เคยได้ทรงกระทำหน้าที่นี้ทุกครั้งที่มีสงครามขึ้นเลย

หากมองจากภายนอก ประชาชนอาจคิดว่าพระจักรพรรดิของพวกเขาเป็นกษัตริย์นักรบ แต่แท้จริงแล้วพระองค์มีพระราชประสงค์ให้สงครามยุติลงโดยเร็วต่างหาก

เดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1942 สมเด็จพระจักรพรรดิโชวะได้มีพระราชดำรัสให้พลเอกโตโจรับทราบข้อเท็จจริงข้อนี้ "เราหวังตลอดเวลาที่ผ่านมานี้ ท่านจะได้ใช้ความพยายามอย่างที่สุดและใช้ทุกโอกาสที่มีเพื่อยุติการประหัตประหารกันนี้ในทันทีที่ทำได้ หากคิดถึงความสงบสุขของมนุษย์ด้วยกันแล้วการปล่อยสงครามยืดเยื้อต่อไปรังแต่จะเปล่าประโยชน์" ทรงเสริมด้วยว่า "เราเกรงว่า ประสิทธิภาพของทหารเราจะอ่อนด้อยลงไปหากสงครามต้องยืดเยื้อ" แต่โดยหน้าที่แล้ว โตโจจำเป็นต้องทำสงครามต่อไป และแม้กระแสการรบจะพัดย้อนไปกระหน่ำญี่ปุ่นแทน สงครามก็ยังไม่อาจยุติลงได้ ดูเหมือนว่าสมเด็จพระจักรพรรดิโชวะกลับเป็นผู้ต่อเวลาทำสงครามออกไปเสียเองถึง 2 ทางด้วยกัน ประการแรก แม้ในช่วงแรกๆจะมีขบวนการสันติภาพที่ก่อตั้งขึ้นโดยอดีตนายกรัฐมนตรี ข้าราชสำนัก และแม้กระทั่งเชื้อพระวงศ์บางองค์ แต่สมเด็จพระจักรพรรดิก็ไม่ทรงยอดปลดโตโจออกตามคำเรียกร้องของสมาชิกขบวนการที่ต้องการจะหยุดยั้งสงครามไว้ให้ได้ เพราะในระหว่างยังไงเสียญี่ปุ่นก็ต้องอาศัยโตโจดำเนินการรบไปจนกว่าสถานะของญี่ปุ่นในการเจรจาสันติภาพจะดีขึ้น และบรรลุเงื่อนไขตามที่ญี่ปุ่นต่อรอง โดยพระองค์ทรงตรัสกับ เจ้าชายทาคาทัตสึ พระอนุชาองค์รองว่า

"ใครๆก็ว่าโตโจไม่ดี แต่จะหาใครดีไปกว่านี้ได้อีกไหมในเมื่อไม่มีคนเหมาะสมกว่า ยังจะมีทางเลือกอื่น นอกจากร่วมงานกับคณะของโตโจหรือ"

อิโนอุเอะ คิโยชิ นักประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นเขียนไว้ว่า

"บุคคลที่ชื่อ ฮิโระฮิโตะนั้น คือสุภาพบุรุษที่เปี่ยมไปด้วยความเห็นอกเห็นใจและกล้าหาญในสายตาของสมาชิกในครอบครัวและบรรดาที่ปรึกษาใกล้ชิดทั้งหลาย แต่สมเด็จพระจักรพรรดิฮิโระฮิโตะ กลับขึ้นปกครองบ้านเมืองในสมัยที่ระบอบเผด็จการอันแข็งกร้าว และชูลัทธินิยมจักรพรรดิ รุ่งเรืองถึงขีดสุด ทั้งยังทรงดำรงอยู่ในฐานะผู้นำที่ก่อสงครามร้ายแรงหลายต่อหลายครั้ง ชี้นำการปกครองประเทศภายใต้ระบบที่กดขี่พลเมืองของตนเอง" [2]

ในหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทม์ ได้รายงานคำประกาศของพรรคคอมมิวนิสต์ญี่ปุ่นเขียนขึ้นในวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2532 หนึ่งวันหลังจากสมเด็จพระจักรพรรดิโชวะสวรรคตว่า

"พวกเราจำต้องแสดงความรู้สึกในนามของเหยื่อสงครามอันเหี้ยมโหดและเหยื่อกฏเมืองที่โหดร้ายจำนวนหลายสิบล้านชีวิตผู้ไม่มีโอกาสจะเอ่ยคำใดได้อีกแล้ว สมเด็จพระจักรพรรดิโชวะคือผู้ที่ต้องรับผิดชอบต่อสงครามเลวร้ายที่เกิดขึ้นมากที่สุด และหนักหน่วงที่สุด"

เมื่อพิจารณาจากมุมมองนี้ การที่นายพลดักลาส แมคอาเธอร์ ลดหย่อนโทษให้แก่สมเด็จพระจักรพรรดิโชวะ ไม่นำพระองค์ไปขึ้นศาลโลกในฐานะอาชญากรสงครามหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สงบลงนั้น ก็อาจจะเกิดมาจากคำตรัสคำนี้ก็เป็นได้

และครั้นสมเด็จพระจักรพรรดิได้เสด็จไปพบปะกับนายพลแมคอาเธอร์หลังสงครามโลกนั้น ตามคำที่นายพลได้เขียนไว้ พระจักรพรรดิได้ตรัสกับเขาว่า

"ข้าพเจ้าจะเป็นอย่างไรก็ไม่ว่า โทษนั้นข้าพเจ้าจะรับเอง แต่อยากให้ช่วยประชาชนแทน" เมื่อนายพลแมคอาเธอร์ได้ฟัง เขาก็ได้ซาบซึ้งใจอย่างมาก แต่เนื่องจากการสนทนานี้ไม่ค่อยมีใครรู้กันมากนัก จึงไม่ทราบว่าเป็นจริงหรือไม่ ครั้นมีการสัมภาษณ์สมเด็จพระจักรพรรดิเมื่อปี พ.ศ. 2518 พระองค์ก็ทรงตรัสว่า "ไม่สามารถที่จะเปิดเผยได้ เพราะเป็นคำสัญญาของลูกผู้ชาย"

พระราชจริยวัตรและสายพระเนตรที่มองโลก

หลังวันประสูติวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1901 ได้ไม่นาน เจ้าชายฮิโระฮิโตะถูกมอบให้อยู่ในความดูแลของนายทหารเรือเกษียณราชการผู้หนึ่ง คือ คาวามุระ สึมิโยชิ และภรรยา เมื่อคาวามุระถึงแก่กรรมลงในปี ค.ศ. 1904 เจ้าชายองค์น้อยได้เสด็จกลับไปประทับร่วมกับพระบิดาและพระมารดาอีกครั้ง ณ วังอาคาซากะ ทรงรู้สึกใกล้ชิดพระบิดาและพระชนนีเท่าใดนั้นยากที่จะกล่าว แต่หนึ่งในบรรดามหาเล็กที่ถวายการดูแลเจ้าชายอยู่คือ คันโรจิ โอซานางะ ให้ความเห็นว่าเจ้าชายรักและผูกพันกับสมเด็จพระจักรพรรดิเมจิ ซึ่งเป็นสมเด็จพระอัยกา (ปู่) เป็นพิเศษ และโปรดที่จะเกาะแจอยู่กับพระองค์ ยามที่เสด็จไปหาเสด็จปู่ที่พระราชวังอิมพีเรียล แต่โอกาสเช่นนั้นก็เกิดแทบจะนับครั้งได้ [3] ในทางกลับกันสมเด็จพระจักรพรรดิเมจิจะพระราชทานของขวัญแก่พระราชนัดดาองค์น้อยและแย้มพระโอษฐ์ให้ แม้จะตรัสกับพระราชนัดดาน้อยเหลือเกิน เช่นเดียวกันกับแทบที่จะไม่มีพระดำรัสใดๆกับเจ้าชายโยชิฮิโตพระโอรสเลย หลายปีต่อมา เจ้าชายฮิโระฮิโตะจะถือเอาแบบจากสมเด็จพระจักรพรรดิเมจิเป็นแบบอย่างทางการปกครองของพระองค์

ด้านกายภาพแล้วเจ้าชายฮิโระฮิโตะมิได้มีพระวรกายที่น่าประทับใจแก่ผู้พบเห็นแต่อย่างใด เพราะสายพระเนตรสั้น จึงต้องทรงฉลองพระเนตรตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ และเหล่ามหาดเล็กก็ต้องคอยทูลให้เปลี่ยนท่าทางพระวรกายอยู่เสมอ เพราะบุคลิกภาพในพระองค์ไม่ค่อยดีนัก นอกจากนี้ยังทรงเป็นเด็กเรียนรู้ช้า มักจะมีปัญหาแม้กระทั่งกลัดกระดุมเครื่องแบบนักเรียน การฝึกซ้อมร่างกาย ทรงม้า ว่ายน้ำ และวิธีออกกำลังกายอื่นๆอีกมากช่วยปรับเปลี่ยนบุคลิกภาพพระองค์ให้ดีขึ้น แต่พระวรกายยังเล็กอยู่เช่นเดิมแม้เมื่อเจริญพระชันษาแล้ว

เมื่อเจ้าชายแห่งเวลส์เสด็จพระราชดำเนินมาเยือนญี่ปุ่น เจ้าชายเอ็ดเวิร์ดจำต้องแสร้งหวดผิด เมื่อทอดพระเนตรเห็นว่าเจ้าชายฮิโระฮิโตะตีลูกกอล์ฟไม่ค่อยถูก[4]

อ้างอิง

  1. Harada Kumao, "Saionji-ko to saikyoku', 9 vols., Tokyo: Iwanami Shoten, 1950-56
  2. อิโนอุเอะ คิโยชิ, เทนโนโนะเซงโซเซะกินิง, โตเกียว: Gendai Hyoronsha , 2518
  3. Osanaga Kanroji, "Hirohito"An Intimate Portrait of the Japanese Emperor , Los Angeles : Gateway, 1975
  4. HRH The Duke of Windsor, 'A King's Story', London: Cassell, 1951
  • Behr, Edward Hirohito: Behind the Myth, Villard, New York, 1989. - A controversial book that posited that Hirohito had a more active role in WWII than had publicly been portrayed; it contributed to the re-appraisal of his role.
  • Bix, Herbert P. Hirohito and the Making of Modern Japan, HarperCollins, 2000. ISBN 0-06-019314-X, A recent scholarly (and copiously sourced) look at the same issue.
  • Drea, Edward J. (1998). "Chasing a Decisive Victory: Emperor Hirohito and Japan's War with the West (1941-1945)". In the Service of the Emperor: Essays on the *Imperial Japanese Army. Nebraska: University of Nebraska Press. ISBN 0-8032-1708-0.
  • Fujiwara, Akira, Shōwa Tennō no Jū-go Nen Sensō (Shōwa Emperor's Fifteen-year War), Aoki Shoten, 1991. ISBN 4-250-91043-1 (Based on the primary sources)
  • Hoyt, Edwin P. Hirohito: The Emperor and the Man, Praeger Publishers, 1992. ISBN 0-275-94069-1
  • Kawahara, Toshiaki Hirohito and His Times: A Japanese Perspective, Kodansha International, 1997. ISBN 0-87011-979-6 (Japanese official image)
  • Mosley, Leonard Hirohito, Emperor of Japan, Prentice-Hall, Englewood Cliffs, 1966. ISBN 1-111-75539-6 ISBN 1-199-99760-9, The first full-length biography, it gives his basic story.
  • Wetzler, Peter Hirohito and War: Imperial Tradition and Military Decision Making in Prewar Japan, University of Hawaii Press, 1998. ISBN 0-8248-1925-X
  • Yamada, Akira, Daigensui Shōwa Tennō (Shōwa Emperor as Commander in Chief), Shin-Nihon Shuppansha, 1994. ISBN 4-406-02285-6 (Based on the primary sources)
ก่อนหน้า จักรพรรดิโชวะ ถัดไป
สมเด็จพระจักรพรรดิไทโช จักรพรรดิแห่งญี่ปุ่น
(พ.ศ. 2469 - พ.ศ. 2532)
สมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ

แม่แบบ:Link FA แม่แบบ:Link FA