ข้ามไปเนื้อหา

ระบอบวาง จิงเว่ย์

พิกัด: 32°03′N 118°46′E / 32.050°N 118.767°E / 32.050; 118.767
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Wang Jingwei regime)
สาธารณรัฐจีน

中華民國  (จีน)
พินอิน: Zhōnghuá Mínguó
ถอดเป็นอักษรโรมัน: Chunghwa Minkuo
โรมาจิ: Chūka Minkoku
ค.ศ. 1940–1945
ธงชาติรัฐบาลชาตินิยมปฏิรูปแห่งสาธารณรัฐจีน
ธงชาติ (ค.ศ. 1940–1943)
ธงชาติ (ค.ศ. 1943–1945)
คำขวัญ和平、反共、建國
Hépíng, fǎngòng, jiànguó
"สันติภาพ ต่อต้านคอมมิวนิสต์ สร้างชาติ"
ระบอบวาง จิงเว่ย์ (สีแดงเข้ม) และเหมิ่งเจียง (สีแดงอ่อน) ภายในจักรวรรดิญี่ปุ่น (สีชมพู) ในช่วงแผ่อำนาจไพศาลที่สุด
ระบอบวาง จิงเว่ย์ (สีแดงเข้ม) และเหมิ่งเจียง (สีแดงอ่อน) ภายในจักรวรรดิญี่ปุ่น (สีชมพู) ในช่วงแผ่อำนาจไพศาลที่สุด
สถานะรัฐหุ่นเชิดของจักรวรรดิญี่ปุ่น
เมืองหลวงหนานจิง
เมืองใหญ่สุดช่างไห่
ภาษาราชการจีนมาตรฐาน
ญี่ปุ่น
การปกครองรัฐเดี่ยว รัฐฟาสซิสต์ระบบพรรคการเมืองเดียวภายใต้ลัทธิไตรราษฎร์[2]
ประธานาธิบดี 
• ค.ศ. 1940–1944
วาง จิงเว่ย์
• ค.ศ. 1944–1945
เฉิน กงปั๋ว
รองประธานาธิบดี 
• ค.ศ. 1940–1945
โจว ฝัวไห่
ยุคประวัติศาสตร์สงครามโลกครั้งที่สอง
• ก่อตั้ง
30 มีนาคม ค.ศ. 1940
• รับรองโดยญี่ปุ่น
20 พฤศจิกายน 1940
16 สิงหาคม ค.ศ. 1945
ก่อนหน้า
ถัดไป
รัฐบาลปฏิรูปแห่งสาธารณรัฐจีน
รัฐบาลชั่วคราวแห่งสาธารณรัฐจีน
รัฐบาลสหภาพปกครองตนเองเหมิ่งเจียง
สาธารณรัฐจีน
การยึดครองแมนจูเรียของโซเวียต

ระบอบวาง จิงเว่ย์ หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ รัฐบาลชาตินิยมปฏิรูปแห่งสาธารณรัฐจีน (จีน: 中華民國國民政府; พินอิน: Zhōnghuá Mínguó Guómín Zhèngfǔ) เป็นรัฐหุ่นเชิดของจักรวรรดิญี่ปุ่นที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกของประเทศจีนในปัจจุบัน ระบอบก่อตั้งขึ้นและดำรงอยู่ควบคู่ไปกับรัฐบาลชาตินิยมแห่งสาธารณรัฐจีนของเจียง ไคเชก ซึ่งร่วมมือกับฝ่ายสัมพันธมิตรเพื่อต่อสู้กับญี่ปุ่นในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ระบอบมีลักษณะการปกครองแบบเผด็จการภายใต้วาง จิงเว่ย์ ผู้เป็นอดีตเจ้าหน้าที่ระดับสูงของพรรคชาตินิยมกั๋วหมินต่าง โดยในช่วงแรก การบริหารภูมิภาคอยู่ภายใต้การควบคุมของญี่ปุ่นในช่วงต้นสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สองเมื่อประมาณปลายทศวรรษ 1930

วาง จิงเว่ย์ เป็นคู่แข่งทางการเมืองของเจียง ไคเชก และเป็นสมาชิกฝ่ายฝักใฝ่สันติภาพของกั๋วหมินต่าง เขาเข้าร่วมกับญี่ปุ่นและก่อตั้งรัฐบาลไส้ศึกในเขตยึดครองหนานจิงเมื่อ ค.ศ. 1940 พร้อมทั้งปกครองรัฐบาลใหม่ควบคู่ไปกับฝ่ายไส้ศึกกั๋วหมินต่างคนอื่น ๆ ระบอบใหม่ได้อ้างสิทธิ์เหนือดินแดนจีนทั้งหมด (ยกเว้นรัฐหุ่นเชิดของญี่ปุ่นในแมนจูเรีย) รวมถึงยังแสดงท่าทีว่าเป็นผู้สืบทอดที่ถูกต้องทางนิตินัยของการปฏิวัติซินไฮ่และมรดกของซุน ยัตเซ็น ซึ่งไม่ยอมรับรัฐบาลของเจียงในฉงชิ่ง ทว่าแท้จริงแล้ว มีเพียงดินแดนในการยึดครองของญี่ปุ่นเท่านั้นที่รัฐบาลใหม่สามารถควบคุมได้โดยตรง นอกจากนี้ ระบอบใหม่ยังได้รับการยอมรับในระดับสากลอย่างจำกัด ซึ่งทั้งหมดเป็นสมาชิกที่ลงนามในกติกาสัญญาต่อต้านโคมินเทิร์น รัฐบาลชาตินิยมปฏิรูปดำรงอยู่จวบจนสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สองและการยอมจำนนของญี่ปุ่นในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1945 เป็นเหตุให้สมาชิกชั้นนำของรัฐบาลจำนวนมากได้รับโทษประหารชีวิตในข้อหาทรยศชาติ

ระบอบก่อตั้งขึ้นจากการรวมตัวกันของรัฐบาลปฏิรูป (ค.ศ. 1938–1940) และรัฐบาลชั่วคราว (ค.ศ. 1937–1940) แห่งสาธารณรัฐจีน ซึ่งเป็นรัฐบาลหุ่นเชิดที่ปกครองดินแดนจีนที่ญี่ปุ่นยึดครองทางตอนกลางและตอนเหนือ ตามลำดับ โดยรัฐบาลเหล่านี้เป็นเพียงแค่อาวุธของผู้นําทหารของญี่ปุ่น และไม่ได้รับการรับรองใด ๆ แม้แต่จากญี่ปุ่นเองหรือพันธมิตร อย่างไรก็ดี หลังจาก ค.ศ. 1940 ดินแดนเดิมของรัฐบาลชั่วคราวยังคงมีสถานะกึ่งปกครองตนเองจากการควบคุมของหนานจิงภายใต้ชื่อ "สภาการเมืองจีนเหนือ" และสำหรับภูมิภาคเหมิ่งเจียง (รัฐบาลหุ่นเชิดในมองโกเลียใน) นั้นอยู่ภายใต้ระบอบวาง จิงเว่ย์ แต่ในนาม ระบอบใหม่ยังถูกขัดขวางจากอำนาจที่ญี่ปุ่นมอบให้อย่างจำกัด ซึ่งต่อมามีการเปลี่ยนแปลงบางส่วนด้วยการลงนามในสนธิสัญญาใหม่ใน ค.ศ. 1943 ทำให้ระบอบมีอํานาจอธิปไตยมากขึ้นจากการควบคุมของญี่ปุ่น

ชื่อ

[แก้]

ระบอบมีชื่อเรียกอย่างไม่เป็นทางการที่รู้จักกันว่า รัฐบาลชาตินิยมหนานจิง (จีน: ; พินอิน: Nánjīng Guómín Zhèngfǔ) หรือ ระบอบหนานจิง และ ระบอบวาง จิงเว่ย์ (จีน: ; พินอิน: Wāng Jīngwèi Zhèngquán) ตามชื่อผู้นำของรัฐบาล ส่วนทางรัฐบาลสาธารณรัฐจีนและสาธารณรัฐประชาชนจีนในเวลาต่อมาถือว่าระบอบการปกครองนี้ผิดกฎหมาย ทำให้ถูกเรียกว่า ระบอบหุ่นเชิดของวาง (จีน: ; พินอิน: Wāng Wěi Zhèngquán) หรือ รัฐบาลชาตินิยมหุ่นเชิด (จีน: ; พินอิน: Wěi Guómín Zhèngfǔ) และสำหรับชื่ออื่นที่เป็นที่รู้จัก ได้แก่ สาธารณรัฐจีน-หนานจิง, จีน-หนานจิง หรือ จีนใหม่

ดูเพิ่ม

[แก้]

หมายเหตุ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Japanese Newsreel with the national anthem ที่ยูทูบ
  2. Larsen, Stein Ugelvik (ed.). Fascism Outside of Europe. New York: Columbia University Press, 2001. ISBN 0-88033-988-8. p. 255.

แหล่งข้อมูล

[แก้]
บทความวารสาร
หนังสือ
  • Bate, Don (1941). Wang Ching Wei: Puppet or Patriot. Chicago, IL: RF Seymour.
  • Barrett, David P.; Shyu, Larry N., บ.ก. (2001). Chinese Collaboration with Japan, 1932–1945: The Limits of Accommodation. Stanford University Press.
  • Behr, Edward (1987). The Last Emperor. Recorded Picture Co. (Productions) Ltd and Screenframe Ltd.
  • Boyle, John H. (1972). China and Japan at War, 1937–1945: The Politics of Collaboration. Harvard University Press.
  • Brodsgaard, Kjeld Erik (2003). China and Denmark: Relations since 1674. Nordic Institute of Asian Studies.
  • Bunker, Gerald (1972). The Peace Conspiracy: Wang Ching-wei and the China War, 1937–1941. Cambridge, Massachusetts: Harvard University Press. ISBN 978-0674-65915-5.
  • Ch'i, Hsi-sheng (1982). Nationalist China at War: Military Defeats and Political Collapse, 1937–1945. Ann Arbor, MI: University of Michigan Press.
  • Chiang, Kai-Shek. The Soviet Russia in China.
  • Chiang, Wego W. K. How the Generalissimo Chiang Kai Shek gained the Chinese-Japanese eight years war, 1937–1945.
  • Cotterel, Arthur (2009). Western Power in Asia: Its Slow Rise and Swift Fall, 1415–1999. Wiley.
  • Dorn, Frank (1974). The Sino-Japanese War, 1937–41: From Marco Polo Bridge to Pearl Harbor. Macmillan.
  • Hsiung, James C.; Levine, Steven I., บ.ก. (1992). China's Bitter Victory: The War with Japan, 1937–1945. Armonk, NY: M. E. Sharpe.
  • Jowett, Phillip S. (2004). Rays of The Rising Sun, Armed Forces of Japan's Asian Allies 1931–45, Volume I: China & Manchuria. Solihull, West Midlands, England: Helion & Co. Ltd.
  • MacKinnon, Stephen; Lary, Diana (2007). China at War: Regions of China, 1937–1945. Stanford University Press.
  • Max, Alphonse (1985). Southeast Asia Destiny and Realities. Institute of International Studies.
  • Mote, Frederick W. (1954). Japanese-Sponsored Governments in China, 1937–1945. Stanford University Press.
  • Newman, Joseph (March 1942). Goodbye Japan. New York, NY.
  • Pollard, John (1014). The Papacy in the Age of Totalitarianism, 1914–1958. Oxford University Press. ISBN 0199208565.
  • Smedley, Agnes (1943). Battle Hymn of China.
  • Wang, Wei (2016). China's Banking Law and the National Treatment of Foreign-Funded Banks. Routledge.
  • Young, Ernest (2013). Ecclesiastical Colony: China's Catholic Church and the French Religious Protectorate. Oxford University Press. pp. 250–251. ISBN 978-0199924622.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
ก่อนหน้า ระบอบวาง จิงเว่ย์ ถัดไป
รัฐบาลชั่วคราวแห่งสาธารณรัฐจีน
(ค.ศ. 1937–1940)
รัฐบาลปฏิรูปแห่งสาธารณรัฐจีน
(ค.ศ. 1938–1940)
รัฐบาลชาตินิยมปฏิรูปแห่งสาธารณรัฐจีน
(ค.ศ. 1940–1945)
รัฐบาลชาตินิยม
(ค.ศ. 1927–1948)

32°03′N 118°46′E / 32.050°N 118.767°E / 32.050; 118.767