สมาคมคณะชาติ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมาคมคณะชาติ
ผู้ก่อตั้งพระยาโทณวณิกมนตรี (วิสุทธิ์ โทณวณิก)
พระยาศราภัยพิพัฒ (เลื่อน ศราภัยวานิช)
หลุย คีรีวัต
หลวงวิจิตรวาทการ (วิจิตร วิจิตรวาทการ)
หัวหน้าหลวงวิจิตรวาทการ (วิจิตร วิจิตรวาทการ)
ก่อตั้งพ.ศ. 2475
ถูกยุบมกราคม พ.ศ. 2476
หนังสือพิมพ์
สนับสนุนคณะชาติ
[1]
อุดมการณ์กษัตริย์นิยม
การเมืองไทย
รายชื่อพรรคการเมือง
การเลือกตั้ง

สมาคมคณะชาติ เป็นความพยายามในการจัดตั้งพรรคการเมืองฝ่ายตรงข้ามคณะราษฎร ภายหลังจากที่มีการตั้งสมาคมคณะราษฎร[2] ภายหลังถูกพระยามโนปกรณนิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) ประธานคณะกรรมการราษฎรในขณะนั้นปฏิเสธ โดยอ้างว่าสภาพบ้านเมืองยังไม่พร้อม[3]

คณะชาติ ก่อตั้งขึ้นในพ.ศ. 2475 โดยมีผู้ยื่นขอจดทะเบียนคือ พระยาโทณวณิกมนตรี (วิสุทธิ์ โทณวณิก) พระยาศราภัยพิพัฒ (เลื่อน ศราภัยวานิช) หลุย คีรีวัต หลวงวิจิตรวาทการ (วิจิตร วิจิตรวาทการ) และเจ้านายเชื้อพระวงศ์อีกหลายองค์[4][5] เนื่องมาจากข้าราชการทหารและขุนนางชั้นสูงของระบอบเก่า มีความคิดเห็นว่าพรรคการเมืองที่มีพรรคเดียวคือคณะราษฎร ไม่ใช่ประชาธิปไตย[6] เมื่อคณะราษฎรจัดตั้งสมาคมโดยมีลักษณะเป็นพรรคการเมือง ประกาศรับสมัครสมาชิกและมีผู้สมัครมากมาย หลวงวิจิตรวาทการจึงตั้งคณะชาติขึ้นเพื่อเป็นสมาคมทางการเมืองของกลุ่มผู้ไม่เห็นด้วยกับคณะราษฎร[7]

รัฐบาลพระยามโนปกรณนิติธาดา นำความกราบบังคมทูลปรึกษาพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว กลับได้รับพระราชกระแสว่าไม่ควรอนุญาตเพราะจะทำให้เกิดความแตกแยกในกาลอันไม่เหมาะสม จึงแนะนำให้ยุบเลิกไปทั้งสองสมาคม[8] รัฐบาลจึงปฏิเสธข้อเสนอตั้งพรรคการเมืองชื่อ "สมาคมคณะชาติ" ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2476

อ้างอิง[แก้]

  1. ใจจริง, ณัฐพล (5 May 2021). "สมาคมคณะชาติ : 'The Conservative Party' พรรคแรกแห่งสยาม" (ออนไลน์). มติชนสุดสัปดาห์. กรุงเทพมหานคร: มติชน. สืบค้นเมื่อ 7 February 2023. การเสนอจัดตั้งสมาคมคณะชาติ นำไปสู่การโต้เถียงกันบนหน้าหนังสือพิมพ์ทั้ง 2 ฝ่าย ฝ่ายนิยมคณะราษฎร เช่น 24 มิถุนา สัจจัง และกรรมกร กับฝ่ายนิยมคณะชาติ เช่น ไทยใหม่ ช่วยกรรมกร และกรุงเทพฯ เดลิเมล์ กลุ่มแรกวิจารณ์ว่า สมาคมคณะชาติเป็นกลุ่มการเมืองของชนชั้นสูง ผู้มีทรัพย์ซึ่งเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนเป็นหลัก และเกลียดชังคณะราษฎร ดำเนินโนยบายต่อต้านรัฐบาลคณะราษฎร และมีเจ้านายอยู่เบื้องหลัง ดังนั้น ไม่สมควรให้จัดทะเบียนจัดตั้ง ส่วนกลุ่มหลังเสนอว่า ต้องมีพรรคการเมืองฝ่ายค้าน
  2. พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ (19 December 2017). "เจาะเวลาหาอดีต : การกลับมาของ'ประชาธิปไตยไร้พรรค'ในรูปแบบใหม่". มติชน. สืบค้นเมื่อ 25 August 2019.
  3. "ระบบพรรคการเมืองไทยในอุดมคติ". วารสารสังคมศาสตร์. ปีที่ 18 (ฉบับที่ 2): หน้า 3. 2 June 1981.
  4. ไพบูลย์ ดีคง. วิทยานิพนธ์เรื่องกำเนิดการปกครองระบอบรัฐสภาในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2508. หน้า 136.
  5. หลวงวิจิตรวาทการ. คณะการเมือง. กรุงเทพฯ : [ม.ป.พ.], 2475. หน้า 1-2.
  6. "คณะราษฎร VS คณะชาติ เบื้องหลังความขัดแย้งระยะเริ่มปชต. จนคนมองการเมืองน่ารังเกียจ". ศิลปวัฒนธรรม. 28 March 2019. สืบค้นเมื่อ 25 August 2019.
  7. "การก่อตัวและการพัฒนาของพรรคการเมืองไทย". สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน. เล่มที่ 31 (เรื่องที่ 4). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-01-07. สืบค้นเมื่อ 2019-08-25.
  8. นิธิ เอียวศรีวงศ์ (3 February 2017). "ความอ่อนแอทางอุดมการณ์". มติชนสุดสัปดาห์. สืบค้นเมื่อ 25 August 2019.