สภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 3
สภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 3 | |||||
---|---|---|---|---|---|
| |||||
![]() | |||||
ภาพรวม | |||||
เขตอำนาจ | ประเทศไทย | ||||
ที่ประชุม | พระที่นั่งอนันตสมาคม | ||||
วาระ | 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 – 15 ตุลาคม พ.ศ. 2488 | ||||
การเลือกตั้ง | การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสยามเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2481 | ||||
รัฐบาล | คณะรัฐมนตรีแปลก 1 (2481-2485) คณะรัฐมนตรีแปลก 2 (2485-2487) คณะรัฐมนตรีควง 1 (2487-2488) คณะรัฐมนตรีทวี (2488) คณะรัฐมนตรีเสนีย์ 1 (2488-2489) | ||||
สภาผู้แทนราษฎร | |||||
![]() | |||||
สมาชิก | 178 | ||||
ประธาน | พระยามานวราชเสวี ตั้งแต่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2481 และตั้งแต่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2487 พระยาศรยุทธเสนี ตั้งแต่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2486 | ||||
รองประธาน | พระประจนปัจจนึก ตั้งแต่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2481 ควง อภัยวงศ์ ตั้งแต่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2487 ฟื้น สุพรรณสาร ตั้งแต่ 17 สิงหาคม 2487 | ||||
นายกรัฐมนตรี | หลวงพิบูลสงคราม ตั้งแต่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2481 ควง อภัยวงศ์ ตั้งแต่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2487 ทวี บุณยเกตุ ตั้งแต่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2488 หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ตั้งแต่ 17 กันยายน พ.ศ. 2488 |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 3 (12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 - 15 ตุลาคม พ.ศ. 2488) เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของประเทศไทย มีจำนวนสมาชิกทั้งสิ้น 178 คน โดยประเภทที่ 1 มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งแบ่งเขตทั้งหมด 91 คนจากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2481 ประเภทที่ 2 มาจากการแต่งตั้ง จำนวน 87 คน
การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นการเลือกตั้งทางตรง แบบรวมเขต ครั้งแรก ถือเกณฑ์ราษฎร 200,000 คน ต่อผู้แทนราษฎร 1 คน ได้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำนวน 91 คน
ประกาศขยายอายุสภาผู้แทนราษฎรครั้งที่หนึ่ง รัฐบาลได้เสนอรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต่อสภาผู้แทนราษฎร โดยให้มีบทบัญญัติว่าถ้ามีพฤติการณ์สำคัญกระทบถึงนโยบายภายในและภายนอกประเทศอันเป็นการพ้นวิสัย หรือมีเหตุขัดข้องที่จะทำให้การเลือกตั้งในขณะที่กำหนดเวลาสี่ปีสิ้นสุดลงไม่ได้ ก็ให้ตราพระราชบัญญัติขยายเวลาออกไปอีกคราวละไม่เกินสองปีได้ ที่ประชุมได้พิจารณารับหลักการและให้ประกาศใช้เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม
วันที่ 5 ธันวาคม 2485 รัฐบาลได้เสนอร่างพระราชบัญญัติขยายกำหนดเวลาอยู่ในตำแหน่งของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรออกไปอีกไม่เกินสองปี นับแต่วันที่สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษรสิ้นสุดลง ซึ่งที่ประชุมได้ลงมติรับหลักการและได้ลงมติให้ประกาศใช้เป็นกฎหมายได้
ประกาศขยายอายุสภาผู้แทนราษฎรครั้งที่สอง วันที่ 14 กันยายน 2487 รัฐบาลได้เสนอร่างพระราชบัญญัติขยายกำหนดเวลาอยู่ในตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่ 2) โดยกำหนดให้ขยายอายุของสมาชิกชุดนี้ออกไปอีกไม่เกินสองปี นับแต่วันที่สิ้นวาระเป็นต้นไป โดยมีเหตุผลว่าอยู่ในระหว่างสงครามไม่สามารถดำเนินการเลือกตั้งได้ และได้ประกาศใช้เป็นกฎหมายเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2487 [1]
สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชุดนี้ สิ้นสุดลง เนื่องจาก สภาผู้แทนราษฎรมีมติไม่เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติอาชญากรสงครามที่รัฐบาลเสนอ เพื่อให้ลงโทษผู้ก่อให้เกิดการปกครองตามลัทธิคอมมิวนิสต์
รายนามสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[แก้]
ประเภทที่ 1[แก้]
![]() ![]() |
มีรายนามดังนี้
พระนคร[แก้]
จังหวัด | เขต | รายนาม | สมาชิกภาพ | หมายเหตุ |
พระนคร | 1 | ขุนสมาหารหิตะคดี (โป๊ โปรคุปต์) | ![]() |
เสียชีวิต |
โชติ คุ้มพันธ์ | ![]() |
เลือกตั้งใหม่[2] | ||
2 | ร้อยโทณเณร ตาละลักษณ์ | ![]() |
ขาดคุณสมบัติ | |
เลื่อน พงษ์โสภณ | ![]() |
เลือกตั้งใหม่ | ||
3 | อรุณ ทองปัชโชติ | ![]() |
ธนบุรี[แก้]
จังหวัด | เขต | รายนาม | สมาชิกภาพ | หมายเหตุ |
ธนบุรี | 1 | นายกวดหุ้มแพร (โต สุจริตกุล) | ![]() |
ภาคกลาง[แก้]
ภาคเหนือ[แก้]
จังหวัด | เขต | รายนาม | สมาชิกภาพ | หมายเหตุ |
เชียงราย | 1 | บุญศรี วิญญรัตน์ | ![]() |
|
2 | นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) | ![]() |
||
เชียงใหม่ | 1 | ภิญโญ อินทวิวัฒน์ | ![]() |
|
2 | อินทร สิงหเนตร | ![]() |
สภาผู้แทนฯ ให้พ้นสมาชิกภาพ | |
สี่หมื่น วณีสอน | ![]() |
เลือกตั้งใหม่ | ||
3 | สุวิชช พันธเศรษฐ | ![]() |
||
น่าน | 1 | จำรัส มหาวงศนันท์ | ![]() |
|
แพร่ | 1 | ทอง กันทาธรรม | ![]() |
|
แม่ฮ่องสอน | 1 | บุญเท่ง ทองสวัสดิ์ | ![]() |
|
ลำปาง | 1 | พลตรีพระยาอมรวิสัยสรเดช (พิณ โรหิตะพินทุ) | ![]() |
|
2 | สร้อย ณ ลำปาง | ![]() |
เสียชีวิต | |
ประยูร ขันธรักษ์ | ![]() |
เลือกตั้งใหม่ | ||
ลำพูน | 1 | เจ้าวรทัศน์ ณ ลำพูน | ![]() |
|
อุตรดิตถ์ | 1 | พึ่ง ศรีจันทร์ | ![]() |
ภาคอีสาน[แก้]
จังหวัด | เขต | รายนาม | สมาชิกภาพ | หมายเหตุ |
ขอนแก่น | 1 | โสภัณ ศุภธีระ | ![]() |
|
2 | ผล แสนสระดี | ![]() |
||
ชัยภูมิ | 1 | ทองดี หาญศึกษา | ![]() |
|
นครจัมปาศักดิ์ | 1 | สอน บุตโรบล | ![]() |
เลือกตั้งเพิ่มเติม |
นครพนม | 1 | ขุนอนุสรกรณี (ทะ พรหมประกาย) | ![]() |
|
นครราชสีมา | 1 | กำปัน ภูมิพาณิชย์ | ![]() |
ศาลสั่งให้เลือกตั้งใหม่ |
พระประสงค์เกษมราษฎร์ | ![]() |
เลือกตั้งใหม่ | ||
2 | ร้อยโทอู๊ด นิตยสุทธิ์ | ![]() |
||
3 | เอี่ยม สุภาพกุล | ![]() |
||
บุรีรัมย์ | 1 | ทัน พรหมมิทธิกุล | ![]() |
|
มหาสารคาม | 1 | ทองม้วน อัตถากร | ![]() |
|
2 | ทองดี ณ กาฬสินธุ์ | ![]() |
||
3 | จำลอง ดาวเรือง | ![]() |
||
ร้อยเอ็ด | 1 | ถวิล อุดร | ![]() |
|
2 | เขมชาติ บุณยรัตพันธ์ | ![]() |
||
ลานช้าง | 1 | สังคม ริมทอง | ![]() |
เลือกตั้งเพิ่มเติม |
เลย | 1 | พระยาศรีนครชัย (ประวงษ์ อมาตยกุล) | ![]() |
|
ศรีสะเกษ | 1 | หลวงราษฎร์วิรุณหกิจ (ช้อย สุคนธ์) | ![]() |
|
2 | พุฒเทศ กาญจนเสริม | ![]() |
||
สกลนคร | 1 | เตียง ศิริขันธ์ | ![]() |
|
สุรินทร์ | 1 | ปรึกษ์ แก้วปลั่ง | ![]() |
|
2 | พันธุ์ มูลศาสตร์ | ![]() |
||
หนองคาย | 1 | ขุนพิพัฒนโภคา | ![]() |
เสียชีวิต |
ร้อยเอกเยี่ยม เอกสิทธิ์ | ![]() |
เลือกตั้งใหม่ | ||
อุดรธานี | 1 | ร้อยโทขุนสรไกรพิศิษฐ (ประจวบ มหาขันธ์) | ![]() |
|
อุบลราชธานี | 1 | ฟอง สิทธิธรรม | ![]() |
|
2 | ทองอินทร์ ภูริพัฒน์ | ![]() |
||
3 | เลียง ไชยกาล | ![]() |
||
4 | ขุนบุรัสการกิติคดี | ![]() |
เสียชีวิต | |
บุญมา เกษมวัน | ![]() |
เลือกตั้งใหม่ |
ภาคใต้[แก้]
จังหวัด | เขต | รายนาม | สมาชิกภาพ | หมายเหตุ |
กระบี่ | 1 | เต๋ พวงนุ่น | ![]() |
|
ชุมพร | 1 | หลวงศรีสุพรรณดิษฐ์ (เผียน ชุมวรฐายี) | ![]() |
|
ตรัง | 1 | เชือน สวัสดิปาณี | ![]() |
|
นครศรีธรรมราช | 1 | ฉ่ำ จำรัสเนตร | ![]() |
|
2 | เปี่ยม บุณยะโชติ | ![]() |
||
นราธิวาส | 1 | อดุลย์ ณ สายบุรี | ![]() |
|
ปัตตานี | 1 | พระพิพิธภักดี (ตนกูมุกดา อับดุลบุตร) | ![]() |
|
พังงา | 1 | โมรา ณ ถลาง | ![]() |
|
พัทลุง | 1 | ร้อยตรีถัด รัตนพันธ์ | ![]() |
เสียชีวิต |
ถัด พรหมมาณพ | ![]() |
เลือกตั้งใหม่ | ||
ภูเก็ต | 1 | ชิต เวชประสิทธิ์ | ![]() |
|
ยะลา | 1 | วิไล เบญจลักษณ์ | ![]() |
|
ระนอง | 1 | บุลจักร (จู๋) ลิ่มศิลา | ![]() |
|
สงขลา | 1 | เธียร วิปุลากร | ![]() |
|
2 | พระยาศรีธรรมราช (ทองคำ กาญจนโชติ) | ![]() |
||
สตูล | 1 | สงวน ณ นคร | ![]() |
|
สุราษฎร์ธานี | 1 | วุฒิ สุวรรณรักษ์ | ![]() |
ภาคตะวันออก[แก้]
จังหวัด | เขต | รายนาม | สมาชิกภาพ | หมายเหตุ |
จันทบุรี | 1 | อมร ผลประสิทธิ์ | ![]() |
|
ฉะเชิงเทรา | 1 | นิ่ม เรืองเกษตร | ![]() |
|
ชลบุรี | 1 | จันทรเขตร์ ฉัตรภูติ | ![]() |
|
ตราด | 1 | เฉลา เตาลานนท์ | ![]() |
|
ปราจีนบุรี | 1 | ดาบสงวน พยุงพงศ์ | ![]() |
|
พระตะบอง | 1 | ชวลิต อภัยวงศ์ | ![]() |
เลือกตั้งเพิ่มเติม |
พิบูลสงคราม | 1 | ประยูร อภัยวงศ์ | ![]() |
เลือกตั้งเพิ่มเติม |
ระยอง | 1 | เสกล เจตสมมา | ![]() |
ภาคตะวันตก[แก้]
จังหวัด | เขต | รายนาม | สมาชิกภาพ | หมายเหตุ |
กาญจนบุรี | 1 | พิพัฒน์ (เต็ก) ภังคานนท์ | ![]() |
|
ตาก | 1 | หมัง สายชุ่มอินทร์ | ![]() |
|
ประจวบคีรีขันธ์ | 1 | หม่อมหลวงต้อย ชุมสาย | ![]() |
|
เพชรบุรี | 1 | ทองพูน อังกินันทน์ | ![]() |
|
ราชบุรี | 1 | ทองดี จันทรกุล | ![]() |
ประเภทที่ 2[แก้]
ดำรงตำแหน่งต่อเนื่องมาจาก สภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 1
![]() ![]() |
ผู้ดำรงตำแหน่ง[แก้]
ประธานสภาผู้แทนราษฎร
- พระยามานวราชเสวี (ปลอด วิเชียร ณ สงขลา) (12 ธันวาคม พ.ศ. 2481 - 24 มิถุนายน พ.ศ. 2486)
- พลเรือตรี พระยาศรยุทธเสนี (กระแส ประวาหะนาวิน) (6 กรกฎาคม พ.ศ. 2486 - 24 มิถุนายน พ.ศ. 2487)
- พระยามานวราชเสวี (ปลอด วิเชียร ณ สงขลา) (2 กรกฎาคม พ.ศ. 2487 - 15 ตุลาคม พ.ศ. 2488)
รองประธานสภาผู้แทนราษฎร
- พลตรี พระประจนปัจจนึก (พุก มหาดิลก) (12 ธันวาคม 2481 - 29 มิถุนายน 2487)
- พันตรี ควง อภัยวงศ์ (29 มิถุนายน 2487 - 16 สิงหาคม 2487)
- ฟื้น สุพรรณสาร (17 สิงหาคม 2487 - 15 กรกฎาคม 2488)