ถวิล อุดล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ถวิล อุดร)
ถวิล อุดล
รัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
17 กันยายน พ.ศ. 2488 – 31 มกราคม พ.ศ. 2489
นายกรัฐมนตรีหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ด
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2480 – พ.ศ. 2490
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2452
จังหวัดร้อยเอ็ด ประเทศสยาม
เสียชีวิต4 มีนาคม พ.ศ. 2492 (39 ปี)
จังหวัดพระนคร ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองสหชีพ
คู่สมรสบุนทัน อุดล

ถวิล อุดล (3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2452 - 4 มีนาคม พ.ศ. 2492) เป็นนักการเมือง หนึ่งใน "สี่เสืออีสาน" ซึ่งประกอบด้วย ตัวนายถวิลเอง นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ นายเตียง ศิริขันธ์ และนายจำลอง ดาวเรือง และเป็นรัฐมนตรีที่ถูกสังหารเมื่อปี พ.ศ. 2492 สิริอายุ 39 ปี[1]

ประวัติ[แก้]

นาย ถวิล อุดล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากจังหวัดร้อยเอ็ด คุณถวิลนั้นเป็นคนร้อยเอ็ดโดยกำเนิด เกิดเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2452 ที่บ้านคุ้มเหนือ จังหวัดร้อยเอ็ด บิดาชื่อนายฟัก มารดาชื่อนางนิ่ม ฐานะทางบ้านดี บิดาทำการค้าขายข้าวเปลือก ในด้านการศึกษาท่านเรียนที่โรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัยมาก่อนจนถึงมัธยมปีที่ 5 แล้วจึงเข้ามาเรียนต่อในพระนคร ที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ในชั้นมัธยมปีที 6 จนจบมัธยมปีที่ 8 จากนั้นจึงได้เข้าเรียนต่อที่โรงเรียนกฎหมายของกระทรวงยุติธรรม จบเป็นเนติบัณฑิต ขณะที่มีอายุได้ 21 ปี เมื่อ พ.ศ. 2473 เรียนจบแล้วก็ไปมีอาชีพเบื้องต้นเป็นทนายความ ชีวิตสมรสของท่านนั้นมีภรรยาชื่อนางบุนทัน อุดล

นายถวิลดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดร้อยเอ็ด 2 สมัย เป็นหัวหน้าเสรีไทย จังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งเคยเดินทางไปติดต่อขอความร่วมมือจาก ประเทศจีน แนวคิดทางการเมืองที่สำคัญ คือ เงินภาษีที่เก็บจากประชาชน ต้องเป็นประโยชน์กลับคืนสู่ประชาชนทั้งหมด

ถวิล อุดล ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีครั้งแรกในปี พ.ศ. 2488 ในรัฐบาลของนายทวี บุณยเกตุ[2] รัฐบาลของหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช[3]

การเสียชีวิต[แก้]

นายถวิล อุดล เสียชีวิตเมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2492 หลังเหตุการณ์กบฏแบ่งแยกดินแดน โดยถูกจับกุมพร้อมกับ อดีตรัฐมนตรีอีสานอีก 3 คน คือ นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ นายจำลอง ดาวเรือง และนายทองเปลว ชลภูมิ และถูกนำตัวไปที่บริเวณ ทุ่งบางเขน ถนนพหลโยธิน กิโลเมตรที่ 14 โดย กรมตำรวจ ในเวลานั้นอ้างเหตุว่า มีโจรคอมมิวนิสต์มลายู มาชิงตัว 4 อดีตรัฐมนตรี และเกิดการต่อสู้ขึ้น จนทำให้ทั้ง 4 คน ถูกลูกหลงเสียชีวิตทั้งหมด แต่ไม่ใคร่จะมีใครเชื่อข้ออ้างดังกล่าวนัก เนื่องจากไม่มีตำรวจเสียชีวิตหรือบาดเจ็บแม้แต่รายเดียว

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, ประวัติการเมืองไทย 2475-2500, มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, พิมพ์ครั้งที่ 4, โรงพิมพ์เรือนแก้ว, พ.ศ. 2549, หน้า 352