กลุ่มภาษามอญ-เขมร
หน้าตา
(เปลี่ยนทางจาก ภาษากลุ่มมอญ-เขมร)
กลุ่มภาษามอญ-เขมร เป็นกลุ่มของภาษาพื้นเมืองในแถบอินโดจีน อยู่ในตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติกเช่นเดียวกับกลุ่มภาษามุนดาในอินเดีย การแบ่งกลุ่มย่อยของภาษาในกลุ่มนี้ ตามการแบ่งของ Diffloth ที่เขียนไว้ใน Encyclopedia Britannica เมื่อ พ.ศ. 2517 แบ่งได้ดังนี้
- กลุ่มตะวันออก ได้แก่ภาษาเขมรที่ใช้พูดในกัมพูชา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย และภาคใต้ของเวียดนาม ราว 15-22 ล้านคน กลุ่มภาษาเบียริกในภาคใต้ของกัมพูชา กลุ่มภาษาบะห์นาริก ในเวียดนาม กัมพูชาและลาว กลุ่มภาษากะตูในลาวภาคกลาง กลุ่มภาษาเวียตติกในเวียดนาม (66-73 ล้านคน)
- กลุ่มเหนือ ได้แก่ภาษากาสีในรัฐเมฆาลัย อินเดีย กลุ่มภาษาปะหล่องในชายแดนจีน-พม่า และภาคเหนือของไทย กลุ่มภาษาขมุในลาวภาคเหนือ กลุ่มภาษาม้งในเวียดนามและจีน กลุ่มภาษาปยูในจีน
- กลุ่มใต้ ได้แก่ภาษามอญในพม่าและไทย กลุ่มภาษาอัสเลียนในภาคใต้ของไทยและมาเลเซีย (มีสามกลุ่มคือ จาฮาอิก ซีนอยติก และ เซเมลาอิก) กลุ่มภาษานิโคบาร์ในหมู่เกาะนิโคบาร์
- กลุ่มที่จำแนกไม่ได้ ได้แก่กลุ่มภาษาบูกัน บูซินชัว เกเมียฮัวและกวนฮัวในจีน
อ้างอิง
[แก้]- Shorto, Harry L. edited by Sidwell, Paul, Cooper, Doug and Bauer, Christian (2006). A Mon-Khmer comparative dictionary. Canberra: Australian National University. Pacific Linguistics. ISBN 0-85883-570-3