อำเภอจอมพระ
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
อำเภอจอมพระ | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Chom Phra |
คำขวัญ: จอมพระเมืองเก่า เล่าลือปราสาทหิน ถิ่นงามวัฒนธรรม เลิศล้ำผ้าไหม สะอาดใสลำน้ำชี เกษตรอินทรีย์ เป็นเลิศ ก่อเกิดข้าวหอมมะลิ | |
![]() แผนที่จังหวัดสุรินทร์ เน้นอำเภอจอมพระ | |
พิกัด: 15°7′3″N 103°36′41″E / 15.11750°N 103.61139°E | |
ประเทศ | ![]() |
จังหวัด | สุรินทร์ |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 429.0 ตร.กม. (165.6 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 58,704 คน |
• ความหนาแน่น | 136.84 คน/ตร.กม. (354.4 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 32180 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 3204 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอจอมพระ หมู่ที่ 6 ถนนปัทมานนท์ ตำบลจอมพระ อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์ 32180 |
![]() |
จอมพระ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดสุรินทร์
ประวัติ[แก้]
อำเภอจอมพระเดิมอยู่ในเขตการปกครองของอำเภอท่าตูม ต่อมาได้ยกฐานะตั้งเป็นกิ่งอำเภอเมื่อ พ.ศ. 2502 โดยใช้ชื่อของตำบลจอมพระตั้งเป็นชื่อของกิ่งอำเภอ เรียกว่า กิ่งอำเภอจอมพระ ต่อมาเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2508 ได้มีพระราชฏีกาให้ยกฐานะเป็นอำเภอ เรียกว่า อำเภอจอมพระ ที่มาของชื่อ "จอมพระ" นี้ ไม่สามารถค้นหาหลักฐานอ้างอิงได้แน่นอน เป็นแต่เพียงตำนานของชาวบ้านได้เล่าขานสืบต่อมา ย้อนหลังไปเมื่อประมาณ 329 ปีเศษ มีชนเผ่าหนึ่งขนานนามตนเองว่า "ส่วย" ได้อพยพมาจากเมืองอัตตะปือแสนปาง (ในแขวงจำปาศักดิ์ ประเทศลาวในปัจจุบัน) มาตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนในแถบอำเภอจอมพระ บ้านจอมพระในปัจจุบัน ณ ที่แห่งนี้ ได้พบปราสาทหินศิลาแลงซึ่งมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ภายใน เมื่อได้พบสิ่งศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เคารพบูชาเช่นนี้ ชาวบ้านจึงได้ขนานนามชื่อหมู่บ้าน "จอมพระ" ปราสาทหินดังกล่าวปัจจุบันถือว่าเป็นปูชนียสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งของอำเภอ ในบริเวณดังกล่าวมีสำนักสงฆ์ตั้งอยู่เรียกว่า "วัดป่าจอมพระ"
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
อำเภอจอมพระตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอท่าตูม
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอสนมและอำเภอศีขรภูมิ
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอเขวาสินรินทร์และอำเภอเมืองสุรินทร์
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอสตึก (จังหวัดบุรีรัมย์)
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]
อำเภอจอมพระแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 9 ตำบล 105 หมู่บ้าน
1. | จอมพระ | (Chom Phra) | 15 หมู่บ้าน | 6. | บ้านผือ | (Ban Phue) | 11 หมู่บ้าน | ||||||||||
2. | เมืองลีง | (Mueang Ling) | 18 หมู่บ้าน | 7. | ลุ่มระวี | (Lum Rawi) | 10 หมู่บ้าน | ||||||||||
3. | กระหาด | (Krahat) | 9 หมู่บ้าน | 8. | ชุมแสง | (Chum Saeng) | 7 หมู่บ้าน | ||||||||||
4. | บุแกรง | (Bu Kraeng) | 15 หมู่บ้าน | 9. | เป็นสุข | (Pen Suk) | 10 หมู่บ้าน | ||||||||||
5. | หนองสนิท | (Nong Sanit) | 10 หมู่บ้าน |
การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]
ท้องที่อำเภอจอมพระประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 10 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลจอมพระ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลจอมพระ
- เทศบาลตำบลกระหาด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกระหาดทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลบุแกรง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบุแกรงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลจอมพระ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลจอมพระ (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลจอมพระ)
- องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองลีง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเมืองลีงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองสนิท ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองสนิททั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านผือ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านผือทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลลุ่มระวี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลลุ่มระวีทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลชุมแสง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลชุมแสงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลเป็นสุข ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเป็นสุขทั้งตำบล
โรงเรียนมัธยมศึกษา[แก้]
ชาวอำเภอที่มีชื่อเสียง[แก้]
- พระครูพัฒนสารคุณ (สอ คมฺภีรปญฺโญ) ที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอจอมพระและเจ้าอาวาสวัดสัทธารมณ์ อ.จอมพระ จ.สุรินทร์
- พระครูปริยัติกิจธำรง (สมหวัง อคฺคเสโน) เจ้าอาวาสวัดกลางสุรินทร์ อำเภอเมืองสุรินทร์ รองเจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์ฝ่ายมหานิกาย
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
![]() |
บทความเกี่ยวกับเขตการปกครองของประเทศไทยนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:ประเทศไทย |