ข้ามไปเนื้อหา

อำเภอเมืองศรีสะเกษ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำเภอเมืองศรีสะเกษ
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Mueang Si Sa Ket
สถานีรถไฟศรีสะเกษ เป็น สถานีระดับที่ 1 ในทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ มีขบวนรถโดยสารหยุดรับ–ส่งผู้โดยสารที่สถานี (ในสถานการณ์ปกติ) ทั้งหมด 24 ขบวน
สถานีรถไฟศรีสะเกษ เป็น สถานีระดับที่ 1 ในทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ มีขบวนรถโดยสารหยุดรับ–ส่งผู้โดยสารที่สถานี (ในสถานการณ์ปกติ) ทั้งหมด 24 ขบวน
แผนที่จังหวัดศรีสะเกษ เน้นอำเภอเมืองศรีสะเกษ
แผนที่จังหวัดศรีสะเกษ เน้นอำเภอเมืองศรีสะเกษ
พิกัด: 15°7′14″N 104°19′20″E / 15.12056°N 104.32222°E / 15.12056; 104.32222
ประเทศ ไทย
จังหวัดศรีสะเกษ
พื้นที่
 • ทั้งหมด576.366 ตร.กม. (222.536 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด138,143 คน
 • ความหนาแน่น239.68 คน/ตร.กม. (620.8 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 33000
รหัสภูมิศาสตร์3301
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอเมืองศรีสะเกษ ถนนหลักเมือง ตำบลเมืองเหนือ อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ 33000
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เมืองศรีสะเกษ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดศรีสะเกษ โดยเป็นศูนย์กลางทางด้านการปกครอง การคมนาคม และเศรษฐกิจของจังหวัด เป็น 1 ใน 4 อำเภอของจังหวัดที่มีทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือตัดผ่าน (สายกรุงเทพมหานครนครราชสีมาอุบลราชธานี)

ที่ตั้งและอาณาเขต

[แก้]

อำเภอเมืองศรีสะเกษมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้

ชุมชนในตำบลเมืองใต้
ห้างในเขตตำบลหญ้าปล้อง
วงเวียนหอนาฬิกา

ประวัติ

[แก้]

เมืองศีร์สะเกษ ระยะแรกมี 4 อำเภอ คือ อำเภอกลางศีร์สะเกษ อำเภออุทัยศีร์สะเกษ อำเภอปจิมศีร์สะเกษ และอำเภอราษีไศล มีพระภักดีโยธา (เหง้า) เป็นผู้ว่าราชการเมือง ในปี พ.ศ. 2447 พระยาบำรุงบุรประจันต์ (จันดี) ได้ย้ายศาลากลางเมืองขุขันธ์ ไปตั้งที่อำเภอกลางศีร์ษะเกษเป็นที่ตั้งปัจจุบัน ทั้งนี้เนื่องมาจากเหตุผลความปลอดภัยจากความตึงเครียดกรณีกบฏท้าวบุญจันทร์ ที่ทำการบริเวณขุขันธ์ ตั้งอยู่ที่เมืองขุขันธ์ ได้ย้ายไปตั้งอยู่ที่อำเภอกลางศีร์สะเกษ ทั้งนี้เพราะทราบว่ารัฐบาลจะตัดทางรถไฟผ่านอำเภอกลางศีร์สะเกษ

ปี พ.ศ. 2450 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้กระทรวงมหาดไทยปรับปรุงการปกครองในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยคงจัดเป็นมณฑล แต่แบ่งการปกครองมณฑลเป็นบริเวณ ดังนี้ 1. มณฑลอีสาน แบ่งการปกครองเป็น 4 บริเวณ คือ บริเวณอุบลราชธานี บริเวณขุขันธ์ บริเวณสุรินทร์ และบริเวณร้อยเอ็ด บริเวณขุขันธ์ประกอบด้วย เมืองขุขันธ์ เมืองศีร์ษะเกษ และเมืองเดชอุดม

ปี พ.ศ. 2455 มีการประกาศแบ่งมณฑลอีสาน ซึ่งมีพื้นที่กว้างใหญ่ออกเป็น 2 มณฑล คือ มณฑลอุบลราชธานี และมณฑลร้อยเอ็ด เมืองขุขันธ์ เมืองศีร์ษะเกษและเมืองเดชอุดม อยู่ในการปกครองของมณฑลอุบลราชธานี และมีการปรับบริเวณเมืองให้รวมเมืองขุขันธ์ เมืองศีร์ษะเกษ และเมืองเดชอุดม ซึ่งเรียกว่า บริเวณขุขันธ์เป็นเมืองเดียวกัน เรียกว่า เมืองขุขันธ์ มีศาลากลางอยู่ที่อำเภอกลางศีร์ษะเกษ และเปลี่ยนชื่ออำเภอกลางศีร์ษะเกษ เป็นอำเภอเมืองศีร์ษะเกษ[1]

ปี พ.ศ. 2459 มี “ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนคำว่าเมือง ให้เรียกว่าจังหวัด มีสาระสำคัญว่า “…เพื่อความเข้าใจง่ายในการปกครอง จึงโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนคำว่า เมือง ให้เรียกว่าจังหวัด ผู้ว่าราชการเมือง ให้เรียกผู้ว่าราชการจังหวัด ดังนั้นเมืองขุขันธ์จึงเปลี่ยนเป็น “จังหวัดขุขันธ์” ตั้งแต่วันที่ 19 พฤษภาคม ปีเดียวกัน โดยเริ่มแรกมี 7 อำเภอ คือ อำเภอศีร์ษะเกษ อำเภอห้วยเหนือ อำเภออุทุมพรพิสัย อำเภอท่าช้าง อำเภอน้ำอ้อม อำเภอคง และอำเภอเดชอุดม มีที่ตั้งศาลากลางจังหวัดที่อำเภอศีร์ษะเกษ ต่อมามีการเพิ่มอีก 1 กิ่งอำเภอ คือ กิ่งอำเภอบัวบุณฑริก (ต่อมาชื่อกิ่งอำเภอโพนงาม แยกออกมาจากอำเภอเดชอุดม ในปี พ.ศ. 2466 ต่อมาได้รับการโอนไปขึ้นกับ จังหวัดอุบลราชธานี พร้อมกับอำเภอเดชอุดม)

ปี พ.ศ. 2481 คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ได้ตราพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนนามจังหวัดและอำเภอบางแห่ง โดยในมาตรา 3 กำหนดให้เปลี่ยนชื่อ “จังหวัดขุขันธ์” เป็น “จังหวัดศรีสะเกษ” โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 14 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนชื่ออำเภอ คือ อำเภอศีร์ษะเกษเป็นอำเภอเมืองศรีสะเกษ ให้สอดคล้องกับความเป็นจริงและสากลเหมือนกันทั่วประเทศ ชื่อจังหวัดศรีสะเกษจึงยึดตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา หลังจากที่มีการเขียนไม่เหมือนกันมาจึงเป็นที่ยุติว่า “อำเภอเมืองศรีสะเกษ” และ “จังหวัดศรีสะเกษ” ตลอดมาจนปัจจุบัน

  • วันที่ 12 ตุลาคม 2456 เปลี่ยนชื่ออำเภอกลางศีร์ษะเกษ จังหวัดขุขันธ์ เป็น อำเภอเมืองศีร์ษะเกษ[1]
  • วันที่ 29 เมษายน 2460 เปลี่ยนชื่ออำเภอเมืองศีร์ษะเกษ จังหวัดขุขันธ์ เป็น อำเภอศีร์ษะเกษ[2]
  • วันที่ 26 ตุลาคม 2467 เปลี่ยนแปลงเขตอำเภอคงกับอำเภอศีร์ษะเกษ โดยโอนพื้นที่ตำบลลิ้นฟ้า อำเภอคง (อำเภอราษีไศล) มาขึ้นกับอำเภอศีร์ษะเกษ[3]
  • วันที่ 3 กันยายน 2476 เปลี่ยนแปลงเขตอำเภออุทุมพรพิสัยกับอำเภอศีร์ษะเกษ โดยโอนพื้นที่ตำบลคูซอด อำเภออุทุมพรพิสัย มาขึ้นกับอำเภอศีร์ษะเกษ[4]
  • วันที่ 29 พฤศจิกายน 2479 จัดตั้งเทศบาลเมืองขุขันธ์ ในท้องที่บางส่วนของตำบลเมืองเก่า[5]
  • วันที่ 6 มีนาคม 2481 เปลี่ยนแปลงชื่อเทศบาลเมืองขุขันธ์ เป็น เทศบาลเมืองศรีสะเกษ[6]
  • วันที่ 14 พฤศจิกายน 2481 เปลี่ยนแปลงชื่อจังหวัดขุขันธ์ เป็น จังหวัดศรีสะเกษ และเปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอศีร์ษะเกษ เป็น อำเภอเมืองศีร์ษะเกษ[7]
  • วันที่ 28 พฤศจิกายน 2481 เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอเมืองศีร์ษะเกษ เป็น อำเภอเมืองศรีสะเกษ[8]
  • วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2490 เปลี่ยนแปลงเขตอำเภอกันทรารมย์กับอำเภอเมืองศรีสะเกษ โดยโอนพื้นที่ตำบลตำแย (ยกเว้นหมู่บ้านบัวระรมย์) อำเภอกันทรารมย์ มาขึ้นกับอำเภอเมืองศรีสะเกษ[9]
  • วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลหมากเขียบ แยกออกจากตำบลหนองครก ตั้งตำบลบุสูง แยกออกจากตำบลธาตุ ตั้งตำบลโนนเพ็ก แยกออกจากตำบลทุ่ม ตั้งตำบลโพนค้อ แยกออกจากตำบลโพนข่า ตั้งตำบลตะดอบ แยกออกจากตำบลหนองไฮ ตั้งตำบลหนองแก้ว แยกออกจากตำบลโพนเขวา และตำบลโพธิ์[10]
  • วันที่ 9 ธันวาคม 2490 ยุบตำบลเมืองเก่า ในเขตเทศบาลเมืองศรีสะเกษ[11] และใช้พื้นที่ 6 หมู่บ้านของตำบลเมืองเก่า (เดิม) ฝั่งทิศเหนือทางรถไฟสายกรุงเทพ–อุบลราชธานี ตั้งเป็นตำบลเมืองเหนือ และพื้นที่ 6 หมู่บ้านของตำบลเมืองเก่า (เดิม) ฝั่งทิศใต้ทางรถไฟสายกรุงเทพ–อุบลราชธานี ตั้งเป็นตำบลเมืองใต้
  • วันที่ 20 มิถุนายน 2493 เปลี่ยนแปลงเขตอำเภอราษีไศลกับอำเภอเมืองศรีสะเกษ โดยโอนพื้นที่ตำบลคอนกาม และตำบลยางชุมน้อย อำเภอราษีไศล มาขึ้นกับอำเภอเมืองศรีสะเกษ[12]
  • วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2494 โอนพื้นที่หมู่ 9 (ในขณะนั้น) ของตำบลซำ ไปตั้งเป็นหมู่ 6 ตำบลโพนข่า[13]
  • วันที่ 11 กันยายน 2494 เปลี่ยนแปลงเขตอำเภอราษีไศลกับอำเภอเมืองศรีสะเกษ โดยโอนพื้นที่หมู่ 4 บ้านแก้ง (ในขณะนั้น) ของตำบลส้มป่อย อำเภอราษีไศล มาขึ้นกับตำบลคอนกาม อำเภอเมืองศรีสะเกษ[14]
  • วันที่ 8 พฤษภาคม 2505 ตั้งตำบลพรหมสวัสดิ์ แยกออกจากตำบลพยุห์[15]
  • วันที่ 7 กันยายน 2514 แยกพื้นที่ตำบลยางชุมน้อย ตำบลคอนกาม และตำบลลิ้นฟ้า จากอำเภอเมืองศรีสะเกษ ไปตั้งเป็น กิ่งอำเภอยางชุมน้อย[16] และกำหนดให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอเมืองศรีสะเกษ
  • วันที่ 1 สิงหาคม 2521 ตั้งตำบลโนนคูณ แยกออกจากตำบลคอนกาม[17]
  • วันที่ 25 มีนาคม 2522 ยกฐานะกิ่งอำเภอยางชุมน้อย อำเภอเมืองศรีสะเกษ เป็น อำเภอยางชุมน้อย[18]
  • วันที่ 22 มิถุนายน 2525 ตั้งตำบลบ่อแก้ว แยกออกจากตำบลหมากเขียบ[19]
  • วันที่ 27 กันยายน 2526 จัดตั้งสุขาภิบาลพยุห์ ในท้องที่บางส่วนของตำบลพยุห์[20]
  • วันที่ 2 ตุลาคม 2527 ตั้งตำบลศรีสำราญ แยกออกจากตำบลบุสูง[21]
  • วันที่ 11 มีนาคม 2530 เปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองศรีสะเกษ[22] ตามความจำเป็นแห่งการบริหารงานของเทศบาล โดยขยายพื้นที่ในเขตตำบลเมืองเหนือและตำบลเมืองใต้ทั้งตำบล รวมทั้งพื้นที่บางส่วนในตำบลหนองครก ตำบลโพนข่า ตำบลหญ้าปล้อง และตำบลโพธิ์
  • วันที่ 12 มีนาคม 2530 แยกพื้นที่ตำบลบุสูง ตำบลธาตุ ตำบลดวนใหญ่ ตำบลบ่อแก้ว และตำบลศรีสำราญ จากอำเภอเมืองศรีสะเกษ ไปตั้งเป็น กิ่งอำเภอวังหิน[23] และกำหนดให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอเมืองศรีสะเกษ
  • วันที่ 17 สิงหาคม 2533 ตั้งตำบลทุ่งสว่าง แยกออกจากตำบลธาตุ[24]
  • วันที่ 1 สิงหาคม 2534 ตั้งตำบลหนองไผ่ แยกออกจากตำบลหญ้าปล้อง[25]
  • วันที่ 15 มกราคม 2536 ตั้งตำบลวังหิน แยกออกจากตำบลดวนใหญ่[26]
  • วันที่ 3 พฤศจิกายน 2536 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอวังหิน อำเภอเมืองศรีสะเกษ เป็น อำเภอวังหิน[27]
  • วันที่ 8 พฤศจิกายน 2536 ตั้งตำบลหนองค้า แยกออกจากตำบลโนนเพ็ก[28]
  • วันที่ 26 พฤษภาคม 2537 แยกพื้นที่ตำบลพยุห์ ตำบลพรหมสวัสดิ์ ตำบลตำแย ตำบลโนนเพ็ก และตำบลหนองค้า จากอำเภอเมืองศรีสะเกษ ไปตั้งเป็น กิ่งอำเภอพยุห์[29] และกำหนดให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอเมืองศรีสะเกษ
  • วันที่ 26 กันยายน 2540 ยกฐานะกิ่งอำเภอพยุห์ อำเภอเมืองศรีสะเกษ เป็น อำเภอพยุห์[30]
  • วันที่ 18 กรกฎาคม 2551 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำคำ เป็น เทศบาลตำบลน้ำคำ[31]
อาคารขุนอำไพพาณิชย์
วงเวียนน้ำพุ
โรงพยาบาลศรีสะเกษ
สถานีรถไฟศรีสะเกษ

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค

[แก้]

อำเภอเมืองศรีสะเกษแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 18 ตำบล 165 หมู่บ้าน ได้แก่

1. เมืองเหนือ (Mueang Nuea) - 10. โพนเขวา (Phon Khwao) 11 หมู่บ้าน
2. เมืองใต้ (Mueang Tai) - 11. หญ้าปล้อง (Ya Plong) 11 หมู่บ้าน
3. คูซอด (Khu Sot) 10 หมู่บ้าน 12. ทุ่ม (Thum) 13 หมู่บ้าน
4. ซำ (Sam) 14 หมู่บ้าน 13. หนองไฮ (Nong Hai) 7 หมู่บ้าน
5. จาน (Chan) 12 หมู่บ้าน 14. หนองแก้ว (Nong Kaeo) 12 หมู่บ้าน
6. ตะดอบ (Tadop) 8 หมู่บ้าน 15. น้ำคำ (Nam Kham) 15 หมู่บ้าน
7. หนองครก (Nong Khrok) 8 หมู่บ้าน 16. โพธิ์ (Pho) 10 หมู่บ้าน
8. โพนข่า (Phon Kha) 10 หมู่บ้าน 17. หมากเขียบ (Mak Khiap) 11 หมู่บ้าน
9. โพนค้อ (Phon Kho) 6 หมู่บ้าน 18. หนองไผ่ (Nong Phai) 11 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น

[แก้]

ท้องที่อำเภอเมืองศรีสะเกษประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 17 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลเมืองศรีสะเกษ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเมืองเหนือและตำบลเมืองใต้ทั้งตำบล รวมทั้งพื้นที่ตำบลหนองครก (เฉพาะบางส่วนของหมู่ที่ 5–6, 8) ตำบลโพนข่า (เฉพาะบางส่วนของหมู่ที่ 6) ตำบลหญ้าปล้อง (เฉพาะหมู่ที่ 9–11 และบางส่วนของหมู่ที่ 8) ตำบลโพธิ์ (เฉพาะหมู่ที่ 7–10)
  • เทศบาลตำบลน้ำคำ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลน้ำคำทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลคูซอด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคูซอดทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลซำ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลซำทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลจาน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลจานทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลตะดอบ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตะดอบทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองครก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองครก (นอกเขตเทศบาลเมืองศรีสะเกษ)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโพนข่า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโพนข่า (นอกเขตเทศบาลเมืองศรีสะเกษ)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโพนค้อ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโพนค้อทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโพนเขวา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโพนเขวาทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหญ้าปล้อง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหญ้าปล้อง (นอกเขตเทศบาลเมืองศรีสะเกษ)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่ม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทุ่มทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองไฮ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองไฮทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองแก้ว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองแก้วทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโพธิ์ (นอกเขตเทศบาลเมืองศรีสะเกษ)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหมากเขียบ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหมากเขียบทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองไผ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองไผ่ทั้งตำบล

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนนามอำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 30 (0 ง): 1536–1537. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-25. สืบค้นเมื่อ 2022-10-20. วันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2456
  2. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 34 (0 ก): 40–68. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-07. สืบค้นเมื่อ 2022-10-21. วันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2460
  3. "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พุทธศักราช ๒๔๖๔ ในท้องที่อำเภอคง จังหวัดขุขันธ์ สำหรับตำบลลิ้นฟ้า ซึ่งโอนไปขึ้นอำเภอศรีสะเกษ และตำบลบัวน้อย กับตำบลอีปาด ซึ่งโอนไปขึ้นอำเภอกันทรารมย์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 41 (0 ก): 185. วันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2467
  4. "ประกาศกระทรวงธรรมการ เรื่อง การใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. ๒๔๖๔ สำหรับในจังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดขุขันธ์ ซึ่งได้ยุบโอนและตั้งขึ้นใหม่" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 50 (0 ก): 521–522. วันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2476
  5. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองขุขันธ์ จังหวัดขุขันธ์ พุทธศักราช ๒๔๗๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 43 (0 ก): 806–810. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-06-07. สืบค้นเมื่อ 2022-10-21. วันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2479
  6. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนนามเทศบาลเมืองขุขันธ์ จังหวัดขุขันธ์ เป็นเทศบาลเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ พุทธศักราช ๒๔๘๑" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 55 (0 ก): 968–970. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-06-07. สืบค้นเมื่อ 2022-10-21. วันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2481
  7. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนนามจังหวัด และอำเภอบางแห่ง พุทธศักราช ๒๔๘๑" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 55 (0 ก): 658–666. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 2021-12-28. วันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481
  8. "แก้คำผิด ราชกิจจานุเบกษา แผนกกฤษฎีกา เล่ม ๕๕ ตอนที่ ๔๙ พระราชกฤษฎีกา เปลี่ยนนามจังหวัด และอำเภอบางแห่ง พุทธศักราช ๒๔๘๑ หน้า ๖๕๙, ๖๖๔" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 55 (0 ง): 2964.
  9. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตอำเภอในจังหวัดพิษณุโลก ศรีสะเกษ ตราด สิงห์บุรี อ่างทอง เพชรบุรี และระนอง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (9 ง): 254–257. วันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2490
  10. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (26 ง): 1114–1433. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-09. สืบค้นเมื่อ 2022-10-21. วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2490
  11. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ปรับปรุงตำบลในเขตเทศบาล จังหวัดศรีสะเกษ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (60 ง): 3197–3200. วันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2490
  12. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตอำเภอในจังหวัดศรีสะเกษ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 67 (34 ง): 2612–2613. วันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2493
  13. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอขุขันธ์ และอำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. ุ68 (10 ง): 509–510. วันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2494
  14. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตอำเภอในท้องที่จังหวัดศรีสะเกษ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 68 (57 ง): 3814. วันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2494
  15. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองศรีสะเกษและอำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 79 (43 ง): 1198–1201. วันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2505
  16. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ ตั้งเป็นกิ่งอำเภอยางชุมน้อย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 88 (97 ง): 2483. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-03-24. สืบค้นเมื่อ 2022-10-21. วันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2514
  17. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่กิ่งอำเภอยางชุมน้อย อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 95 (76 ง): 2443–2445. วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2521
  18. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอหนองกุงศรี อำเภอไทรงาม อำเภอบ้านฝาง อำเภออุบลรัตน์ อำเภอเวียงชัย อำเภอดอยเต่า อำเภอนิคมคำสร้อย อำเภอนาหว้า อำเภอเสิงสาง อำเภอศรีสาคร อำเภอบึงสามพัน อำเภอนาดูน อำเภอค้อวัง อำเภอโพธิ์ชัย อำเภอเมืองสรวง อำเภอปลวกแดง อำเภอยางชุมน้อย อำเภอกาบเชิง อำเภอสุวรรณคูหา และอำเภอกุดข้าวปุ้น พ.ศ. ๒๕๒๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 96 (42 ก): 19. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2022-10-21. วันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2522
  19. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองศรีสะเกษ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 99 (85 ง): 2294–2303. วันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2525
  20. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลพยุห์ อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 100 (154 ง): 3486–3488. วันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2526
  21. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่มีอำเภอเมืองศรีสะเกษ อำเภอไพรบึง อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 101 (137 ง): 3509–3517. วันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2527
  22. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ พ.ศ. ๒๕๓๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 104 (44 ก): (ฉบับพิเศษ) 12-16. วันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2531
  23. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ ตั้งเป็นกิ่งอำเภอวังหิน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 104 (45 ง): 1752. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-03-24. สืบค้นเมื่อ 2022-10-21. วันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2530
  24. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอขุขันธ์ อำเภอกันทรลักษณ์ อำเภอยางชุมน้อย กิ่งอำเภอน้ำเกลี้ยง และกิ่งอำเภอวังหิน จังหวัดศรีสะเกษ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 107 (149 ง): (ฉบับพิเศษ) 61-83. วันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2533
  25. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองศรีสะเกษ อำเภอขุขันธ์ อำเภออุทุมพรพิสัย อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 108 (133 ง): 7356–7373. วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2534
  26. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่กิ่งอำเภอวังหิน อำเภอยางชุมน้อย และอำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 110 (5 ง): (ฉบับพิเศษ) 80-86. วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2536
  27. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอลำทับ อำเภอร่องคำ อำเภอเวียงแหง อำเภอนาโยง อำเภอแก้งสนามนาง อำเภอโนนแดง อำเภอบ้านหลวง อำเภอกะพ้อ อำเภอศรีบรรพต อำเภอแก่งกระจาน อำเภอหนองสูง อำเภอสบเมย อำเภอเมยวดี อำเภอโคกเจริญ อำเภอทุ่งหัวช้าง อำเภอผาขาว อำเภอวังหิน อำเภอดอนพุด อำเภอบึงโขงหลง และอำเภอห้วยคต พ.ศ. ๒๕๓๖" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 110 (179 ก): (ฉบับพิเศษ) 1-3. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-02-24. สืบค้นเมื่อ 2022-10-21. วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2536
  28. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองศรีสะเกษ อำเภอกันทรลักษ์และอำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 110 (182 ง): (ฉบับพิเศษ) 17-23. วันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2536
  29. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ ตั้งเป็นกิ่งอำเภอพยุห์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 111 (42 ง): 21. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-03-24. สืบค้นเมื่อ 2022-10-21. วันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2537
  30. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอหนองปรือ อำเภอห้วยกระเจา อำเภอทรายทองวัฒนา อำเภอปางศิลาทอง อำเภอเนินสง่า อำเภอนาทม อำเภอพระพรหม อำเภอแม่วงก์ อำเภอสองแคว อำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์ อำเภอไทยเจริญ อำเภอกาบัง อำเภอพยุห์ อำเภอเมืองจันทร์ อำเภอภูพาน อำเภอคลองหอยโข่ง อำเภอเขาฉกรรจ์ อำเภอนาวัง อำเภอพิบูลย์รักษ์ และอำเภอทุ่งศรีอุดม พ.ศ. ๒๕๔๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 114 (50 ก): 24–27. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-27. สืบค้นเมื่อ 2022-10-21. วันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2540
  31. "จัดตั้งเทศบาลจากองค์การบริหารส่วนตำบล น้ำคำ เป็น เทศบาลตำบล". กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น: 1. ลงวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 มีผลบังคับใช้ในวันที่ 18 กรกฎาคม ปีเดียวกัน