ภาษาเซดัง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษาเซดัง
ประเทศที่มีการพูดเวียดนามและลาว
ภูมิภาคจังหวัดกอนตูม, จังหวัดกว๋างนาม, จังหวัดกว๋างหงาย (เวียดนาม)
จำนวนผู้พูด101,434 คน  (ไม่พบวันที่)
ตระกูลภาษา
รหัสภาษา
ISO 639-2mkh
ISO 639-3sed

ภาษาเซดัง เป็นภาษาตระกูลออสโตรเอเชียติก กลุ่มภาษามอญ-เขมร สาขามอญ-เขมรตะวันออก สาขาย่อยบะห์นาริก มีผู้พูดทั้งหมด 101,790 คน พบในเวียดนาม 101,000 คน (พ.ศ. 2542)ใช้พูดในภาคตะวันออกของลาว จังหวัดกอนตูม จังหวัดกว๋างนาม และจังหวัดกว๋างหงายในเวียดนามภาคกลางตอนล่าง อยู่ในภาษากลุ่มบะห์นาริกเหนือ มีเสียงสระเดี่ยว 24 เสียง มีเสียงสระประสมมากถึง 33–55 เสียง จนดูเหมือนจะเป็นภาษาที่มีเสียงสระมากสุด ใกล้เคียงกับภาษาฮเร เขียนด้วยอักษรละติน มีรายการวิทยุเป็นภาษาเซดัง

อ้างอิง[แก้]

  • Gordon, Raymond G., Jr. (ed.), 2005. Ethnologue: Languages of the World, Fifteenth edition. Dallas, Tex.: SIL International. Online version: http://www.ethnologue.com/.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]