ข้ามไปเนื้อหา

ภาษาสันถาลี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษาสันถาลี
ᱥᱟᱱᱛᱟᱲᱤ, সাওঁতালী, ସାନ୍ତାଳୀ, চাওঁতালি, संताली
ศัพท์ "สันถาลี" ในอักษรสันถาลี
ประเทศที่มีการพูดประเทศอินเดีย, บังกลาเทศ, เนปาล
ชาติพันธุ์ชาวสันถัล
จำนวนผู้พูด7.6 ล้านคน  (2011 census[1])[2]
ตระกูลภาษา
ออสโตรเอเชียติก
  • มุนดา
    • ตะวันออก
      • Kherwarian
        • สันถัล
          • ภาษาสันถาลี
ภาษาถิ่น
Mahali (Mahili)
Kamari-Santali
Khole
Lohari-Santali
Manjhi
Paharia
ระบบการเขียนทางการ: อักษรสันถาลี[3]
อื่น ๆ: อักษรเบงกอล-อัสสัม,[4] อักษรโอริยา, อักษรโรมัน
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการ อินเดีย
รหัสภาษา
ISO 639-2sat
ISO 639-3อย่างใดอย่างหนึ่ง:
sat – Santali
mjx – Mahali
ผู้หญิงที่พูดภาษาสันถาลี
หนังสือภาษาสันถาลีในงานนิทรรศการหนังสือ Mayurbhanj

ภาษาสันถาลี (ออกเสียง: [santaɽi], ᱥᱟᱱᱛᱟᱲᱤ) มีอีกชื่อว่า ภาษาสันถัล เป็นภาษาที่มีผู้พูดแพร่หลายที่สุดในกลุ่มภาษามุนดาที่อยู่ในตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก ใกล้เคียงกับภาษาโฮและภาษามุนดารี มีผู้พูดส่วนใหญ่เป็นชาวสันถัลในรัฐอัสสัม รัฐพิหาร รัฐฌารขัณฑ์ รัฐมิโซรัม รัฐโอฑิศา รัฐตรีปุระ และรัฐเบงกอลตะวันตก[5] ภาษานี้ได้รับการรับรองเป็นภาษาประจำภูมิภาคของอินเดียตามกำหนดรายการที่แปดในรัฐธรรมนูญอินเดีย[6] ภาษาสันถาลีมีผู้พูดประมาณ 7.6 ล้านคนในประเทศอินเดีย, บังกลาเทศ, ภูฏาน และเนปาล ทำให้เป็นภาษาออสโตรเอเชียติกที่มีผู้พูดมากเป็นอันดับ 3 เป็นรองเพียงภาษาเวียดนามและภาษาเขมร[5]

ภาษาสันถาลีเคยเป็นภาษาพูดอย่างเดียว จนกระทั่งมิชชันนารีชาวยุโรปพัฒนาให้เขียนภาษานี้ในอักษรเบงกอล, อักษรโอริยา และอักษรโรมัน และท้ายที่สุด มีการประดิษฐ์อักษรสันถาลีโดย Raghunath Murmu ใน ค.ศ. 1925

ประวัติ

[แก้]

พอล ซิดเวลล์ นักภาษาศาสตร์ รายงานว่า ภาษากลุ่มมุนดาน่าจะเข้ามายังชายฝั่งรัฐโอฑิศาจากอินโดจีนประมาณ 4000–3500 ปีก่อน แล้วกระจายไปหลังการอพยพของชาวอินโด-อารยันเข้ามายังรัฐโอฑิศา[7]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Statement 1: Abstract of speakers' strength of languages and mother tongues – 2011". www.censusindia.gov.in. Office of the Registrar General & Census Commissioner, India. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 July 2019. สืบค้นเมื่อ 7 July 2018.
  2. Santali ที่ Ethnologue (21st ed., 2018) Closed access
    Mahali ที่ Ethnologue (21st ed., 2018) Closed access
  3. "P and AR & e-Governance Dept". wbpar.gov.in. สืบค้นเมื่อ 10 January 2021.
  4. "Redirected". 19 November 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 May 2019. สืบค้นเมื่อ 9 May 2019.
  5. 5.0 5.1 Santali ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก)
    Mahali ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก)
  6. "Distribution of the 22 Scheduled Languages". censusindia.gov.in. Census of India. 20 May 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 February 2013. สืบค้นเมื่อ 26 February 2018.
  7. Sidwell, Paul. 2018. Austroasiatic Studies: state of the art in 2018. เก็บถาวร 22 พฤษภาคม 2018 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Presentation at the Graduate Institute of Linguistics, National Tsing Hua University, Taiwan, 22 May 2018.

ผลงานอ้างอิง

[แก้]
  • Ghosh, Arun (2008). "Santali". ใน Anderson, Gregory D.S. (บ.ก.). The Munda Languages. London: Routledge. pp. 11–98.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]