ภาษาเขมรถิ่นไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ภาษาเขมรเหนือ)
ภาษาเขมรถิ่นไทย
ภาษาเขมรเหนือ, ภาษาเขมรสุรินทร์
พซา คแมร
ออกเสียง[pʰᵊsaː. kʰᵊmɛːr]
ประเทศที่มีการพูดไทย, กัมพูชา
ภูมิภาคจังหวัดสุรินทร์, จังหวัดศรีสะเกษ, จังหวัดบุรีรัมย์
ชาติพันธุ์ชาวไทยเชื้อสายเขมร
จำนวนผู้พูด1.4 ล้านคน ซึ่งคนพูดเพียงภาษาเดียวมีไม่มาก[1]  (2006)[2]
ตระกูลภาษา
ออสโตรเอเชียติก
ระบบการเขียนอักษรไทย
(ส่วนใหญ่เป็นภาษาพูด)
สถานภาพทางการ
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองใน ไทย
ผู้วางระเบียบราชบัณฑิตยสภา
รหัสภาษา
ISO 639-3kxm

ภาษาเขมรถิ่นไทย[3] บ้างเรียก ภาษาเขมรเหนือ หรือ ภาษาเขมรสุรินทร์ เป็นภาษาย่อยของภาษาเขมร พูดโดยชาวไทยเชื้อสายเขมรในประเทศไทยที่อยู่ในจังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์ นครราชสีมา ศรีสะเกษ อุบลราชธานี และร้อยเอ็ด รวมทั้งที่อพยพไปสู่ประเทศกัมพูชา โดยจังหวัดสุรินทร์มีผู้พูดภาษาเขมรถิ่นไทยมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 60 ของประชากรทั้งหมดในจังหวัด หรือประมาณ 8 แสนคน

ภาษาเขมรถิ่นไทยต่างจากภาษาเขมรสำเนียงพนมเปญซึ่งเป็นสำเนียงมาตรฐาน ในด้านจำนวนและความต่างของหน่วยเสียงสระ การใช้พยัญชนะ รากศัพท์ และไวยากรณ์ ทำให้แยกสำเนียงเขมรถิ่นไทยออกจากสำเนียงอื่น ๆ ได้ง่าย ผู้พูดภาษาเขมรถิ่นไทยจะเข้าใจภาษาเขมรทุกสำเนียง แต่ผู้พูดสำเนียงพนมเปญจะมีปัญหาในการทำความเข้าใจภาษาเขมรถิ่นไทย ทำให้นักภาษาศาสตร์บางคนแยกภาษาเขมรถิ่นไทยออกเป็นภาษาใหม่ต่างหากจากภาษาเขมร โดยถือเป็นภาษาใกล้เคียงกัน[4]

สถานะ[แก้]

ผู้พูดภาษาเขมรถิ่นไทยส่วนใหญ่สามารถพูดได้สองภาษา ทั้งภาษาไทยในฐานะภาษาทางการศึกษาและสื่อสารมวลชนภาษาเดียว และภาษาเขมรในเขตหมู่บ้านและบ้านของตน ในอดีต ภาษานี้เคยถูกห้ามใช้ (เช่นห้ามพูดภาษาเขมรถิ่นไทยในห้องเรียน) เพื่อส่งเสริมความชำนาญในภาษาประจำชาติ[5] นั่นทำให้มีผู้พูดภาษาเขมรถิ่นไทยไม่กี่คน (ประมาณ 1,000 คน) ที่สามารถอ่านหรือเขียนภาษาเขมรได้[6]

ประชากร[แก้]

ร้อยละของประชากรที่พูดภาษาเขมรในจังหวัดของประเทศไทย
จังหวัด ร้อยละของจำนวนผู้พูดภาษาเขมรใน พ.ศ. 2533 ร้อยละของจำนวนผู้พูดภาษาเขมรใน พ.ศ. 2543
บุรีรัมย์[7] ไม่ปรากฏข้อมูล 27.6%
จันทบุรี[8] 0.6% 1.6%
มหาสารคาม[9] 0.2% 0.3%
ร้อยเอ็ด[10] 0.4% 0.5%
สระแก้ว[11] ไม่ปรากฏข้อมูล 1.9%
ศรีสะเกษ[12] 30.2% 26.2%
สุรินทร์[13] 63.4% 47.2%
ตราด[14] 0.4% 2.1%
อุบลราชธานี[15] 0.8% 0.3%

สัทวิทยา[แก้]

พยัญชนะ[แก้]

หน่วยเสียงพยัญชนะภาษาเขมรถิ่นไทย[16]
ลักษณะการออกเสียง ตำแหน่งเกิดเสียง
ริมฝีปาก ริมฝีปาก
กับฟัน
ปุ่มเหงือก เพดานแข็ง เพดานอ่อน เส้นเสียง
เสียงนาสิก m n ɲ ŋ
เสียงหยุด ก้อง b d
ไม่ก้อง ไม่พ่นลม p t c k ʔ
พ่นลม
เสียงเสียดแทรก f s h
เสียงรัว r
เสียงข้างลิ้น l
เสียงกึ่งสระ w j
  • หน่วยเสียงที่เป็นได้ทั้งพยัญชนะต้นและพยัญชนะท้ายมี 14 หน่วยเสียง ได้แก่ /m/, /n/, /ɲ/, /ŋ/, /p/, /t/, /c/, /k/, /ʔ/, /h/, /r/, /l/, /w/ และ /j/
  • หน่วยเสียง /k/ ในตำแหน่งท้ายพยางค์มีหน่วยเสียงย่อย 2 เสียง คือ [k] และ [ʔ] เช่น /tɨk/ 'น้ำ' อาจออกเสียงเป็น [tɨk] หรือ [tɨʔ]
  • หน่วยเสียง /c/ และ /cʰ/ ในบางตำรากล่าวว่าเป็นหน่วยเสียง /t͡ɕ/ และ /t͡ɕʰ/
  • หน่วยเสียง /f/ เป็นหน่วยเสียงที่ยืมมาจากภาษาไทยมาตรฐาน
  • กลุ่มพยัญชนะที่มีตัวแรกเป็นเสียงนาสิกและตัวถัดมาเป็นพยัญชนะที่เกิดจากฐานเดียวกัน พยัญชนะตัวแรกนั้นอาจกลายเป็นพยัญชนะท้ายของ /ʔa/ หรืออาจกลายเป็นพยางค์นาสิก /m̩/, /n̩/, /ɲ̍/, /ŋ̍/

สระ[แก้]

สระเดี่ยว[แก้]

หน่วยเสียงสระเดี่ยวภาษาเขมรถิ่นไทย[17]
ระดับลิ้น ตำแหน่งลิ้น
หน้า กลาง หลัง
สูง i, iː ɨ, ɨː u, uː
กึ่งสูง ɪ, ɪː ɤ, ɤː ʊ, ʊː
กลาง e, eː ə, əː o, oː
กึ่งต่ำ ɛ, ɛː ʌ, ʌː ɔ, ɔː
ต่ำ a, aː ɒ, ɒː

สระประสม[แก้]

หน่วยเสียงสระประสมภาษาเขมรถิ่นไทยมี 6 หน่วยเสียง[17] ได้แก่ /iə/, /iːə/, /ɨə/, /ɨːə/, /uə/ และ /uːə/ โดยหน่วยเสียง /ɨːə/ จะปรากฏเฉพาะในคำยืมภาษาไทย เช่น /kɨːək/ 'รองเท้า'

ไวยากรณ์[แก้]

ลำดับคำในภาษาเขมรถิ่นไทยมักจะเป็นแบบประธาน–กริยา–กรรม ประกอบด้วยคำเดี่ยวเป็นหลัก แต่อาจจะมีสลับกันบ้างเป็นแบบประธาน–กรรม–กริยาและแบบกรรม–กริยา

ระบบการเขียน[แก้]

นักภาษาศาสตร์ได้คิดค้นระบบการเขียนภาษาเขมรถิ่นไทยด้วยตัวอักษรไทยหลายระบบ โดยมีทั้งระบบของมหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ท้ายที่สุดมีระบบราชบัณฑิตยสถาน[18] ซึ่งดัดแปลงจากระบบก่อน ๆ เป็นมาตรฐานโดยปริยาย

ตัวเขียนภาษาเขมรถิ่นไทยอักษรไทยตามที่คณะกรรมการจัดทำระบบเขียนภาษาท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ด้วยอักษรไทย ราชบัณฑิตยสถาน (ปัจจุบันคือสำนักงานราชบัณฑิตยสภา) ได้กำหนดไว้ มีดังนี้

พยัญชนะ
อักษรไทย เสียง ตัวอย่างคำ ความหมาย
/k/ กฺู วัว
จรู หมู
/kʰ/ กางเกง
/ŋ/ ทไ พระอาทิตย์
ชนั หม้อ
/c/ กล้วย
กโร ส้ม
/cʰ/ ไม้
/s/ ซ็ ม้า
/ɲ/ ญียด ญาติ
พลฺี ฝน
/d/ มะพร้าว
/t/ (เมื่อเป็นพยัญชนะท้าย) ตฺี อีก
/t/ (เมื่อเป็นพยัญชนะต้น) ตี เป็ด
/tʰ/ ท็อฺง ถุง
/n/ นฺิ เต่า
จเรฺิ มาก
/b/ าย ข้าวสุก
/p/ (เมื่อเป็นพยัญชนะท้าย) โฮ รับประทาน
/p/ (เมื่อเป็นพยัญชนะต้น) ป็วฮ งู
/pʰ/ อฺะ ดื่ม
/f/ ฟฟ ไฟฟ้า
/m/ มื็อน ไก่
กม หญิงสาว
/j/ ยียะ ยักษ์
คเนฺิ หมอน
/r/ เต็ฮ เกวียน
ซกว กลอง
/l/ ลฺู พระสงฆ์
กบา หัว
/w/ วื็อด วัด (นาม)
เล กระดุม
/ʔ/ (เมื่อเป็นพยัญชนะต้น) าว เสื้อ
/h/ ฮี อึ่งอ่าง
จแร็ สนิม
ไม่มีรูป /ʔ/ (เมื่อเป็นพยัญชนะท้าย) บะ หัก
สระ
อักษรไทย เสียง ตัวอย่างคำ ความหมาย
–ะ /a/ (เมื่อไม่มีพยัญชนะท้าย
และอยู่ในคำหลายพยางค์
หรือเมื่อมีพยัญชนะท้ายเป็น /ʔ/)
ปเริ็ฮ เถายั้งดง
มะกอกบก
–ั /a/ (เมื่อมีพยัญชนะท้าย
ที่ไม่ใช่ /ʔ/, /m/, /j/, /w/)
อักั ขี้เหล็ก
–า /aː/ อันซ กระต่าย
–ิ /i/ ติ ซื้อ
–ี /iː/ ปี สอง
–ฺิ /ɪ/ ปฺิ เต็ม
–ฺี /ɪː/ มฺี แมว
–ึ /ɨ/ รึ เช้า
–ือ /ɨː/ ปือ มะเฟือง
–ฺึ /ɤ/ รฺึ จักจั่น
–ฺือ /ɤː/ (เมื่อไม่มีพยัญชนะท้าย) ปฺือ จระเข้
–ฺื /ɤː/ (เมื่อมีพยัญชนะท้าย) กำพลฺื ปืน
–ุ /u/ มุ ก่อน, สิว
–ู /uː/ ปู อา, น้า (ชาย)
–ฺุ /ʊ/ ยฺุ กลางคืน
–ฺู /ʊː/ ซฺูนกรฺู สวนครัว
เ–ะ /e/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายเป็น /ʔ/) ติ
เ–็ /e/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายอื่น) อำเม็ เกลือ
เ– /eː/ วง ซ้าย
แ–ะ /ɛ/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายเป็น /ʔ/) สนุกสนาน
แ–็ /ɛ/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายอื่น) แร็ ปลา
แ– /ɛː/ พระจันทร์
โ–ะ /o/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายเป็น /ʔ/) เกราะ (เครื่องตี)
โ–็ /o/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายเป็น /h/) โล็ บวมเป่ง
โ–ะ (ลดรูป) /o/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายอื่น) คลย ขลุ่ย
โ– /oː/ จล เข้า
สระ
อักษรไทย เสียง ตัวอย่างคำ ความหมาย
เ–าะ /ɔ/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายเป็น /ʔ/) าะ หมู่บ้าน
–็อ /ɔ/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายอื่น) น็อ ขนุน
–อ /ɔː/ บร ขี้เหร่
เ–ฺาะ /ɒ/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายเป็น /ʔ/) เตฺาะแก ตุ๊กแก
–็อฺ /ɒ/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายอื่น) ร็อฺ มะเขือ
–อฺ /ɒː/ ซันลอฺ แกง
เ–อะ /ə/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายเป็น /ʔ/) อะ บ้า ๆ บอ ๆ
เ–ิ็ /ə/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายอื่น) เซิ็ คุ้นเคย
เ–อ /əː/ (เมื่อไม่มีพยัญชนะท้าย) ไม้
เ–ิ /əː/ (เมื่อมีพยัญชนะท้าย) เคิ เห็น
เ–อฺะ /ʌ/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายเป็น /ʔ/) อฺะ แตงโม
เ–ฺิ็ /ʌ/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายอื่น) เรฺิ็ ข้าวเปลือก
เ–อฺ /ʌː/ (เมื่อไม่มีพยัญชนะท้าย) อฺ เพื่อนเกลอ
เ–ฺิ /ʌː/ (เมื่อมีพยัญชนะท้าย) เฮฺิ บิน
เ–ียะ /iə/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายเป็น /ʔ/) เลียะ ตก
เ–ี็ย /iə/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายอื่น) เรี็ย แล้ง
เ–ีย /iːə/ เลีย ละลาย
เ–ื็อ /ɨə/ เมื็อ ปาก
เ–ือ /ɨːə/ ซำเปือ มะหาด
–ัวะ /uə/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายเป็น /ʔ/) ติญกัวะ คางคก
–็ว– /uə/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายอื่น) ปะกร็ว พิจารณา
–ัว /uːə/ (เมื่อไม่มีพยัญชนะท้าย) ปันรัว ตะคร้อ
–ว– /uːə/ (เมื่อมีพยัญชนะท้าย) ไข่
–ำ /am/ อันจรำ สับ
ไ– /aj/ มือ
เ–า /aw/ กาเหว่า
  • ภาษาเขมรถิ่นไทยไม่มีหน่วยเสียงวรรณยุกต์ ในการเขียนเป็นอักษรไทยจึงเลือกใช้พยัญชนะไทยที่เป็นอักษรกลางและอักษรต่ำเท่านั้น ไม่ใช้อักษรสูงเพราะจะมีเสียงวรรณยุกต์จัตวาเข้ามาเกี่ยวข้อง
  • หน่วยเสียง /t/ และ /p/ มีรูปพยัญชนะต้นและพยัญชนะท้ายแตกต่างกันดังที่แสดงในตาราง โดยการใช้พยัญชนะเสียงก้องมาแทนพยัญชนะท้ายเสียงไม่ก้องนั้นนำแบบอย่างมาจากภาษาไทย
  • หน่วยเสียง /ʔ/ เมื่อเป็นพยัญชนะท้ายจะไม่มีรูปเขียน แต่ให้แสดงด้วยสระเสียงสั้นที่ไม่มีตัวสะกด (สระยาวที่ลงท้ายด้วยเสียงนี้ไม่ได้กำหนดไว้ในมาตรฐาน อาจใช้ อ์ แทน)
  • คำบางคำที่มีพยัญชนะต้น 2 ตัวเรียงกัน บางครั้งอาจออกเสียงสระแทรกกลาง (แสดงด้วย /ᵊ/ หรือ /a/) และบางครั้งอาจออกเสียงคล้ายพยัญชนะควบ ให้เขียนตามแบบคำที่มีพยัญชนะต้นควบ เช่น ซดํ, ซอ็อฺบ, ต็
  • เสียงสระที่ไม่มีในภาษาไทยจะเขียนแทนด้วยรูปสระไทยที่ออกเสียงใกล้เคียงกันและใช้เครื่องหมายพินทุ () กำกับ เพื่อแสดงเสียงที่ต่างออกไป หากเป็นรูปสระที่ไม่มี ประกอบ ให้ใส่พินทุกำกับใต้พยัญชนะต้น เช่น เบฺิ หากเป็นรูปสระที่มี ประกอบ ให้ใส่พินทุกำกับใต้ เช่น อฺ ยกเว้นสระ –ือ ให้ใส่พินทุกำกับใต้พยัญชนะต้น เช่น ลฺื เพราะ ในกรณีนี้ไม่ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของรูปสระอย่างแท้จริง
  • รูปสระที่ซ้อนกันหลายตัวตามแนวดิ่ง ในการพิมพ์ทางคอมพิวเตอร์ให้พิมพ์จากล่างขึ้นบน เช่น สระ /ʌ/ ที่มีพยัญชนะท้าย กดพยัญชนะต้น กดพินทุ ตามด้วย –ิ แล้วตามด้วยไม้ไต่คู้

อ้างอิง[แก้]

  1. William J. Frawley, บ.ก. (2003). International Encyclopedia of Linguistics. Vol. 1 (2nd ed.). Oxford University Press. p. 488.
  2. ภาษาเขมรถิ่นไทย ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก)
  3. องค์ บรรจุน. (2553). สยาม หลากเผ่าหลายพันธุ์. กรุงเทพฯ: มติชน, หน้า 63.
  4. Thomas, David. 1990. "On the 'language' status of Northern Khmer." JLC 9.1:98–106
  5. Vail, Peter (2007). "Thailand's Khmer as 'invisible minority': Language, ethnicity and cultural politics in north-eastern Thailand". Asian Ethnicity. 8 (2): 111–130. doi:10.1080/14631360701406247. S2CID 144401165.
  6. ภาษาเขมรถิ่นไทย ที่ Ethnologue (22nd ed., 2019)
  7. "burirum.xls" (PDF). สืบค้นเมื่อ 2017-03-08.
  8. http://web.nso.go.th/pop2000/finalrep/chanburifn.pdf
  9. "mahakam.xls" (PDF). สืบค้นเมื่อ 2017-03-08.
  10. http://web.nso.go.th/pop2000/finalrep/roietfn.pdf
  11. (PDF) http://web.nso.go.th/pop2000/finalrep/sakaeofn.pdf. สืบค้นเมื่อ 2017-03-08. {{cite web}}: |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)
  12. (PDF) http://web.nso.go.th/pop2000/finalrep/srisaketfn.pdf. สืบค้นเมื่อ 2017-03-08. {{cite web}}: |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)
  13. (PDF) https://web.archive.org/web/20120215221927/http://web.nso.go.th/pop2000/finalrep/surinfn.pdf. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-02-15. สืบค้นเมื่อ 2017-03-08. {{cite web}}: |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)
  14. http://web.nso.go.th/pop2000/finalrep/tratfn.pdf
  15. (PDF) http://web.nso.go.th/pop2000/finalrep/ubonfn.pdf. สืบค้นเมื่อ 2017-03-08. {{cite web}}: |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)
  16. ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). คู่มือระบบเขียนภาษาเขมรถิ่นไทยอักษรไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, หน้า 41.
  17. 17.0 17.1 ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). คู่มือระบบเขียนภาษาเขมรถิ่นไทยอักษรไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, หน้า 45.
  18. http://www.royin.go.th/?printing=คู่มือระบบเขียนภาษาเขม-2

อ่านเพิ่ม[แก้]

  • Thanan Čhanthrupant, and Chātchāi Phromčhakkarin. Photčhanānukrom Khamen (Surin)-Thai-Angkrit = Khmer (Surin)-Thai-English Dictionary. [Bangkok, Thailand]: Indigenous Languages of Thailand Research project, Chulalongkorn University Language Institute, 1978.
  • Suwilai Prēmsīrat, and Sōphanā Sīčhampā. Kānphatthanā rabop kānkhīan Phāsā Khamēn Thin Thai Khrōngkān Phatthanā Phāsā Phư̄nbān phư̄a ʻAnurak Sinlapawatthanatham Phư̄nbān læ Phalit Sư̄ Tāng Tāng = Formulating Thai-based northern Khmer orthography : for the recording and preservation of local culture and for the producing of educational materials. [Bangkok]: Sathāban Wičhai Phāsā læ Watthanatham phư̄a Phatthanā Chonnabot, Mahāwitthayālai Mahidon, 1990. ISBN 9745868302

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]