ภาษากูย
ภาษากูย | |
---|---|
ประเทศที่มีการพูด | ภาคอีสานตอนใต้ในไทย ทางเหนือของกัมพูชา ทางใต้ของลาว และเวียดนาม |
จำนวนผู้พูด | 300,000 ในไทย 64,000 ในลาว 15,000 ในกัมพูชา ทั้งหมด 379,000 คน (ไม่พบวันที่) |
ตระกูลภาษา | |
ระบบการเขียน | ไม่มี |
สถานภาพทางการ | |
ภาษาทางการ | ไม่มี |
รหัสภาษา | |
ISO 639-3 | อย่างใดอย่างหนึ่ง: kdt — Kuy (Kuay) nyl — Nyeu (Yoe) |
ภาษากูย (อังกฤษ: Kuy) หรือ ภาษากวย (อังกฤษ: Kuay) เป็นตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก กลุ่มภาษามอญ-เขมร มีผู้พูดทั้งหมด 366,675 คน พบในไทย 300,000 คน (พ.ศ. 2535)[1] ในจังหวัดบุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ร้อยเอ็ด มหาสารคาม นครราชสีมา ส่วนใหญ่พูดภาษาลาว ภาษาไทยถิ่นอีสาน ภาษาไทยหรือภาษาเขมรเหนือได้ด้วย พบในกัมพูชา 15,495 คน (พ.ศ. 2532) ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือในจังหวัดพระวิหาร เสียมราฐ กำปงธม สตึงแตรง ส่วนใหญ่พูดภาษาเขมรได้ด้วย พบในลาว 51,180 คน (พ.ศ. 2543) ในแขวงสุวรรณเขต ส่วนใหญ่อยู่ตามริมแม่น้ำโขงในลาวภาคใต้
ชื่ออื่นสำหรับภาษานี้คือ: ภาษากูย; Aouei; Cuoi; Khamen-Boran; Kui; Kuoy; Kuy Ak; Kuy Antra; Kuy Mlor; Old Khmer; Soai; Suai; Suay; Suei; Sui; Suoi Language
ภาษากูยเป็นภาษาที่ไม่มีวรรณยุกต์ ใช้ระบบน้ำเสียงแทน ในประเทศไทยมี 3 สำเนียงคือ
- กูยเญอ พบที่ อำเภอเมืองศรีสะเกษ และ อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ
- กูยไม พบที่ อำเภออุทุมพรพิสัย และ อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ
- กูยมะไฮ พบที่ อำเภอเมืองจันทร์ ส่วนใหญ่อาศัยในเขต ตำบลเมืองจันทร์ และ บ้านโนนธาตุ ตำบลปราสาท อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ
- กูยปรือใหญ่ พบที่ อำเภอขุขันธ์ เป็นกลุ่มชนชาติพันธ์ดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ในแถบพื้นที่เหนือพนมดงรักมานานแล้ว โดยเฉพาะตำบลปรือใหญ่ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ
ภาษากูย หรือ ภาษากวย มีอยู่ที่จังหวัดสุรินทร์ มีภาษาที่ใช้สนทนามี 2 สำเนียงคือ
- กวยมหลัว พบที อ.จอมพระ อ.รัตนบุรี อ.ท่าตูม อ.สนม เช่น อาจีง แปลว่า ช้าง จีเหนีย แปลว่า ไปไหน เจียโดย แปลว่า กินข้าว เป็นต้น
- กวยมลอ พบที่ อ.สังขะ อ.บัวเชด อ.ศรีณรงค์ อ.ศีขรภูมิ เช่น เจียง แปลว่า ช้าง จีนา แปลว่า ไปไหน จาโดย แปลว่า กินข้าว เป็นต้น
เนื้อหา
ภาษากวยบังคับช้าง[แก้]
ภาษากวย เป็นภาษาบังคับช้างที่ใช้บังคับมาจนถึงปัจจุบันหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งคือ ภาษากวย ภาษาช้าง นั่นเอง เช่น ( นั่ง = ตะโก ลุก = ยูร์ เดิน = เปาะ ยืน = สยึง ถอยหลัง = ทอยกเรอย ยกขา = เล๊อยืง หมอบลง = มูมแสง ยกงวง = เล๊อโจบย ดึง = ร๊อง ลาก = ดึ วิ่ง = อึมปรอย แต๊ะ = กถ๊าร์ เต้น = รำ กินกล้วย = จาเปรียด กินอ้อย = จา-กต๊วม ไปอาบน้ำ = จีปอยด๊า หยุด = เจชาว์ ไหว้ = จะม๊า ร้องไห้ = เงียม )
นี้เป็นภาษาบังคับช้างในเบื้องต้นเท่านั้น และเป็นการสื่อสารที่ช้างสามารถปฏิบัติตามได้[2]
- หมายเหตุ การพูดต้องพูดย้ำ ๆ หลายครั้ง
ภาษาไทย | ภาษากูยทั่วไป | ภาษาผีปะกำ |
---|---|---|
ผัว-สามี | กะยะ | อันโทน |
เมีย-ภรรยา | กะแดล | อันจึง |
ลูก | กอน | เจลย |
ไฟ | อู้ | กำโพด |
น้ำ | เดียะ | อวน |
คน | โกย/กูย/กวย/กุย | มานุด (มนษย์) |
ช้างต่อ | อาจึงทะเนียะ | ทนะ |
อาบน้ำ | ปอยเดียะ | ปอยตวน |
กินข้าว | จาโดย | กริโกรด |
- ภาษาผีปะกำ เป็นภาษาเฉพาะที่ใช้สื่อสารกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อและใช้ระหว่างหมอช้าง ในพิธีกรรมและระหว่างการเดินทางไปคล้องช้าง จากการศึกษาเชิงเปรียบเทียบ ตรงกับภาษาบาลี-สันสกฤต ร้อยละ 20, ตรงกับภาษาเขมรโบราณ (ในสำเนียงต่าง ๆ กัน) ร้อยละ 40-50[3]
นับเลข[แก้]
เลขไทย | เลขอารบิก | คำอ่านไทย | คำอ่านกูย |
---|---|---|---|
๐ | 0 | ศูนย์ | ซูน |
๑ | 1 | หนึ่ง | มวย,หมูย |
๒ | 2 | สอง | บา,เบีย |
๓ | 3 | สาม | ไปย |
๔ | 4 | สี่ | ปอน |
๕ | 5 | ห้า | เซิง,ซอง |
๖ | 6 | หก | ตะผัด |
๗ | 7 | เจ็ด | ตะโผล |
๘ | 8 | แปด | ตะขัว |
๙ | 9 | เก้า | ตะแขะ |
๑๐ | 10 | สิบ | จ๊อด |
๑๑ | 11 | สิบเอ้ด | มวยตองมวย |
๒๐ | 20 | ยี่สิบ | เฉียว,ฉาว |
๓๐ | 30 | สามสิบ | ซามซิบ |
๔๐ | 40 | สี่สิบ | ซี้ซิบ |
๕๐ | 50 | ห้าสิบ | ฮ้าซิบ |
๖๐ | 60 | หกสิบ | หกซิบ |
๗๐ | 70 | เจ็ดสิบ | เจ๊ดซิบ |
๘๐ | 80 | แปดสิบ | แปดซิบ |
๙๐ | 90 | เก้าสิบ | เก๊าซิบ |
๑๐๐ | 100 | หนึ่งสิบ | มวยร้อย,หมูยหรวย |
๒๐๐ | 200 | สองร้อย | เบียหร้อย,เบียหรวย |
๑๐๐๐ | 1000 | หนึ่งพัน | มวยผัน |
เทียบสำเนียง กูย กับ กวย[แก้]
ภาษาจะมี 2 สำเนียงใหญ่ๆ คือ กูย กับ กวย ยกตัวอย่าง เช่น สระเอีย กับ สระอา จะสลับกัน
ถ้าสำเนียงกูย สะกดด้วย สระเอีย สำเนียงกวย จะสะกดด้วย สระอา
แต่ถ้าสำเนียงกูย สะกดด้วย สระอา สำเนียงกวย จะสะกดด้วย สระเอีย บางครั้งก็สระกดเหมือนกัน เช่น
สำเนียงกูยที่เติม สระเอีย | ||
---|---|---|
กูย | กวย | แปล |
เบีย | บา | สอง |
เหมีย | มา | ฝน |
เดียะ | ดา | น้ำ |
สำเนียงกวยที่เติม สระเอีย | ||
---|---|---|
กูย | กวย | แปล |
เหรน | เหรียน | เรียน |
เหลน | เหลียน | เหรียญ |
เซม | เซียม | สยาม,ไท |
เถว | เถียว | เที่ยว |
เสง | เสียง | เสียง |
จา | จา, เจีย | กิน |
เจง | เจียง | ช้าง |
เคน | เคียน | เขียน |
เหลียว | เหลียว | ลาว |
อิทธิพลคำบาลี, สันสฤต ต่อ ภาษากูย[แก้]
เปลี่ยนจาก สระอา เป็น สระเอีย เช่น
บาลี, สันสฤต | กูย |
---|---|
ชาติ | เชียต |
ธาตุ | เธียต |
เทวดา | เทวเดีย |
บาป | เบียบ |
ชบา | ชเบีย |
อ้างอิง[แก้]
- ↑ Gordon, Raymond G., Jr. (ed.) , 2005. Ethnologue: Languages of the World, Fifteenth edition. Dallas, Tex.: SIL International. Online version: http://www.ethnologue.com/.
- ↑ Karen McComb; Graeme Shannon; Katito N. Sayialel; Cynthia Moss (8 April 2014). "Elephants can determine ethnicity, gender, and age from acoustic cues in human voices". 111 (14). PNAS, National Academy of Sciences: 5433–5438. doi:10.1073/pnas.1321543111. สืบค้นเมื่อ 4 December 2019.
- ↑ บัญญัติ สาลี (2560). "กูย : ว่าด้วยกลุ่มชาติพันธุ์ ภาษา และตำนาน" (PDF). คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. สืบค้นเมื่อ 4 ธันวาคม 2562.
- สมทรง บุรุษพัฒน์. สารานุกรมชนชาติกูย. กทม. สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล. 2538
- พระสมุทร ถาวรธมฺโม/ทาทอง ผศ.ดร.ประวัติศาสตร์กวย. กทม. ที่ระลึกงานฌาปนกิจศพคุณยายขบวน ชาญเชี่ยว วัดแสงสว่างราฆฎร์บำรุง อ.บัวเชด จ.สุรินทร์. 2551.
- https://schoolonly.wordpress.com/วัฒนธรรมและภาษา/ด้านภาษา/