ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เกาะรัตนโกสินทร์"

พิกัด: 13°45′N 100°30′E / 13.750°N 100.500°E / 13.750; 100.500
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Armonthap (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Mr.BuriramCN (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 24: บรรทัด 24:
* [[เขตพระนคร]]
* [[เขตพระนคร]]


{{เขตพระนคร}}
[[หมวดหมู่:เขตพระนคร]]
[[หมวดหมู่:เขตพระนคร]]
[[หมวดหมู่:ย่านในกรุงเทพมหานคร]]
[[หมวดหมู่:ย่านในกรุงเทพมหานคร]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:09, 25 เมษายน 2563

13°45′N 100°30′E / 13.750°N 100.500°E / 13.750; 100.500

แผนที่เกาะรัตนโกสินทร์

เกาะรัตนโกสินทร์ เป็นพื้นที่ประวัติศาสตร์ในเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ แต่เดิมเป็นที่อยู่ของชาวจีนในสมัยกรุงธนบุรี

ที่ตั้งและอาณาเขต

เกาะรัตนโกสินทร์มีอาณาเขตล้อมรอบด้วยแม่น้ำเจ้าพระยาและคลองรอบกรุง มีพื้นที่ประมาณ 4.1 ตารางกิโลเมตร หรือ 2,563 ไร่ แบ่งออกเป็น 2 ชั้น คือ

  • เกาะรัตนโกสินทร์ชั้นใน คือ บริเวณที่มีอาณาเขตล้อมรอบด้วยแม่น้ำเจ้าพระยาและคลองคูเมืองเดิม (คลองหลอด) เคยเป็นส่วนหนึ่งของกรุงธนบุรีมาก่อน มีพื้นที่ประมาณ 1.8 ตารางกิโลเมตร หรือ 1,125 ไร่ ตั้งอยู่ในท้องที่แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร
  • เกาะรัตนโกสินทร์ชั้นนอก คือ บริเวณที่มีอาณาเขตล้อมรอบด้วยคลองคูเมืองเดิม แม่น้ำเจ้าพระยาด้านทิศเหนือ คลองรอบกรุง (คลองบางลำพู-คลองโอ่งอ่าง) และแม่น้ำเจ้าพระยาด้านทิศใต้ มีพื้นที่ประมาณ 2.3 ตารางกิโลเมตร หรือ 1,438 ไร่ ตั้งอยู่ในท้องที่ส่วนใหญ่ของเขตพระนคร ได้แก่แขวงชนะสงคราม แขวงบวรนิเวศ แขวงสำราญราษฎร์ แขวงศาลเจ้าพ่อเสือ แขวงเสาชิงช้า แขวงวัดราชบพิธ แขวงตลาดยอด และแขวงวังบูรพาภิรมย์

ประวัติศาสตร์

กรุงเทพมหานครได้สถาปนาขึ้นเป็นเมืองหลวงของไทยในปี พ.ศ. 2325 โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายเมืองหลวงจากกรุงธนบุรีมาตั้งที่ตำบลบางกอก ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา เนื่องจากเหตุผลดังนี้

  1. มีประชากรตั้งถิ่นฐานเพิ่มขึ้น ถ้าขยายเมืองออกไปทั้งสองฝั่งแม่น้ำจะไม่เหมาะสมแก่การปกป้องเมือง เพราะเมืองมีลักษณะเป็นเมืองอกแตก คือมีแม่น้ำไหลผ่านเมือง ทำให้ป้องกันข้าศึกได้ยาก และไม่สามารถขยายเมืองออกไปได้อีก
  2. ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยามีพื้นที่กว้างขวางกว่า สามารถขยายเมืองออกไปได้ในอนาคต

อ้างอิง

http://www.thapra.lib.su.ac.th/ratanagosin/location.htm

ดูเพิ่ม