ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จพระนารายณ์มหาราช"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 25: บรรทัด 25:
== พระราชประวัติ ==
== พระราชประวัติ ==
=== พระราชสมภพ ===
=== พระราชสมภพ ===
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช เสด็จพระบรมราชสมภพ เมื่อวันจันทร์ เดือนยี่ ปีวอก พ.ศ. 2175 เป็นพระราชโอรสใน[[สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง]] กับพระนางศิริธิดา ต่อมาภายหลังยกเป็นพระราชเทวี และมีพระขนิษฐาร่วมพระมารดาคือ[[สมเด็จเจ้าฟ้าศรีสุพรรณ กรมหลวงโยธาทิพ]] หรือพระราชกัลยาณี<ref name="ประวัติ"/><ref>{{cite web |url=http://www.vajiravudh.ac.th/VC_Annals/vc_annal2.htm|title=โรงเรียนยุพราชพระราชวังสราญรมย์|author=วรชาติ มีชูบท|date=|work= |publisher=จดหมายเหตุวชิราวุธ|accessdate=21 มิถุนายน 2557}}</ref><ref>{{cite web |url=http://digi.library.tu.ac.th/journal/0263/1_3_mar_2550/11PAGE51_PAGE67.pdf|title=กรุงเทพมหานครกับภูมิหลังการสร้างวัง|author=จารุณี ฐานรตาภรณ์|date=มีนาคม 2550|work= |publisher=วารสารยุติธรรมปริทัศน์|accessdate=21 มิถุนายน 2557}}</ref><ref name= "กัลยาณี">ส.พลายน้อย. ''พระบรมราชินีและเจ้าจอมมารดาแห่งราชสำนักสยาม''. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ:ฐานบุ๊คส์, หน้า 23</ref>
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช เสด็จพระบรมราชสมภพ เมื่อวันจันทร์ เดือนยี่ ปีวอก พ.ศ. 2175 เป็นพระราชโอรสใน[[สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง]] กับพระนางศิริธิดา ต่อมาภายหลังยกเป็นพระราชเทวี และมีพระขนิษฐาร่วมพระมารดาคือ[[สมเด็จเจ้าฟ้าศรีสุพรรณ กรมหลวงโยธาทิพ]] หรือพระราชกัลยาณี มีพี่น้องต่างมารดาคือ สมเด็จเจ้าฟ้าไชย
หลังคลอดแล้ว พระญาติมาเยี่ยม พบว่าเด็กมีสี่แขน สมเด็จพระเจ้าปราสาททองจึงตั้งพระนามว่า นารายณ์กุมาร เจ้าฟ้าอภัยทศ เจ้าฟ้าน้อย เจ้าฟ้าไตรภูวนาทิตย์ พระองค์ทอง พระอินทราชา


พระราชบิดาและพระราชมารดาเป็นเครือญาติกัน [[หม่อมหลวงมานิจ ชุมสาย]]ระบุว่า พระมารดาของพระนารายณ์เป็น "...พระขนิษฐาต่างมารดาของพระเจ้าปราสาททอง"<ref name="ประวัติ"/> แต่งานเขียนของนิโคลาส์ เดอ แซร์แวส ระบุว่า มารดาเป็นพระราชธิดาใน[[สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม]]<ref>นิโคลาส์ เดอ แซร์แวส (เขียน) สันต์ ท. โกมลบุตร (แปล). ''ประวัติศาสตร์ธรรมชาติและการเมืองแห่งราชอาณาจักรสยาม''. พระนคร:ก้าวหน้า. 2506, หน้า 225</ref> ส่วนพระราชบิดาคือ[[สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง]] [[เยเรเมียส ฟาน ฟลีต|ฟาน ฟลีต]] ระบุว่า เป็นลูกของน้องชายพระราชมารดาในสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม<ref>ดู [[เยเรเมียส ฟาน ฟลีต|Van Vliet, Jeremias]]. ''The Short History of the Kings of Siam''. Bangkok:The Siam Society. 1975, p. 94 อ้างใน [[นิธิ เอียวศรีวงศ์]]. ''การเมืองไทยสมัยพระนารายณ์''. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ:มติชน. 2545, หน้า 27</ref>
พระราชบิดาและพระราชมารดาเป็นเครือญาติกัน [[หม่อมหลวงมานิจ ชุมสาย]]ระบุว่า พระมารดาของพระนารายณ์เป็น "...พระขนิษฐาต่างมารดาของพระเจ้าปราสาททอง"<ref name="ประวัติ"/> แต่งานเขียนของนิโคลาส์ เดอ แซร์แวส ระบุว่า มารดาเป็นพระราชธิดาใน[[สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม]]<ref>นิโคลาส์ เดอ แซร์แวส (เขียน) สันต์ ท. โกมลบุตร (แปล). ''ประวัติศาสตร์ธรรมชาติและการเมืองแห่งราชอาณาจักรสยาม''. พระนคร:ก้าวหน้า. 2506, หน้า 225</ref> ส่วนพระราชบิดาคือ[[สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง]] [[เยเรเมียส ฟาน ฟลีต|ฟาน ฟลีต]] ระบุว่า เป็นลูกของน้องชายพระราชมารดาในสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม<ref>ดู [[เยเรเมียส ฟาน ฟลีต|Van Vliet, Jeremias]]. ''The Short History of the Kings of Siam''. Bangkok:The Siam Society. 1975, p. 94 อ้างใน [[นิธิ เอียวศรีวงศ์]]. ''การเมืองไทยสมัยพระนารายณ์''. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ:มติชน. 2545, หน้า 27</ref>


พระองค์มีพระนมที่คอยอุปถัมภ์อำรุงมาแต่ยังทรงพระเยาว์คือ พระนมบัว มีบุตรสองคนคือ เหล็ก(เจ้าพระยาโกษาธิบดี) และ ปาน(เจ้าพระยาโกษาธิบดี พระคลัง) อีกหน฿๋งท่านคือ พระนมเปรม มีบุตรคือ
พระองค์มีพระนมที่คอยอุปถัมภ์อำรุงมาแต่ยังทรงพระเยาว์ คือ [[เจ้าแม่วัดดุสิต]] ซึ่งเป็นญาติห่าง ๆ ของพระเจ้าปราสาททองเช่นกัน<ref name="ประวัติ"/> กับอีกท่านหนึ่งคือพระนมเปรม ที่ฟร็องซัว อ็องรี ตุรแปง (François Henry Turpin) ระบุว่าเป็นเครือญาติของสมเด็จพระนารายณ์<ref>"...พระเพทราชามีเชื้อสายกษัตริย์ และเป็นลูกพี่ลูกน้องกับสมเด็จพระนารายณ์..." อ้างใน ฟรังซัวส์ อังรี ตุรแปง (เขียน), สมศรี เอี่ยมธรรม (แปล). ''ประวัติศาสตร์ไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา''. กรุงเทพฯ:กรมศิลปากร. 2522, หน้า 72-77</ref>
พระเพทราชา และบุตรี(ไม่ระบุชื่อ)


สมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นพระอนุชาต่างพระมารดาใน[[สมเด็จเจ้าฟ้าไชย]] และยังมีพระอนุชาต่างพระมารดาอีก ได้แก่ [[สมเด็จเจ้าฟ้าอภัยทศ|เจ้าฟ้าอภัยทศ]] (เจ้าฟ้าง่อย<ref>"ด้วยเหตุที่เจ้าฟ้าอภัยทศมีพระวรกายพิการง่อยเปลี้ย คนทั่วไปจึงมักเรียกพระองค์ตามอย่างปากตลาดว่า 'เจ้าฟ้าง่อย'" อ้างใน สุทธิศักดิ์ ระบอบ สุขสุวานนท์ (กันยายน 2552). "พงศาวดารกระซิบเรื่องโอรสลับสมเด็จพระนารายณ์". ศิลปวัฒนธรรม 30:11, หน้า 99, 116</ref>), [[สมเด็จเจ้าฟ้าน้อย|เจ้าฟ้าน้อย]], [[พระไตรภูวนาทิตยวงศ์]], พระองค์ทอง และพระอินทราชา
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นพระอนุชาต่างพระมารดาใน[[สมเด็จเจ้าฟ้าไชย]] และยังมีพระอนุชาต่างพระมารดาอีก ได้แก่ [[สมเด็จเจ้าฟ้าอภัยทศ|เจ้าฟ้าอภัยทศ]] (เจ้าฟ้าง่อย<ref>"ด้วยเหตุที่เจ้าฟ้าอภัยทศมีพระวรกายพิการง่อยเปลี้ย คนทั่วไปจึงมักเรียกพระองค์ตามอย่างปากตลาดว่า 'เจ้าฟ้าง่อย'" อ้างใน สุทธิศักดิ์ ระบอบ สุขสุวานนท์ (กันยายน 2552). "พงศาวดารกระซิบเรื่องโอรสลับสมเด็จพระนารายณ์". ศิลปวัฒนธรรม 30:11, หน้า 99, 116</ref>), [[สมเด็จเจ้าฟ้าน้อย|เจ้าฟ้าน้อย]], [[พระไตรภูวนาทิตยวงศ์]], พระองค์ทอง และพระอินทราชา

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:12, 14 สิงหาคม 2560

แม่แบบ:กล่องข้อมูล พระมหากษัตริย์ไทย สมเด็จพระนารายณ์มหาราช หรือ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 3 หรือ สมเด็จพระรามาธิบดีศรีสรรเพชญ (16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2175 - 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2231; ครองราชย์ พ.ศ. 2199 - พ.ศ. 2231) เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 27 ในสมัยกรุงศรีอยุธยา

พระราชประวัติ

พระราชสมภพ

สมเด็จพระนารายณ์มหาราช เสด็จพระบรมราชสมภพ เมื่อวันจันทร์ เดือนยี่ ปีวอก พ.ศ. 2175 เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง กับพระนางศิริธิดา ต่อมาภายหลังยกเป็นพระราชเทวี และมีพระขนิษฐาร่วมพระมารดาคือสมเด็จเจ้าฟ้าศรีสุพรรณ กรมหลวงโยธาทิพ หรือพระราชกัลยาณี มีพี่น้องต่างมารดาคือ สมเด็จเจ้าฟ้าไชย หลังคลอดแล้ว พระญาติมาเยี่ยม พบว่าเด็กมีสี่แขน สมเด็จพระเจ้าปราสาททองจึงตั้งพระนามว่า นารายณ์กุมาร เจ้าฟ้าอภัยทศ เจ้าฟ้าน้อย เจ้าฟ้าไตรภูวนาทิตย์ พระองค์ทอง พระอินทราชา

พระราชบิดาและพระราชมารดาเป็นเครือญาติกัน หม่อมหลวงมานิจ ชุมสายระบุว่า พระมารดาของพระนารายณ์เป็น "...พระขนิษฐาต่างมารดาของพระเจ้าปราสาททอง"[1] แต่งานเขียนของนิโคลาส์ เดอ แซร์แวส ระบุว่า มารดาเป็นพระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม[2] ส่วนพระราชบิดาคือสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ฟาน ฟลีต ระบุว่า เป็นลูกของน้องชายพระราชมารดาในสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม[3]

พระองค์มีพระนมที่คอยอุปถัมภ์อำรุงมาแต่ยังทรงพระเยาว์คือ พระนมบัว มีบุตรสองคนคือ เหล็ก(เจ้าพระยาโกษาธิบดี) และ ปาน(เจ้าพระยาโกษาธิบดี พระคลัง) อีกหน฿๋งท่านคือ พระนมเปรม มีบุตรคือ พระเพทราชา และบุตรี(ไม่ระบุชื่อ)

สมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นพระอนุชาต่างพระมารดาในสมเด็จเจ้าฟ้าไชย และยังมีพระอนุชาต่างพระมารดาอีก ได้แก่ เจ้าฟ้าอภัยทศ (เจ้าฟ้าง่อย[4]), เจ้าฟ้าน้อย, พระไตรภูวนาทิตยวงศ์, พระองค์ทอง และพระอินทราชา

ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาเล่าว่าเมื่อแรกเสด็จพระบรมราชสมภพนั้น พระญาติเห็นพระโอรสมีสี่กร พระราชบิดาจึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า "พระนารายณ์ราชกุมาร" ส่วนในคำให้การชาวกรุงเก่าและคำให้การขุนหลวงหาวัด เล่าว่าเมื่อเพลิงไหม้พระที่นั่งมังคลาภิเษก พระโอรสเสด็จไปช่วยดับเพลิง ผู้คนเห็นเป็นสี่กร จึงพากันขนานพระนามว่า พระนารายณ์ พระราชประวัติของสมเด็จพระนารายณ์นั้นเกี่ยวกับเรื่องปาฏิหาริย์อยู่มาก แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของพราหมณ์ เมื่อเทียบกับกษัตริย์องค์ก่อน ๆ ด้วยเหตุนี้เองพระราชประวัติของพระองค์จึงกล่าวถึงปาฏิหาริย์มหัศจรรย์ตามลำดับ คือ

  • เมื่อพระนารายณ์มีพระชนม์ได้ 5 พรรษา ขณะเล่นน้ำ พระองค์ทรงถูกอสนีบาต พวกพี่เลี้ยง นางนม สลบหมดสิ้น แต่พระองค์ไม่เป็นไรแม้แต่น้อย
  • เมื่อพระนารายณ์มีพระชนม์ได้ 9 พรรษา พระองค์ทรงถูกอสนีบาตที่พระราชวังบางปะอิน แต่พระองค์ก็ปลอดภัยดี

สมเด็จพระนารายณ์ทรงรับการศึกษาจากพระโหราธิบดี ซึ่งเป็นข้าราชการระดับสูงในพระราชวัง และพระอาจารย์พรหม พระพิมลธรรม รวมทั้งสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์และพระสงฆ์ที่มีสมณศักดิ์ระดับสูงในพระนคร

การครองราชย์

ตราพระราชลัญจกร

สมเด็จพระนารายณ์มีส่วนสำคัญในการขึ้นครองราชย์ของสมเด็จพระศรีสุธรรมราชา โดยพระองค์ได้ร่วมมือกับสมเด็จพระศรีสุธรรมราชาในการชิงราชสมบัติจากสมเด็จเจ้าฟ้าไชย ซึ่งเป็นพระเชษฐาของพระองค์ โดยหลังจากที่พระองค์ช่วยสมเด็จพระศรีสุธรรมราชาขึ้นครองราชสมบัติได้แล้วนั้น สมเด็จพระศรีสุธรรมราชาทรงแต่งตั้งให้พระองค์ดำรงตำแหน่งพระมหาอุปราชและให้เสด็จไปประทับที่พระราชวังบวรสถานมงคล หลังจากสมเด็จพระศรีสุธรรมราชาขึ้นครองราชสมบัติได้ 2 เดือนเศษ พระองค์ทรงชิงราชสมบัติจากสมเด็จพระศรีสุธรรมราชา

สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ เมื่อเวลาสองนาฬิกา วันพฤหัสบดี แรม 2 ค่ำ เดือน 12 จุลศักราช 1018 ปีวอก (ตรงกับวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2199) มีพระนามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า สมเด็จพระรามาธิบดี เป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ 27 แห่งกรุงศรีอยุธยา ขณะมีพระชนมายุ 25 พรรษา

หลังจากประทับในกรุงศรีอยุธยาได้ 10 ปี พระองค์จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเมืองลพบุรีขึ้นเป็นราชธานีแห่งที่ 2 เมื่อปี พ.ศ. 2209 และเสด็จไปประทับที่ลพบุรีทุก ๆ ปี ครั้งละเป็นเวลานานหลายเดือน

สมเด็จพระนารายณ์มหาราช มิเคยได้เป็นพระมหากษัตริย์ "ทรงธรรม" หรือ "ธรรมราชา" ในสายตาของทวยราษฎร์เลยแม้แต่น้อย ดังปรากฏใน คำให้การชาวกรุงเก่า ที่มีการเปรียบเทียบพระองค์กับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ก็จะพบว่าเชลยไทยชื่นชมพระมหากษัตริย์พระองค์หลังเสียมากกว่า นอกจากนี้ยังปรากฏในเอกสารของชาวตะวันตกที่ยืนยันความไม่เป็นที่นิยมของราษฎรอย่างชัดแจ้ง ทั้งนี้ก็เพราะตลอดรัชสมัยของพระองค์ล้วนมีการสงครามทั้งกับต่างประเทศและการปราบกบฏภายในประเทศ ชาวนาจึงต้องถูกเกณฑ์ไปรบหรืออาจทนทุกข์เพราะความแร้นแค้นของภาวะสงคราม ยังความทุกข์สู่ทวยราษฎร์และไม่มีประโยชน์อันใดต่อชาวนา[5]

การเสด็จสวรรคต

พระองค์เสด็จสวรรคตเมื่อ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2231พระที่นั่งสุทธาสวรรย์ พระนารายณ์ราชนิเวศน์ จังหวัดลพบุรี รวมครองราชสมบัติเป็นเวลา 32 ปี มีพระชนมายุ 56 พรรษา

พระราชบุตร

กรมหลวงโยธาเทพ ภาพพิมพ์สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 17 จากหอสมุดแห่งชาติ กรุงปารีส

สมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีพระราชธิดาเพียงพระองค์เดียวที่เกิดกับพระอัครมเหสี[6] คือ สมเด็จเจ้าฟ้าสุดาวดี ที่ได้รับการสถาปนาพระอิสริยยศเป็น "กรมหลวงโยธาเทพ" ถือเป็นเจ้าฟ้าต่างกรมคู่แรก พร้อมกับสมเด็จเจ้าฟ้าศรีสุพรรณ พระขนิษฐา[7] พระราชธิดาพระองค์ดังกล่าวมีพระราชอำนาจสูงมาก โดยจากหลักฐานของลาลูแบร์ได้กล่าวว่าเจ้าฟ้าพระองค์นี้ "...ดำรงอิสริยยศเยี่ยงพระมเหสี..."[8] และบางครั้งชาวตะวันตกก็เรียกแทนว่าเป็น "ราชินี"[9] และหากมีผู้ใดเสกสมรสด้วยกับเจ้าฟ้าพระองค์นี้ก็ย่อมได้รับสิทธิธรรมเหนือราชบัลลังก์มากขึ้นด้วย[10]

นอกจากนี้ยังมีปรากฏในพงศาวดารว่าทรงมีพระโอรสลับคือ หลวงสรศักดิ์ (ต่อมาคือ สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8) ที่แพร่หลายมากที่สุดในราชสำนัก ใน คำให้การขุนหลวงหาวัด ระบุว่า เกิดจากพระราชชายาเทวี มีนามเดิมว่าเจ้าจอมสมบุญ ภายหลังได้มอบราชบุตรดังกล่าวกับเจ้าพระยาสุรศรี (พระเพทราชา)[11] ส่วน คำให้การชาวกรุงเก่า ระบุว่า เกิดกับนางนักสนมที่ชื่อกุสาวดี เมื่อนางตั้งครรภ์ก็ได้ส่งนางไปอยู่กับเจ้าพระยาสุรสีห์ (คือพระเพทราชา)[12] ส่วน พระราชพงศาวดารฯ ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ (แก้ว) กลับให้ข้อมูลที่ต่างออกไปว่า มีพระนามเดิมว่า มะเดื่อ เกิดจากพระราชธิดาเจ้าเมืองเชียงใหม่ ภายหลังทรงให้พระเพทราชาไปดูแล ด้วยทรงละอายพระทัยที่เสพสังวาสกับนางลาว[13]

ในพงศาวดารของไทยปรากฏว่าพระองค์ไม่ทรงยกย่องพระโอรสลับพระองค์ใดที่เกิดกับพระสนมมีสิทธิในการสืบราชบัลลังก์ แต่ทรงหมายพระทัยให้มีพระราชโอรสที่ประสูติแต่พระอัครมเหสีสืบราชสมบัติเสียมากกว่า ดังปรากฏใน คำให้การชาวกรุงเก่า ว่า[14]

ครั้นต่อมาพระนารายน์ทรงพระปริวิตกด้วยหาพระราชโอรสสืบราชตระกูลมิได้ จึงรับสั่งให้พระอรรคมเหษีตั้งสัตยาธิษฐานขอพระโอรส แต่นางนักสนมทั้งปวงนั้นมิได้รับสั่งขอ ด้วยไม่วางพระไทยกลัวจะเปนขบถอย่างพระสีสิงห์ [พระศรีศิลป์] ที่สุดนางนักสนมคนใดมีครรภ์ขึ้นก็ให้รีดเสีย มิได้เกิดโอรสธิดาได้

ส่วนใน คำให้การขุนหลวงหาวัด ซึ่งถ่ายมาจากคำให้การชาวกรุงเก่าก็อธิบายไว้ดุจกัน แต่ได้ขยายความดังกล่าวว่า[15]

อันพระนารายณ์นั้นได้ขัดเคืองพระศรีศิลปกุมารแต่ครั้งนั้นมาว่าเปนขบถ เพราะเหตุว่ามิใช่ลูกของพระองค์ที่เกิดกับพระมเหษี จึงจะไม่เปนขบถ...อันพระมเหษีนั้นก็มีแต่พระราชธิดา มิได้มีเปนกุมาร พระองค์จึงรักษาศีลาจารวัตรปฏิบัติโดยธรรมสุจริต จะขอให้ได้พระโอรสอันเกิดในครรภ์พระมเหษี ก็มิได้ดั่งพระทัยปราร์ถนา จึงทรงพระโกรธ ครั้นเมื่อทรงพระโกรธขึ้นมา จึงตรัสกับพระสนมกำนัลทั้งปวงว่า ถ้าใครมีครรภ์ขึ้นมาแล้วจะให้ทำลายเสีย กูมิให้ได้สืบสุริยวงศต่อไป ต่อเมื่อเกิดในครรภ์พระมเหษี กูจึงจะมอบโภคัยศวรรยทั้งปวงให้ตามใจกูปรารภ ครั้นพระสนมกำนัลรู้ตัวว่ามีครรภ์ก็ต้องทูลพระองค์ ครั้นทราบก็ให้ทำลายเสียอย่างนั้นเปนหนักหนา

นอกจากนี้บาทหลวงเดอ แบส และพระราชพงศาวดารฯ ฉบับพระพนรัตน์ (แก้ว) ได้กล่าวถึงเรื่องที่สมเด็จพระนารายณ์ทรงรับเลี้ยงดูเด็กเล็กเลี้ยงดูในพระราชวังหลายคนโดยเลี้ยงดุจลูกหลวง แต่หากเด็กคนใดร้องไห้อยากกลับไปหาพ่อแม่เดิมก็ทรงอนุญาตส่งตัวคืน[16] แต่ลาลูแบร์ได้อธิบายเพิ่มเติมว่า "...พระองค์ทรงพอพระทัยที่จะเลี้ยงไว้จนกระทั่งเด็กนั้นมีอายุได้ 7 ถึง 8 ขวบ พ้นนั้นไปเมื่อเด็กสิ้นความเป็นทารกแล้วก็จะไม่โปรดอีกต่อไป..." แต่มีเพียงคนเดียวที่โปรดปรานคือ พระปีย์ ทั้งยังโจษจันกันว่านี่อาจเป็นพระโอรสลับของสมเด็จพระนารายณ์ก็มี[17][18] ขณะที่สมเด็จพระนารายณ์เองก็ทรงวางเฉยกับเรื่องพระปีย์เป็นโอรสลับเสียด้วย[19]

ใน พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา กล่าวว่า พระองค์มีพระราชโอรสหนึ่งพระองค์พระนามว่า เจ้าฟ้าน้อย เมื่อโสกันต์แล้วพระราชทานนามว่า เจ้าฟ้าอภัยทศ แต่ในจดหมายเหตุและคำให้การขุนหลวงหาวัดกล่าวต้องกันว่า สมเด็จพระนารายณ์มหาราชไม่มีพระราชโอรส เจ้าฟ้าอภัยทศพระองค์นี้เป็นพระราชอนุชาของพระองค์

พระราชกรณียกิจ

สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงพระปรีชาสามารถอย่างยิ่ง ทรงสร้างความรุ่งเรือง และความยิ่งใหญ่ให้แก่กรุงศรีอยุธยาเป็นอย่างมาก โดยทรงยกทัพไปตีเมืองเชียงใหม่ และหัวเมืองพม่าอีกหลายเมืองได้แก่ เมืองจิตตะกอง สิเรียม ย่างกุ้ง แปร ตองอู หงสาวดี และมีกำลังสำคัญที่ทำให้สมเด็จพระนารายณ์นั้นสามารถยึดหัวเมืองของพม่าได้คือ เจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก)

การต่างประเทศ

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในสมัยสมเด็จพระนารายณ์รุ่งเรืองขึ้นมาอีกครั้ง โดยมีการติดต่อทั้งด้านการค้าและการทูตกับประเทศต่าง ๆ เช่น จีน ญี่ปุ่น อิหร่าน อังกฤษ และฮอลันดา มีชาวต่างชาติเข้ามาในพระราชอาณาจักรเป็นจำนวนมาก ในจำนวนนี้รวมถึงเจ้าพระยาวิชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) ชาวกรีกที่รับราชการตำแหน่งสูงถึงที่ สมุหนายกขณะเดียวกันยังโปรดเกล้าฯ ให้แต่งคณะทูตนำโดย เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) ไปเจริญสัมพันธไมตรีกับราชสำนักฝรั่งเศส ในรัชสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ถึง 4 ครั้งด้วยกัน ผู้ที่เขียนเกี่ยวกับกรุงศรีอยุธยา และสยามมากที่สุดในสมัยนี้ก็คือ มองซิเออร์ เดอ ลาลูแบร์

สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเป็นพระมหากษัตริย์ผู้เป็นที่เลื่องลือพระเกียรติยศในพระราโชบายทางคบค้าสมาคมกับชาวต่างประเทศ รักษาเอกราชของชาติให้พ้นจากการเบียดเบียนของชาวต่างชาติและรับผลประโยชน์ทั้งทางวิทยาการและเศรษฐกิจที่ชนต่างชาตินำเข้ามา นอกจากนี้ ยังได้ทรงอุปถัมภ์บำรุงกวีและงานด้านวรรณคดีอันเป็นศิลปะที่รุ่งเรืองที่สุดในยุคนั้น เมื่อสมเด็จพระนารายณ์เสด็จเถลิงถวัยราชสมบัติ ณ ราชอาณาจักรศรีอยูธยาแล้ว ปัญหากิจการบ้านเมืองในรัชสมัยของพระองค์เป็นไปในทางเกี่ยวข้องกับชาวต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ ด้วยในขณะนั้น มีชาวต่างประเทศเข้ามาค้าขาย และอยู่ในราชอาณาจักรไทยมากว่าที่เคยเป็นมาในกาลก่อน ที่สำคัญมาก คือ ชาวยุโรปซึ่งเป็นชาติใหญ่มีกำลังทรัพย์ กำลังอาวุธ และผู้คน ตลอดจน มีความเจริญรุ่งเรืองทางวิทยาการต่าง ๆ เหนือกว่าชาวเอเซียมาก และชาวยุโรปเหล่านี้กำลังอยู่ในสมัยขยายการค้า ศาสนาคริสต์ และอำนาจทางการเมืองของพวกตนมาสู่ดินแดนตะวันออก

ยกตัวอย่างเช่นในปี พ.ศ. 2230 (ค.ศ. 1687) ออกญาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี พระยาพระคลัง และออกพระศรีพิพัทธ์รัตนราชโกษาได้ลงนามในสนธิสัญญาทางการค้ากับประเทศฝรั่งเศส[20]

ในรัชสมัยของพระองค์นั้น ชาวฮอลันดาได้กีดกันการเดินเรือค้าขายของไทย ครั้งหนึ่งถึงกับส่งเรือรบมาปิดปากแม่น้ำเจ้าพระยา ขู่จะระดมยิงไทย จนไทยต้องผ่อนผันยอมทำสัญญายกประโยชน์การค้าให้ตามที่ต้องการ แต่เพื่อป้องกันมิให้ฮอลันดาข่มเหงไทยอีก สมเด็จพระนารายณ์จึงทรงสร้างเมืองลพบุรีไว้เป็นเมืองหลวงสำรอง อยู่เหนือขึ้นไปจากกรุงศรีอยุธยา และเตรียมสร้างป้อมปราการไว้คอยต่อต้านข้าศึก เป็นเหตุให้บาทหลวงฝรั่งเศสที่มีความรู้ทางการช่าง และต้องการเผยแผ่ศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิก ได้เข้ามาอาสาสมัครรับใช้ราชการจัดกิจการเหล่านี้ ข้าราชการฝรั่งที่ทำราชการมีความดีความชอบในการปรับปรุงขยายการค้าของไทยขณะนั้นคือ เจ้าพระยาวิชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) ซึ่งกำลังมีข้อขุ่นเคืองใจกับบริษัทการค้าของอังกฤษที่เคยคบหาสมาคมกันมาก่อน เจ้าพระยาวิชเยนทร์ จึงดำเนินการเป็นคนกลาง สนับสนุนทางไมตรีระหว่างสมเด็จพระนารายณ์กับทางราชการฝรั่งเศส ซึ่งเป็นรัชสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส

ราชทูตสยามนำโดยโกษาปานเข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ที่พระราชวังแวร์ซาย ณ วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2229 (ค.ศ. 1686)

ฝ่ายสมเด็จพระนารายณ์กำลังมีพระทัยระแวงเกรงฮอลันดายกมาย่ำยี และได้ทรงทราบถึงพระเดชานุภาพของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ในยุโรปมาแล้ว จึงเต็มพระทัยเจริญทางพระราชไมตรีกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ไว้ เพื่อให้ฮอลันดาเกรงขาม ด้วยเหตุนี้ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ จึงได้มีการส่งทูตไปสู่พระราชสำนักฝรั่งเศส และต้อนรับคณะทูตฝรั่งเศสอย่างเป็นงานใหญ่ถึงสองคราว แต่การคบหาสมาคมกับชาติมหาอำนาจคือฝรั่งเศสในยุคนั้นก็มิใช่ว่าจะปลอดภัย ด้วยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 มีพระราโชบายที่จะให้สมเด็จพระนารายณ์ และประชาชนชาวไทยรับนับถือคริสต์ศาสนา ซึ่งบาทหลวงฝรั่งเศสนำมาเผยแผ่ โดยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงส่งพระราชสาสน์มาทูลเชิญสมเด็จพระนารายณ์เข้ารับ นับถือคริสต์ศาสนาพร้อมทั้งเตรียมบาทหลวงมาไว้คอยถวายศีลด้วย แต่สมเด็จพระนารายณ์ได้ทรงใช้พระปรีชาญาณตอบปฏิเสธอย่างทะนุถนอมไมตรี ทรงขอบพระทัยพระเจ้าหลุยส์ที่มีพระทัยรักใคร่พระองค์ถึงแสดงพระปรารถนาจะให้ร่วมศาสนาด้วย แต่เนื่องด้วยพระองค์ยังไม่เกิดศรัทธาในพระทัย ซึ่งก็อาจเป็นเพราะพระเป็นเจ้าประสงค์ที่จะให้นับถือศาสนาคนละแบบคนละวิธี เช่นเดียวกับที่ทรงสร้างมนุษย์ให้ผิดแผกเชื้อชาติเผ่าพันธุ์ หรือทรงสร้างสัตว์ให้มีหลายชนิดหลายประเภทก็ได้ หากพระเป็นเจ้ามี พระประสงค์จะให้พระองค์ท่านเข้ารับนับถือศาสนาตามแบบตามลัทธิที่พระเจ้าหลุยส์ทรงนับถือแล้ว พระองค์ก็คงเกิดศรัทธาขึ้นในพระทัย และเมื่อนั้นแหละ พระองค์ท่านก็ไม่รังเกียจที่จะทำพิธีรับศีลร่วมศาสนาเดียวกัน

นอกจากนี้พระองค์ยังทรงรับเอาวิทยาการสมัยใหม่มาใช้ เช่น กล้องดูดาว และยุทโธปกรณ์บางประการ รวมทั้งยังมีการรับเทคโนโลยีการสร้างน้ำพุ จากชาวยุโรป และวางระบบท่อประปาภายในพระราชวังอีกด้วย

วรรณกรรมในรัชกาล

ชาวสยามวาดโดยทูตชาวฝรั่งเศส ลาลูแบร์

สมเด็จพระนารายณ์มิใช่เพียงทรงพระปรีชาสามารถทางด้านการทูตเท่านั้น หากทรงเป็นกวีและทรงอุปถัมภ์กวีในยุคของพระองค์อย่างมากมาย กวีลือนามแห่งรัชสมัยของพระองค์ก็ได้แก่ พระโหราธิบดี หรือพระมหาราชครู ผู้ประพันธ์หนังสือจินดามณี ซึ่งเป็นตำราเรียนภาษาไทยเล่มแรก และตอนหนึ่งของเรื่องสมุทรโฆษคำฉันท์ (อีกตอนหนึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ของสมเด็จพระนารายณ์) กวีอีกผู้หนึ่งคือ ศรีปราชญ์ ผู้เป็นปฏิภาณกวี เป็นบุตรของพระโหราธิบดี งานชิ้นสำคัญของศรีปราชญ์ คือ หนังสือกำศรวลศรีปราชญ์ และอนุรุทรคำฉันท์ด้วยพระปรีชาสามารถดังได้บรรยายมาแล้ว สมเด็จพระนารายณ์จึงได้รับการถวายพระเกียรติเป็น มหาราช พระองค์หนึ่ง

วรรณกรรมที่ปรากฏหลักฐานว่าแต่งขึ้นในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ เช่น

  • สมุทรโฆษคำฉันท์ ส่วนตอนต้นเชื่อกันว่าพระมหาราชครูเป็นผู้แต่งแต่ถึงแก่อนิจกรรมเสียก่อน สมเด็จพระนารายณ์จึงพระราชนิพนธ์ต่อ โดยเริ่มที่ตอน พิศพระกุฎีอาศรมสถานตระกาลกล ไปจนถึง ตนกูตายก็จะตายผู้เดียวใครจะแลดู โอ้แก้วกับตนกู ฤเห็น
  • คำฉันท์กล่อมช้าง (ของเก่า) เป็นผลงานของขุนเทพกวี สันนิษฐานว่าแต่งในคราวสมโภชขึ้นระวางเจ้าพระยาบรมคเชนทรฉัททันต์ เมื่อ พ.ศ. 2216 เป็นต้น

ทั้งยังส่งเสริมงานงานกวี ทำให้มีหนังสื่อเรื่องสำคัญ ๆ ในรัชสมัยนี้เป็นจำนวนไม่น้อย เช่น โคลงเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ของหลวงศรีมโหสถ หนังสือจินดามณีของพระโหราธิบดี (จัดเป็นตำราเรียนเล่มแรกของประเทศไทย) และอนิรุทธคำฉันท์ เป็นต้น

ชื่อสถานที่อันเนื่องด้วยพระนามาภิไธย

อ้างอิง

เชิงอรรถ
  1. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ ประวัติ
  2. นิโคลาส์ เดอ แซร์แวส (เขียน) สันต์ ท. โกมลบุตร (แปล). ประวัติศาสตร์ธรรมชาติและการเมืองแห่งราชอาณาจักรสยาม. พระนคร:ก้าวหน้า. 2506, หน้า 225
  3. ดู Van Vliet, Jeremias. The Short History of the Kings of Siam. Bangkok:The Siam Society. 1975, p. 94 อ้างใน นิธิ เอียวศรีวงศ์. การเมืองไทยสมัยพระนารายณ์. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ:มติชน. 2545, หน้า 27
  4. "ด้วยเหตุที่เจ้าฟ้าอภัยทศมีพระวรกายพิการง่อยเปลี้ย คนทั่วไปจึงมักเรียกพระองค์ตามอย่างปากตลาดว่า 'เจ้าฟ้าง่อย'" อ้างใน สุทธิศักดิ์ ระบอบ สุขสุวานนท์ (กันยายน 2552). "พงศาวดารกระซิบเรื่องโอรสลับสมเด็จพระนารายณ์". ศิลปวัฒนธรรม 30:11, หน้า 99, 116
  5. นิธิ เอียวศรีวงศ์. การเมืองไทยสมัยพระนารายณ์. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ:มติชน. 2545, หน้า 38
  6. ภาสกร วงศ์ตาวัน. ไพร่ขุนนางเจ้า แย่งชิงบัลลังก์สมัยอยุธยา. กรุงเทพฯ:ยิปซี, 2553. หน้า 161
  7. "สมเด็จพระพี่นางพระองค์ใหญ่". จุลลดา ภักดีภูมินทร์. 14 พฤษภาคม 2545. สืบค้นเมื่อ 2010-12-29.
  8. สุภัตรา ภูมิประภาส (กันยายน 2552). "นางออสุต:เมียลับผู้ทรงอิทธิพลแห่งการค้าเมืองสยาม". ศิลปวัฒนธรรม 30:11, หน้า 94
  9. สปอร์แดช มอร์แกน (เขียน), กรรณิกา จรรย์แสง (แปล). เงาสยาม ยามผลัดแผ่นดินพระนารายณ์. กรุงเทพฯ:มติชน, 2554, หน้า 205
  10. นิธิ เอียวศรีวงศ์. การเมืองไทยสมัยพระนารายณ์. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ:มติชน, 2549. หน้า 84
  11. คำให้การขุนหลวงหาวัด. นนทบุรี:มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. 2547, หน้า 33-35
  12. คำให้การชาวกรุงเก่า. นนทบุรี:มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. 2547, หน้า 96-97
  13. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา และพงศาวดารเหนือ เล่ม 2. กรุงเทพฯ:องค์การค้าของคุรุสภา. 2504, หน้า 91-94
  14. คำให้การชาวกรุงเก่า. นนทบุรี:มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. 2547, หน้า 96
  15. คำให้การขุนหลวงหาวัด. นนทบุรี:มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. 2547, หน้า 32-33
  16. เดอะ แบส (เขียน), สันต์ ท. โกมลบุตร (แปล). บันทึกความทรงจำของบาทหลวง เดอะ แบส เกี่ยวกับชีวิตและมรณกรรมของก็องสตังซ์ ฟอลคอน. นนทบุรี:ศรีปัญญา. 2550, หน้า 100-101
  17. เดอ ลาลูแบร์ (เขียน), สันต์ ท. โกมลบุตร (แปล). ราชอาณาจักรสยาม. กรุงเทพฯ:ก้าวหน้า. 2510, หน้า 43
  18. นิโกลาส์ แซร์แวส (เขียน) สันต์ ท. โกมลบุตร (แปล). ประวัติศาสตร์ธรรมชาติและการเมืองแห่งราชอาณาจักรสยาม. นนทบุรี:ศรีปัญญา. 2550, หน้า 199-200
  19. สุทธิศักดิ์ ระบอบ สุขสุวานนท์ (กันยายน 2552). "พงศาวดารกระซิบเรื่องโอรสลับสมเด็จพระนารายณ์". ศิลปวัฒนธรรม 30:11, หน้า 99, 116
  20. http://www.mfa.go.th/main/en/organize/1085
บรรณานุกรม
  • มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา. นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา, 2554. 264 หน้า. ISBN 978-616-7308-25-8
  • พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม). นนทบุรี : ศรีปัญญา, 2553. 800 หน้า. ISBN 978-616-7146-08-9
  • วิชาการ.คอม
  • หอมรดกไทย

ดูเพิ่ม

  • รายพระนามพระมหากษัตริย์ไทย
  • Cruysse, Dirk van der (2002). Siam and the West. Chiang Mai: Silkworm
  • Marcinkowski, M. Ismail (2005). From Isfahan to Ayutthaya: Contacts between Iran and Siam in the 17th Century. With a foreword by Professor Ehsan Yarshater, Columbia University . Singapore: Pustaka Nasional
  • Muhammad Rabi' ibn Muhammad Ibrahim, J. O'Kane (trans.) (1972). The Ship of Sulaiman. London: Routledge
  • Smithies, M. (1999). A Siamese Embassy Lost in Africa, 1686. Chiang Mai: Silkworm
  • Smithies, M., Bressan, L., (2001). Siam and the Vatican in the Seventeenth Century. Bangkok: River
  • Smithies, M., Cruysse, Dirk van der (2002). The Diary of Kosa Pan: Thai Ambassador to France, June-July 1686. Seattle: University of Washington Press
  • Wyatt, DK (1984). Thailand: A Short History. Chiang Mai: Silkworm
ก่อนหน้า สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ถัดไป
สมเด็จพระศรีสุธรรมราชา
(ราชวงศ์ปราสาททอง)

(พ.ศ. 2199)

พระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรอยุธยา
(ราชวงศ์ปราสาททอง)

(พ.ศ. 2199 - พ.ศ. 2231)
สมเด็จพระเพทราชา
(ราชวงศ์บ้านพลูหลวง)

(พ.ศ. 2231 - พ.ศ. 2246)