พระเจ้ากนิษกะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กนิษกะ
กษัตริย์แห่งกุษาณ
KanishkaCoin3.JPG
เหรียญทองพระเจ้ากนิษกะ สลักด้วยภาษากรีก-บักเตรียว่า "กษัตริย์แห่งกษัตริย์ทั้งปวง - กนิษกะมหาราช"
ครองราชย์ค.ศ. 127-150
ก่อนหน้าวีมะ กัทผิเสส
ถัดไปหุวิษกะ
ราชสกุลชาห์แห่งกุษาณะ
ราชวงศ์กุษาณะ
ประสูติปุรุษปุระ (เปศวาร์ในปัจจุบัน)
สวรรคตปุรุษปุระ
ศาสนาศาสนาพุทโ

พระเจ้ากนิษกะที่ 1 (สันสกฤต: कनिष्क, Kaniṣka; กรีก-บักเตรีย: ΚΑΝΗϷΚΕ Kanēške; กาโรสตี: 𐨐𐨞𐨁𐨮𐨿𐨐 Ka-ṇi-ṣka;[1] พราหมี: Gupta ashoka kaa.svgGupta ashoka nni.jpgGupta ashoka ssk.jpg Kā-ṇi-ṣka) หรือ กนิษกะมหาราช เป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิกุษาณะ ครองราชตั้งแต่ปี ค.ศ. 127-150 ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดของกุษาณะ[2] พระองค์เป็นที่รู้จักจากผลงานทางการทัพ, การเมือง และทางศาสนา ทรงเป็นผู้สืบราชสกุลจากจักรพรรดิกุชุลา กัทผิเสส ปฐมกษัตริย์ของกุษาณะ ในรัชสมัยของพระเจ้ากนิษกะ จักรวรรดิกุษาณะมีพื้นที่ตั้งแต่เอเชียกลางและคันธาระ ไปถึงปาฏลีบุตรในที่ราบลุ่มแม่น้ำคงคา ราชธานีในรัชสมัยของพระองค์ตั้งอยู่ที่ปุรุษปุระ (ปัจจุบันคือเปศวาร์) ในคันธาระ และมีอีกราชธานีสำคัญอยู่ที่มถุรา มีการขุดพบเหรียญพระเจ้ากนิษกะที่ตริปุรี (ปัจจุบันคือชัพพัลปุระ)[3]

การพิชิตดินแดนต่าง ๆ และการอุปถัมภ์ศาสนาพุทธของพระองค์มีส่วนสำคัญมากในการพัฒนาของเส้นทางสายไหมและการเผยแผ่พุทธศาสนานิกายมหายานจากคันธาระ การาโกรัม ไปจนถึงจีน ในราว ค.ศ. 127 พระองค์เปลี่ยนภาษาราชการของจักรวรรดิจากภาษากรีกเป็นภาษาบักเตรีย[4]

อ้างอิง[แก้]

  1. B.N. Mukhjerjee, Shāh-jī-kī-ḍherī Casket Inscription, The British Museum Quarterly, Vol. 28, No. 1/2 (Summer, 1964), pp. 39-46
  2. Bracey, Robert (2017). "The Date of Kanishka since 1960 (Indian Historical Review, 2017, 44(1), 1-41)". Indian Historical Review (ภาษาอังกฤษ). 44: 1–41.
  3. Dahiya, Poonam Dalal (2017-09-15). ANCIENT AND MEDIEVAL INDIA EBOOK (ภาษาอังกฤษ). McGraw-Hill Education. pp. 278–281. ISBN 978-93-5260-673-3.
  4. The Kushans at first retained the Greek language for administrative purposes but soon began to use Bactrian. The Bactrian Rabatak inscription (discovered in 1993 and deciphered in 2000) records that the Kushan king Kanishka the Great (c. 127 AD), discarded Greek (Ionian) as the language of administration and adopted Bactrian ("Arya language"), from Falk (2001): "The yuga of Sphujiddhvaja and the era of the Kuṣâṇas." Harry Falk. Silk Road Art and Archaeology VII, p. 133.