ข้ามไปเนื้อหา

อีวานที่ 3 แห่งรัสเซีย เจ้าชายแห่งมอสโก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อีวานมหาราช
พระประมุขแห่งรัสเซียทั้งปวง
พระบรมสาทิสลักษณ์ในซาร์สกีติตุลยาร์นิก, ค.ศ. 1672
เจ้าฟ้าเอกแห่งมอสโกและรัสเซียทั้งปวง
ครองราชย์28 มีนาคม 1462 – 27 ตุลาคม 1505
ก่อนหน้าวาซีลีที่ 2
ถัดไปวาซีลีที่ 3
ร่วมปกครอง
ประสูติ22 มกราคม ค.ศ. 1440
มอสโก แกรนด์ดัชชีมอสโก
สวรรคต27 ตุลาคม ค.ศ. 1505(1505-10-27) (65 ปี)
มอสโก แกรนด์ดัชชีมอสโก
ฝังพระศพอาสนวิหารแห่งอัครทูตสวรรค์ มอสโก
พระมเหสี
พระราชบุตร
อื่น ๆ...
ราชวงศ์รูริก
พระราชบิดาวาซีลีที่ 2 แห่งมอสโก
พระราชมารดามาเรียแห่งบอรอฟสค์
ศาสนาออร์ทอดอกซ์รัสเซีย

อีวานที่ 3 วาซิลเยวิช (รัสเซีย: Иван III Васильевич; 22 มกราคม ค.ศ. 1440 – 27 ตุลาคม ค.ศ. 1505) หรือ อีวานมหาราช[note 1][1][2][3] เป็นเจ้าฟ้าเอกแห่งมอสโกและรัสเซียทั้งปวงใน ค.ศ. 1462 จนกระทั่งสวรรคตใน ค.ศ. 1505[note 2][8][9][10][11][12][13] อีวานดำรงตำแหน่งผู้ปกครองร่วมแและผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแก่วาซีลีที่ 2 พระราชบิดาที่พระเนตรบอดก่อนขึ้นครองราชย์

พระองค์ขยายอาณาเขตดินแดนของพระองค์โดยการพิชิต การซื้อ การสืบทอด และการยึดที่ดินจากพระญาติในราชวงศ์ และวางรากฐานของรัฐรัสเซียที่รวมอำนาจไว้ที่ส่วนกลาง[14][15][16] พระองค์ยังบูรณะเครมลินมอสโกและนำเข้าประมวลกฎหมายใหม่[17][18] อีวานได้รับเครดิตในการยุติความเป็นใหญ่ของชาวตาตาร์เหนือรัสเซีย[19] ชัยชนะของพระองค์เหนือเกรตฮอร์ดใน ค.ศ. 1480 ฟื้นฟูความเป็นเอกราชอย่างเป็นทางการ[20][21]

อีวานเริ่มใช้ตำแหน่งซาร์[22] และใช้ตำแหน่งนั้นเป็นการชั่วคราวจนกระทั่งฮาพส์บวร์คให้การรับรอง[23] ในขณะที่พระองค์ใช้คำว่า "ซาร์" อย่างเป็นทางการในการติดต่อกับพระมหากษัตริย์พระองค์อื่น ๆ[24][25] พระองค์ทรงพอใจกับตำแหน่งเจ้าฟ้าเอกในดินแดนของตน[26] อีวานทำให้อินทรีสองหัวเป็นตราแผ่นดินของรัสเซีย ผ่านการสมรสโซเฟีย ปาไลโอโลกินา และรับแนวคิดมอสโกเป็นโรมแห่งที่สาม รัชสมัย 43 ปีของพระองค์[27]ทำให้เป็นกษัตริย์ผู้ครองราชย์นานเป็นอันดับ 2 ในประวัติศาสตร์รัสเซีย เป็นรองเพียงอีวานที่ 4 พระราชนัดดา

พระชนม์ชีพช่วงต้น

[แก้]

อีวาน วาซิลเยวิชเสด็จพระราชสมภพในวันที่ 22 มกราคม ค.ศ. 1440 จากพระบรมวงศานุวงศ์ของวาซีลีที่ 2 เจ้าฟ้าเอกแห่งมอสโก กับมาเรียแห่งบอรอฟสค์[28] พระธิดาในเจ้าชายประจำศักดินากับพระราชนัดดาของวลาดีมีร์ผู้กล้าหาญ[29]

ครั้งแรกที่อีวานได้รับการแต่งตั้งเป็นรัชทายาทและเจ้าฟ้าเอกในสนธิสัญญาระหว่างพระราชบิดากับเจ้าชายรัสเซียองค์อื่น ๆ อยู่ในสนธิสัญญากับอีวาน วาซิลเยวิชแห่งซุซดัลที่มีอายุจาก ค.ศ. 1448 หรือ 1449[30]

อีวานมีพระอนุชา/เชษฐา 4 พระองค์: ยูรี, อันเดรย์ โบลชอย ("คนใหญ่"), บอริส และอันเดรย์ เมนชอย ("คนเล็ก")[31]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. รัสเซีย: Иван Великий
  2. บางครั้งแปลเป็น พระประมุขแห่งชาวรุสทั้งปวง (รัสเซีย: Государь всея Руси)[4][5][6][7]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Boguslavsky 2001, p. 455.
  2. Polovtsov 1897, p. 193: "Iоаннъ III Васильевичъ, великiй князь всея Руси, называемый такъ же иногда Великимъ [Ioannes III Vasilyevich, Grand Prince of all Rus', sometimes also called the Great]".
  3. Kort 2008, p. 24: "For his achievements as a whole, however ruthlessly he went about realizing them, with considerable justification he is called Ivan the Great".
  4. Pape 2016, p. 72: "...под самый конец жизни великий князь стал пользоваться новым, расширенным титулом, а именно «царь и государь всея Руси» [...at the very end of his life the Grand Prince started to use the new extended title, i.e. “Tsar and Sovereign of all Rus'”]".
  5. Letiche & Pashkov 1964, p. 97: "...Ivan III, “the Sovereign of all Rus”...".
  6. Pape 2016, p. 71: "Иоанн, Божьею милостью царь и государь всеа Руси и великий князь Володимерский [Ioannes, by the Grace of God Tsar and Sovereign of all Rus' and Grand Prince of Vladimir]".
  7. Filjushkin 2006, p. 173: "Литва признала титул Ивана III государь всея Руси, что и было зафиксировано в перемирной грамоте [Lithuania recognized the title of Ivan III, sovereign of all Rus', which was stated in the peace treaty]".
  8. Auty & Obolensky 1976, p. 92, In the last quarter of the fifteenth century Ivan III added to his title of Grand Prince of Moscow just three words – 'and All Russia'.
  9. Millar 2004, p. 688, grand prince of Moscow (1462–1505), sovereign of "all Russia" (from 1479).
  10. Pape 2016, p. 66: "...cum illustrissimo et potenti domino, Johanne, tocius Rutzsie imperatore, magno duce Volodimerie, Muscouie, Nouogardie, Plescouie, Otpherie, Yngærie, Vetolsy, Permie, Bolgardie etc. [...with the most illustrious and powerful sovereign, Ivan, tsar of all Russia, Grand Prince of Vladimir, Moscow, Novgorod, Pskov, Tver, Yugra, Vyatka, Perm, Bolgar etc.]".
  11. Kort 2008, p. 27-28: "In 1493 Ivan added the title “Sovereign of All Russia”".
  12. Filjushkin 2008, p. 278: "1462–1505 Ivan III Vasilievich, Grand Prince, Sovereign of all Russia".
  13. MacKenzie & Curran 2002, p. 115.
  14. Letiche & Pashkov 1964, p. 97: "Under Ivan III, “the Sovereign of all Rus”, the lands around Moscow were united and the foundations of a centralized state in the form of a feudal monarchy were begun".
  15. Kort 2008, p. 24-25.
  16. Letiche & Pashkov 1964, p. 97: "the foundations of a uniform state legislation (The Sudebnik [Code] of 1497 were laid)".
  17. Kort 2008, p. 28: "In 1497 Ivan issued a new law code called the Sudebnik".
  18. Letiche & Pashkov 1964, p. 97: "During his reign Russia's dependence on the Tatar khans ended".
  19. Kort 2008, p. 24: "...in 1480, Ivan officially declared Russia independent of the Golden Horde".
  20. Kort 2008, p. 26: "...Ivan formally restored Russian independence by renouncing all allegiance to the remnant of the once-mighty Golden Horde".
  21. Kort 2008, p. 27: "During the 1480s Ivan began referring to himself with the Russian word czar, which means Caesar".
  22. Crummey 2013, p. 96: "Ivan, however, was the first prince of Moscow to apply the title to himself in official documents. As was his custom, he proceeded cautiously, at first using it only occasionally in dealings with obvious inferiors. The pretensions of the Habsburgs stimulated him to take a risky step; beginning in 1489, he insisted on calling himself tsar in negotiations with them".
  23. Bushkovitch 2021, p. 53.
  24. Pape 2016, p. 69: "Так, датский текст, как уже показано, называет Ивана III tocius Rutzsie imperator, т. е.«царь всея Руси» [In this way, the Danish text, as it has been already shown, calls Ivan III tocius Rutzsie imperator, i.e. “tsar of all Rus'”]".
  25. The Foreign Quarterly Review 1829, p. 166: "Become independent autocrat, the humble title of grand-duke was no longer suited to his dignity: he assumed that of Tsar in his correspondence with other potentates, but at home he was satisfied with the ancient designation".
  26. The Foreign Quarterly Review 1829, p. 166: "After a splendid reign of forty-tree years, this great monarch transmitted the sceptre to his son Vassilly, who perseveringly trod in the footsteps of his father, and died in 1534".
  27. Payne & Romanoff 2002, p. 434.
  28. Historical Genealogy (ภาษารัสเซีย). Zerkalo. 1993. p. 55.
  29. Bushkovitch 2021, p. 47.
  30. Bushkovitch 2021, p. 50.

บรรณานุกรม

[แก้]
  • Ostowski, Donald (2006). "The Growth of Muscovy, (1462–1533)". ใน Perrie, Maureen (บ.ก.). The Cambridge History of Russia. Vol. 1. pp. 222–3.
  • Payne, Robert; Romanoff, Nikita (2002). Ivan the Terrible. New York City: Cooper Square Press. ISBN 978-0815412298.

อ่านเพิ่ม

[แก้]
  • Fennell, J. L. I. Ivan the Great of Moscow (1961)
  • Grey, Ian. Ivan III and the unification of Russia (1964)
  • Ostowski, Donald. "The Growth of Muscovy, (1462–1533)" in Maureen Perrie, ed., The Cambridge History of Russia (2006) vol. I pages 213–39
  • Paul, Michael C. "Secular Power and the Archbishops of Novgorod up to the Muscovite Conquest," Kritika (2007) 8#2 pp:131–170.
  • Soloviev, Sergei M. and John J. Windhausen, eds. History of Russia. Vol. 8: Russian Society in the Age of Ivan III (1979)
  • Vernadsky, George, and Michael Karpovich, A History of Russia vol. 4 (1959).

ข้อมูลปฐมภูมิ

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]