อำเภอปรางค์กู่
อำเภอปรางค์กู่ | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Prang Ku |
คำขวัญ: เมืองเก่าปรางค์กู่ ที่อยู่นกเป็ด ฝีมือเด็ดผ้าไหม เจียระไนพลอยดี มากมีอารยธรรม | |
แผนที่จังหวัดศรีสะเกษ เน้นอำเภอปรางค์กู่ | |
พิกัด: 14°51′24″N 104°2′24″E / 14.85667°N 104.04000°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | ศรีสะเกษ |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 285.475 ตร.กม. (110.223 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 66,245 คน |
• ความหนาแน่น | 232.05 คน/ตร.กม. (601.0 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 33170 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 3307 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอปรางค์กู่ หมู่ที่ 1 ถนนสุขาภิบาล 14 ตำบลพิมาย อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ 33170 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
ปรางค์กู่ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดศรีสะเกษ ตั้งทางตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัด ในอดีตเป็นพื้นที่ที่มีความแห้งแล้งมากที่สุดในจังหวัดศรีสะเกษ และมีความแห้งแล้งในลำดับต้น ๆ ของประเทศไทย ปัจจุบันมีความอุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพันธ์ธัญญาหาร และเป็นแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]อำเภอปรางค์กู่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลผักไหม ตำบลกล้วยกว้าง อำเภอห้วยทับทัน และตำบลโคกจาน อำเภออุทุมพรพิสัย
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลบุสูง ตำบลโพนยาง ตำบลศรีสำราญ อำเภอวังหิน และตำบลสำโรงตาเจ็น ตำบลโคกเพชร อำเภอขุขันธ์
- ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลใจดี ตำบลศรีสะอาด ตำบลปราสาท อำเภอขุขันธ์
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลหนองแวง ตำบลแจนแวน ตำบลตรวจ อำเภอศรีณรงค์ ตำบลกุดหวาย อำเภอศีขรภูมิ และตำบลเกาะแก้ว อำเภอสำโรงทาบ (จังหวัดสุรินทร์)
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]อำเภอปรางค์กู่แบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 10 ตำบล 141 หมู่บ้าน ได้แก่
1. | พิมาย | (Phimai) | 13 หมู่บ้าน | 6. | โพธิ์ศรี | (Pho Si) | 14 หมู่บ้าน | ||||||||
2. | กู่ | (Ku) | 17 หมู่บ้าน | 7. | สำโรงปราสาท | (Samrong Prasat) | 17 หมู่บ้าน | ||||||||
3. | หนองเชียงทูน | (Nong Chiang Thun) | 19 หมู่บ้าน | 8. | ดู่ | (Du) | 13 หมู่บ้าน | ||||||||
4. | ตูม | (Tum) | 12 หมู่บ้าน | 9. | สวาย | (Sawai) | 10 หมู่บ้าน | ||||||||
5. | สมอ | (Samo) | 17 หมู่บ้าน | 10. | พิมายเหนือ | (Phimai Nuea) | 10 หมู่บ้าน |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]ท้องที่อำเภอปรางค์กู่ประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 11 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลปรางค์กู่ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลพิมายและตำบลพิมายเหนือ
- องค์การบริหารส่วนตำบลพิมาย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพิมาย (นอกเขตเทศบาลตำบลปรางค์กู่)
- องค์การบริหารส่วนตำบลกู่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกู่ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองเชียงทูน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองเชียงทูนทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลตูม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตูมทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลสมอ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสมอทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์ศรี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโพธิ์ศรีทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลสำโรงปราสาท ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสำโรงปราสาททั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลดู่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดู่ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลสวาย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสวายทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลพิมายเหนือ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพิมายเหนือ (นอกเขตเทศบาลตำบลปรางค์กู่)
สภาพพื้นที่
[แก้]อำเภอปรางค์กู่ มีพื้นที่ทั่วไปเป็นที่ราบลุ่ม ไม่มีภูเขาพื้นดินส่วนใหญ่เหมาะแก่การทำนาลักษณะดินเป็นดินปนทราย ไม่มีแม่น้ำไหลผ่านมีเพียงลำห้วย และ หนองเท่านั้น ลำห้วยที่สำคัญคือ
- ลำห้วยสำราญเป็นลำห้วยที่สำคัญที่สุดของอำเภอ ไหลจากท้องที่อำเภอขุขันธ์ เข้าสู่อำเภอปรางค์กู่
- ลำห้วยเสนเป็นลำห้วยที่ไหลจากอำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ สู่อำเภอปรางค์กู่ที่บ้านกะดึ ตำบลกู่ ไหลผ่านตำบลสวาย และออกทางอำเภอห้วยทับทัน
- ลำห้วยฆ้อง เป็นลำห้วยที่ไหลมาจากท้องที่อำเภอขุขันธ์ไหลสู่อำเภอปรางค์กู่ที่บ้านกอกหวาน ตำบลโพธิ์ศรี ผ่านตำบลพิมาย ตำบลตูมเป็นลำห้วยที่ไหลผ่านใจกลางของอำเภอปรางค์กู่เป็นที่น่าสังเกตว่าลำห้วยทุกลำห้วยจะไหลจากทิศใต้ไปทางทิศเหนือของอำเภอเสมอ
การท่องเที่ยว
[แก้]อำเภอปรางค์กู่ เป็นอำเภอที่ไม่มีแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพดึงดูดนักท่องเที่ยวมากนัก มีเพียงแต่ปราสาทปรางค์กู่ และปราสาทบ้านสมอ เท่านั้น
บุคคลที่มีชื่อเสียง
[แก้]อำเภอปรางค์กู่ เป็นอำเภอที่มีความแห้งแล้งมากที่สุดเป็นลำดับต้น ๆ ของประเทศไทย และเป็นจุดกำเนิดของ นักสู้ผู้สร้างป่า : ดาบตำรวจวิชัย สุริยุทธ ตำรวจที่เป็นที่รู้จักจากการปลูกต้นไม้ทุกวัน จนกว่าจะไม่มีแรงจะปลูก[1]
อ้างอิง
[แก้]