คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
![]() | |
ชื่ออังกฤษ | Faculty of Medicine Siam University |
---|---|
ที่อยู่ | เลขที่ 38 ถนนเพชรเกษม แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร 10160 |
วันก่อตั้ง | 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 |
คณบดี | ศาสตราจารย์คลินิก นพ.สุวัฒน์ เบญจพลพิทักษ์ |
สีประจําคณะ | ███ เขียวหัวเป็ดแมลลาร์ดตัวผู้ |
สัญลักษณ์ | งูพันคฑา ล้อมรอบด้วยฟันเฟือง |
สถานปฏิบัติ | โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า (ศูนย์แพทยศาสตร์ชั้นคลินิก โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า) |
เว็บไซต์ | med.siam.edu |
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม (Faculty of Medicine Siam University) เป็นคณะแพทยศาสตร์ของมหาวิทยาลัยสยาม โดยเป็นสถาบันแพทยศาสตร์ลำดับที่ 21 ของประเทศไทย และลำดับที่ 2 ของมหาวิทยาลัยเอกชน และผ่านการรับรองหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตจากแพทยสภาแล้ว
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
เกิดจากกลุ่มแพทย์ที่มีประสบการณ์สูงทั้งด้านการเรียนการสอนในโรงเรียนแพทย์ชั้นนำของประเทศและประสบความสำเร็จอย่างสูงในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมท่านเหล่านี้มีประสบการณ์ตรงเกี่ยวกับปัญหาการขาดแคลนแพทย์ทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อประเทศไทยเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอย่างเต็มรูปแบบในปี พ.ศ. 2558 การเคลื่อนย้ายผู้ประกอบวิชาชีพต่างๆโดยเฉพาะผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมจะสามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างไร้พรมแดน รวมถึงจะมีการเข้ามารับบริการทางการแพทย์ในประเทศมากขึ้น รัฐจึงต้องเตรียมความพร้อมโดยเฉพาะจำนวนบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความสามารถและเพียงพอที่จะกระจายไปยังภูมิภาคต่างๆของประเทศเพื่อรองรับและตอบสนองการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในเร็ววันนี้
มหาวิทยาลัยสยามในฐานะสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาจึงตระหนักถึงการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาและได้พัฒนาประเทศในด้านการผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพสู่สังคมมายาวนานอีกทั้งคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยสยาม ได้รับการสนับสนุนทางด้านการศึกษาจากมูลนิธิคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยามอีกด้วย
ประวัติ[แก้]
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม เกิดจากกลุ่มแพทย์ที่มีประสบการณ์สูงร่วมกันเสนอขอเปิดดำเนินการหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ต่อสภามหาวิทยาลัยสยามและได้รับความเห็นชอบเมื่อวันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ 2553 พร้อมทั้งได้แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาเปิดดำเนินการหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตในการประชุมคราวเดียวกัน ต่อมาคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยสยามอนุมัติหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (หลักสูตร ใหม่ พ.ศ. 2555) เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2556 ต่อมาคณะกรรมการแพทยสภาในการประชุมเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2556 ให้การรับรองหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2555) นับเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งที่ 2 ของประเทศไทยที่ได้รับอนุมัติจากแพทยสภาให้เปิดรับนักศึกษาจำนวน 48 คน ในปีการศึกษา 2556 และให้จัดการเรียนการสอนภาคการศึกษาที่ 1 ในเดือนสิงหาคม 2556 โดยมีรองศาสตราจารย์ นายแพทย์ชูเกียรติ อัศวาณิชย์เป็นคณบดี ศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์อมร ลีลารัศมี และศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์เฉลิม วราวิทย์ เป็นที่ปรึกษา
คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยสยามเกิดจากกลุ่มแพทย์ที่มีประสบการณ์สูงทั้งด้านการเรียนการสอนในโรงเรียนแพทย์ชั้นนำของประเทศและประสบความสำเร็จอย่างสูงในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมท่านเหล่านี้มีประสบการณ์ตรงเกี่ยวกับปัญหาการขาดแคลนแพทย์ทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อประเทศไทยเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอย่างเต็มรูปแบบในปี พ.ศ. 2558 การเคลื่อนย้ายผู้ประกอบวิชาชีพต่างๆโดยเฉพาะผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมจะสามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างไร้พรมแดน รวมถึงจะมีการเข้ามารับบริการทางการแพทย์ในประเทศมากขึ้น รัฐจึงต้องเตรียมความพร้อมโดยเฉพาะจำนวนบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความสามารถและเพียงพอที่จะกระจายไปยังภูมิภาคต่างๆของประเทศเพื่อรองรับและตอบสนองการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในเร็ววันนี้ มหาวิทยาลัยสยามในฐานะสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาจึงตระหนักถึงการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาและได้พัฒนาประเทศในด้านการผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพสู่สังคมมายาวนานอีกทั้งคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยสยาม ได้รับการสนับสนุนทางด้านการศึกษาจากมูลนิธิคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยามอีกด้วย
ปี พ.ศ. 2553 ขอเปิดดำเนินการหลักสูตร[แก้]
ขอเปิดดำเนินการหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตต่อสภามหาวิทยาลัยสยามและ ได้รับความเห็นชอบในการประชุมครั้งที่ 1/2553 เมื่อวันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ 2553 พร้อมทั้งได้แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาเปิดดำเนินการหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตในการประชุมคราวเดียวกัน
ปี พ.ศ. 2556 อนุมัติหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต[แก้]
คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยสยามอนุมัติหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (หลักสูตร ใหม่ พ.ศ. 2555) ซึ่งเป็นหลักสูตรที่ร่างขึ้นใหม่โดยเน้นการสอนแบบบูรณาการและใช้ system-based curriculum เป็นฐานในการจัดการเรียนการสอนในระดับปรีคลินิก
ปี พ.ศ. 2556 ให้การรับรองหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต[แก้]
คณะกรรมการแพทยสภาในการประชุมครั้งที่ 7/2556 เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2556 ให้การรับรองหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2555) นับเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งที่ 2 ของประเทศไทยที่ได้รับอนุมัติจากแพทยสภาให้เปิดรับนักศึกษาจำนวน 48 คน ในปีการศึกษา 2556
ปี พ.ศ. 2556 เปิดการศึกษา[แก้]
จัดการเรียนการสอนภาคการศึกษาที่ 1 ในเดือนสิงหาคม 2556 โดยมีรองศาสตราจารย์ นายแพทย์ชูเกียรติ อัศวาณิชย์เป็นคณบดี ศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์อมร ลีลารัศมี และศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์เฉลิม วราวิทย์ เป็นที่ปรึกษา
ทำเนียบคณบดี[แก้]
ลำดับที่ | รายนามคณบดี | วาระการดำรงตำแหน่ง |
---|---|---|
1 | รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ชูเกียรติ อัศวาณิชย์ | 2553 - 2556 |
2 | ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์อมร ลีลารัศมี | 2556 - 2562 |
3 | ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์สุวัฒน์ เบญจพลพิทักษ์ | 2562 - ปัจจุบัน |
สาส์นจากคณบดี[แก้]
กระผมมีความยินดีและเป็นเกียรติอย่างสูงที่ได้มีโอกาสเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งคณบดี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม ซึ่งอยู่ในระยะปลายทศวรรษแรกของการก่อตั้งคณะแพทยศาสตร์ ในมหาวิทยาลัยเอกชน นับเป็นลำดับที่สองของประเทศไทย ด้วยความภาคภูมิใจในฐานะสถาบันผลิตแพทย์เอกชน ที่สนับสนุนนโยบายภาครัฐในด้านการสาธารณสุขและช่วยแก้ไขภาวะขาดแคลนแพทย์ของสังคมไทย โดยความร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุข ผ่านโรงพยาบาลพระนั่งเกล้าและโรงพยาบาลในกลุ่มเครือข่ายสุขภาพ ได้แก่ โรงพยาบาลบางกรวย โรงพยาบาลบางใหญ่ โรงพยาบาลบางบัวทอง โรงพยาบาลไทรน้อย โรงพยาบาลปากเกร็ด รวมถึงโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลต่าง ๆ ในปัจจุบันคณะฯ มีนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาไปแล้ว 1 รุ่น ซึ่งเป็นผลงานที่ต้องขอกล่าวขอบคุณอดีตคณบดีทุกท่าน ผู้อำนวยการและผู้บริหารโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า คณาจารย์และบุคลากรทุกท่าน สำหรับการปฏิบัติหน้าที่และอุทิศตนอย่างเต็มความสามารถ เพื่อช่วยกันพัฒนาพันธกิจในด้านต่าง ๆ และผลักดันคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยามเข้าสู่เป้าหมายในการมุ่งสู่มาตรฐานความเป็นสากลและความเป็นเลิศด้านวิชาการ ด้วยปณิธานที่จะผลิตแพทยศาสตรบัณฑิตที่เป็นแพทย์ทรงภูมิปัญญา รอบรู้คู่คุณธรรม ดุจรัตนแห่งสยาม เป็นที่พึ่งพาของสังคม ซึ่งถือเป็นภารกิจหลักและเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนและพัฒนาระบบสาธารณสุขทั้งในระดับชุมชน จังหวัด และประเทศชาติ
ในการนำพาคณะแพทย์แห่งนี้ต่อไปในอนาคต กระผมมีความมุงมั่นตั้งใจที่จะผลักดันศักยภาพของคณะฯ ให้มุ่งสู่ความเป็นสากล โดยเร่งดำเนินการการปรับปรุงหลักสูตรใหม่ให้มีมาตรฐานระดับนานาชาติ การสร้างความสัมพันธ์และสนับสนุนการยกระดับโรงพยาบาลพระนั่งเกล้าให้เป็นแหล่งเรียนรู้และเป็นสถาบันร่วมผลิตแพทย์ชั้นนำ พัฒนาคุณลักษณะบัณฑิตแพทย์ที่มีสมรรถนะด้านการจัดการ การบริหาร และเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Future Leader Doctor for Community) ทั้งนี้เพื่อเป็นการขยายโอกาสแก่บัณฑิตแพทย์ให้มีศักยภาพในระดับสากล มีประสบการณ์ที่มากขึ้นจากการได้รับการศึกษาดูงานในสถาบันชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ และยังเป็นการตอบสนองนโยบายของประเทศชาติในการผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ (Medical hub) กระผมจึงขอเชิญชวนคณาจารย์และเจ้าหน้าที่คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม โรงพยาบาลพระนั่งเกล้าและโรงพยาบาลในกลุ่มเครือข่ายสุขภาพ ก้าวสู่ความสำเร็จที่ท้าทายนี้ร่วมกันต่อไปครับ
ปณิธาน[แก้]
“มุ่งผลิตบัณฑิตแพทย์ให้เป็นผู้มีปัญญา มีความรู้ มีทักษะและเจตคติที่ดีต่อการให้บริการสุขภาพแบบองค์รวม ครอบคลุมทั้งการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การตรวจวินิจฉัย การรักษาและการฟื้นฟูสุขภาพของบุคคล ครอบครัว และชุมชน มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์อย่างมีเหตุผลและเป็นระบบ มีทักษะในการติดต่อสื่อสารและสร้างสัมพันธภาพ สามารถเรียนรู้และพัฒนาความรู้เพื่อพัฒนาตนเองได้อย่างต่อเนื่องบนความหลากหลายทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและความเชื่อต่างๆ โดยคำนึงถึงหลักคุณธรรม จริยธรรมที่ดีงามแห่งวิชาชีพอันจะนำไปสู่ความสำเร็จในการครองตน ครองคนและครองงาน”
พันธกิจ[แก้]
เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพระดับสากล มีคุณธรรม จริยธรรม ส่งเสริมงานวิจัย
เพื่อประยุกต์ในการเรียนการสอนและชี้นำด้านสุขภาพแก่ชุมชนและสังคม ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม
วัตถุประสงค์[แก้]
- มีคุณธรรม จริยธรรม และเจตคติอันดีงามต่อการประกอบวิชาชีพ และต่อสังคม
- มีความรู้ ความสามารถ และทักษะพื้นฐานในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม โดยสามารถให้บริการสุขภาพแบบองค์รวม ครอบคลุมทั้งการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การตรวจวินิจฉัย การรักษาและการฟื้นฟูสุขภาพของบุคคลครอบครัวและชุมชน และดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม รวมทั้งมีความสามารถด้านนิติเวชศาสตร์เพื่อช่วยเหลือและผดุงความยุติธรรมในสังคม
- มีความสามารถวิเคราะห์ข้อมูลและแก้ปัญหาด้านสุขภาพ ได้อย่างมีเหตุผลตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ครอบคลุมแง่มุมต่างๆ แบบองค์รวม
- มีเจตคติที่ดีในการศึกษาต่อเนื่องตลอดเวลา ติดตามความก้าวหน้าของวิทยาการใหม่ๆ และสามารถใช้เทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสมและถูกกาลเทศะ มีทักษะทางการสื่อสารกับคนทุกกลุ่มอายุ ทั้งด้านการฟัง พูด เขียน ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และการทำงานเป็นทีม
- มีความสามารถผสมผสานและประยุกต์ความรู้ความสามารถทางวิชาการแพทย์กับวิชาการแขนงต่างๆ ในการปฏิบัติงานและการให้บริการด้านสุขภาพแก่ประชาชน มีมนุษย์สัมพันธ์ดีและสามารถทำงานร่วมกับบุคลากรสาขาวิชาชีพอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- มีทัศนคติเชิงบวก รู้เท่าทันต่อบริบททางสังคม กฎระเบียบ กฎหมาย และนโยบายสาธารณะต่างๆที่ควบคุม กำกับการประกอบวิชาชีพเวชกรรมทั้งในปัจจุบันและที่จะมีขึ้นในอนาคต
หลักสูตรการศึกษา[แก้]
ปัจจุบันคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม เปิดทำการเรียนการสอนในสาขาวิชา ดังต่อไปนี้
หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (พ.บ.) 6 ปี |
สถาบันร่วมผลิตแพทย์[แก้]
โรงพยาบาลที่ผลิตแพทย์ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม ในระดับชั้นคลินิก มีทั้งสิ้น 1 โรงพยาบาล มีดังนี้
สถาบันร่วมผลิตแพทย์ | จังหวัด | สังกัด |
---|---|---|
โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า
(ศูนย์แพทยศาสตร์ชั้นคลินิกโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า)
|
จังหวัดนนทบุรี | สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข |
ความร่วมมือ[แก้]
โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า[แก้]
เดิมชื่อว่าโรงพยาบาลนนทบุรี สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ตั้งอยู่เลขที่ 91 ถนนนนทบุรี ตำบลบางกระสอ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี มีเนื้อที่ทั้งหมด มีพื้นที่ทั้งหมด 24 ไร่ 1 งาน 2.6 ตารางวา เปิดให้บริการวันที่ 24 มิถุนายน 2500 เป็นโรงพยาบาลประจำจังหวัดในปี พ.ศ. 2532 ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาติให้เปลี่ยนชื่อเป็น “ โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า ” เพื่อเฉลิมพระเกียรติแด่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ที่พระราชชนนี กรมหลวง พระศรีสุลาลัย เป็นชาวจังหวัดนนทบุรี
มูลนิธิคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม[แก้]
วัตถุประสงค์ของมูลนิธินี้ คือ เพื่อให้การสนับสนุนงานด้านการพัฒนาการแพทย์ เพื่อให้การสนับสนุนและส่งเสริมวิจัยแพทยศาสตร์ เพื่อดำเนินการ หรือ ร่วมมือกับองค์กรการกุศล เพื่อการกุศลและองค์การสาธารณประโยชน์ เพื่อสาธารณประโยชน์ ไม่ดำเนินการเกี่ยวข้องกับการเมืองแต่ประการใด