สุวิชช พันธเศรษฐ
สุวิชช พันธเศรษฐ | |
---|---|
รัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 2 กุมภาพันธ์ – 24 มีนาคม พ.ศ. 2489 | |
นายกรัฐมนตรี | ควง อภัยวงศ์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 31 ตุลาคม พ.ศ. 2450 จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 22 สิงหาคม พ.ศ. 2525 (74 ปี) กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ |
สุวิชช พันธเศรษฐ (31 ตุลาคม พ.ศ. 2450 – 22 สิงหาคม พ.ศ. 2525) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ 3 สมัย[1] และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่สอง เป็นผู้ร่วมก่อตั้งพรรคประชาธิปัตย์ อดีตรัฐมนตรี[2][3] เป็นกรรมการในคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ปี พ.ศ. 2491 อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2515 และเป็นพี่ชายของนายทองดี อิสราชีวิน อดีต ส.ส.เชียงใหม่ 6 สมัย และเป็นน้าของนายไกรสร ตันติพงศ์ อดีต ส.ส.เชียงใหม่ 7 สมัย
ประวัติ
[แก้]นายสุวิชช พันธเศรษฐ (ชื่อเดิม เล่งเสียน) เกิดเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2450 ที่จังหวัดเชียงใหม่ สำเร็จการศึกษาวิชากฎหมาย เมื่อ พ.ศ. 2476 เข้ารับราชการสังกัดกระทรวงมหาดไทย ด้วยการสอบแข่งขันคัดเลือกเข้า ดำรงตำแหน่ง หัวหน้าที่ปรึกษาการเทศบาล จังหวัดเชียงใหม่ และรักษาการตำแหน่ง หัวหน้าที่ปรึกษาการเทศบาล จังหวัดลำพูน และจังหวัดแม่ฮ่องสอน ด้วย
แต่ด้วยความสนใจในงานการเมือง ตั้งแต่วันแรกเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดิน เมื่อถึงคราวมีการเลือกตั้งทั่วไปสำหรับสมาชิกสภาชุดที่สอง (ชุดแรกเลือกตั้งโดยผู้แทนตำบล พ.ศ. 2476 ครั้งนั้นเชียงใหม่มีผู้แทนราษฎรได้ 2 คน ผู้ได้รับเลือกตั้งคือ หลวงศรีประกาศ และ พระพินิจธนากร โดยนายสุวิชช ได้คะแนนเป็นอันดับที่ 3 จึงตัดสินใจลาออกจากราชการเข้าสมัครรับเลือกตั้งในจังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. 2480 ได้รับเลือกตั้งเรื่อยมาจนถึงวันรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490
นายสุวิชช เคยร่วมกับหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ในการจัดตั้งพรรคก้าวหน้า ขึ้นในปี พ.ศ. 2488[4][5] และในปี พ.ศ. 2515 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ[6]
ตลอดเวลาที่ทำหน้าที่ทางการเมือง ไม่เคยปล่อยเวลาให้ว่างเว้น ไม่เคยขาดการประชุมเพราะไม่มีอาชีพอย่างอื่นแม้แต่อาชีพทนายความ มีแต่การเขียนบทความการเมืองตลอดเวลา และอภิปรายในสภา และพูดในที่สาธารณะตลอดมาทุกยุคทุกสมัย แม้ในสมัยที่ถูกคุกคามจากฝ่ายตรงข้าม สามารถพ้นจากข้อกล่าวหามาตรา 104 ของประมวลกฎหมายอาญาที่ทุกคนหวาดเกรงกันเป็นอย่างยิ่งในยุคนั้น ถือว่าการทำหน้าที่ทางการเมือง ย่อมจะมีหลักการของตนเองและการมาสู่วงการเมืองก็ควรที่จะมาด้วยใจรักและด้วยการเสียสละ ดังนั้นนายสุวิชชจึงตั้งปณิธานไว้ว่า “ข้าพเจ้าจะเสียสละตนเพื่อพรรค แต่จะเสียสละพรรคเพื่อชาติ” ดังนั้นไม่ว่าข้าพเจ้าจะอยู่ฝ่ายใด ค้านหรือสนับสนุนก็ไม่เว้นที่จะทำการต่อสู้ในสิ่งที่เห็นว่าไม่เป็นธรรมตลอดมาจึงมีศัตรูทางการเมืองเป็นอันมากทั้งเปิดเผยและไม่เปิดเผย เพราะไม่เคยอ่อนข้อแก่คนใดคณะใดที่จะนำความเสื่อมเสียมาสู่บ้านเมืองและประชาชน การแสวงหาผลประโยชน์บนฐานแห่งความพินาศของประเทศชาติและประชาชนแล้วยอมไม่ได้ นายสุวิชชยึดมั่นว่า “ ศัตรูส่วนตัวของข้าพเจ้าไม่มี ผู้ที่เป็นศัตรูของประเทศชาติและประชาชนเป็นศัตรูของข้าพเจ้าด้วย ”
การถูกคุกคามทางการเมือง
[แก้]นายสุวิชช พันธเศรษฐ ถูกคุกคามทางการเมือง ใน พ.ศ. 2490 โดยผู้ร้ายลอบสังหารด้วยปืนกล ณ ถนนนครสวรรค์ แขวงนางเลิ้ง เขตพระนคร ภายหลังที่ได้ร่วมอภิปรายในญัตติเปิดอภิปรายทั่วไปของพรรคฝ่ายค้าน การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลในสภาผู้แทนราษฎร ต่อจากนั้นมาก็ได้หลบไปพักพิงอยู่บ้านของนายถวิล อภัยวงศ์ ที่สวนรื่นฤดี ถนนนครราชสีมาเหนือ จนกระทั่งเกิดรัฐประหาร พ.ศ. 2490 และมีการเลือกตั้งสภาชุดใหม่ ซึ่งไม่อาจเดินทางกลับไปสมัครรับเลือกตั้งในจังหวัดเชียงใหม่ได้ เพราะรู้ตัวดีว่ายังไม่ปลอดภัยจากการมุ่งร้ายตลอดเวลา
หลังจากพ่ายแพ้การเลือกตั้งในพระนครร่วมกับ ดร.โชติ คุ้มพันธ์ ในพระนครแล้ว ก็มิได้ได้มีบทบาททางการเมืองในสภาผู้แทนอีก จนกระทั่งเกิดรัฐประหารเงียบ พ.ศ. 2494 วันที่ 29 พฤศจิกายน โดยมีการนำเอารัฐธรรมนูญฉบับถาวร 10 ธันวาคม 2475 กลับมาใช้อีก นายสุวิชช จึงได้รับการขอร้องจากคณะรัฐประหารชุดใหม่นี้ ให้เข้าไปช่วยเหลือการเมืองเพื่อระบอบประชาธิปไตยของประเทศไทยต่อไป โดยได้รับการแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกประเภทที่สอง พิมพ์หนังสือนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักรออกเผยแพร่ เพราะสหราชอาณาจักรเป็นประเทศที่มีองค์พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเช่นเดียวกับประเทศไทย และได้มีรัฐธรรมนูญที่มิได้ขีดเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรใช้มาแล้วกว่า 700 ปี หลังจากมีการปฏิวัติครั้งที่สองโดยคณะทหาร ซึ่งมี จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นหัวหน้าคณะ เมื่อ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501
ถึงแก่อนิจกรรม
[แก้]สุวิชช เสียชีวิตเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2525[7]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2499 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[8]
- พ.ศ. 2498 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[9]
- พ.ศ. 2484 – เหรียญช่วยราชการเขตภายใน การรบสงครามอินโดจีน (ช.ร.)[10]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๑ ราย)
- ↑ "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 14 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-04. สืบค้นเมื่อ 2018-03-10.
- ↑ "คึกฤทธิ์ ตั้งพรรคก้าวหน้า". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-06-29. สืบค้นเมื่อ 2018-03-10.
- ↑ วินทร์ เลียววาริณ. น้ำเงินแท้. กรุงเทพฯ : 113, 2558. 446 หน้า. ISBN 9786167455303
- ↑ รายชื่ออดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ปี 2515[ลิงก์เสีย]
- ↑ นักการเมืองท้องถิ่นจังหวัดเชียงใหม่. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า. 2551[ลิงก์เสีย]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๔ ตอนที่ ๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๒, ๑๒ มกราคม ๒๕๐๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๒ ตอนที่ ๙๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๒๙, ๒๙ ธันวาคม ๒๔๙๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๙๓๗, ๑๖ กันยายน ๒๔๘๔
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2450
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2525
- สกุลชุติมา
- ข้าราชการพลเรือนชาวไทย
- นักกฎหมายชาวไทย
- นักการเมืองจากจังหวัดเชียงใหม่
- รัฐมนตรีไทยที่ไม่ได้ประจำกระทรวง
- พรรคก้าวหน้า (พ.ศ. 2488)
- นักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์
- พรรคธรรมสังคม
- สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบแต่งตั้ง
- สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- นักการเมืองไทยที่ถูกลอบสังหาร
- ผู้รอดชีวิตจากการลอบสังหาร
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ต.ม.
- บุคคลในประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์