ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จังหวัดหนองบัวลำภู"

พิกัด: 17°12′N 102°26′E / 17.2°N 102.44°E / 17.2; 102.44
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Rremachezschki (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Phonpalakorn (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 71: บรรทัด 71:
ปี พ.ศ. 2321 พระเจ้าศิริบุญสารได้ยกกองทัพมารุกรานพระวอ และปราบพระวอได้ เมื่อพระเจ้ากรุงธนบรีทราบ โปรดสั่งให้เจ้า[[พระยาจักรี]]ยกกองทัพไปมาช่วยพระวอ แล้วยกกองทัพติดตามเข้าโจมตีเมืองเวียงจันทน์จนได้ชัยชนะ และได้นำ[[พระแก้วมรกต]]ซึ่งพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชนำไปจากเมืองเชียงใหม่กลับมาคืนสู่เมืองไทยดังเดิม พระยาจักรีได้รับบำเหน็จความชอบเป็น '''"[[เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก]]"''' กรุงเวียงจันทน์ได้ตกเป็นเมืองขึ้นของไทยในฐานะเมืองประเทศราช และเมือง "นครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน" จึงได้ขึ้นกับราชอาณาจักรไทยตั้งแต่บัดนั้นมาจนถึงปัจจุบัน
ปี พ.ศ. 2321 พระเจ้าศิริบุญสารได้ยกกองทัพมารุกรานพระวอ และปราบพระวอได้ เมื่อพระเจ้ากรุงธนบรีทราบ โปรดสั่งให้เจ้า[[พระยาจักรี]]ยกกองทัพไปมาช่วยพระวอ แล้วยกกองทัพติดตามเข้าโจมตีเมืองเวียงจันทน์จนได้ชัยชนะ และได้นำ[[พระแก้วมรกต]]ซึ่งพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชนำไปจากเมืองเชียงใหม่กลับมาคืนสู่เมืองไทยดังเดิม พระยาจักรีได้รับบำเหน็จความชอบเป็น '''"[[เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก]]"''' กรุงเวียงจันทน์ได้ตกเป็นเมืองขึ้นของไทยในฐานะเมืองประเทศราช และเมือง "นครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน" จึงได้ขึ้นกับราชอาณาจักรไทยตั้งแต่บัดนั้นมาจนถึงปัจจุบัน


=== สมัยรัตนโกสินทร์ ===
=== สมัยรัตนโกสินทร์ ===ปี พ.ศ. 2369 ในรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เจ้าอนุวงษ์แห่งเวียงจันทน์ได้ก่อกบฏ ยกทัพมาบุกยึดเมืองนครราชสีมา<ref>http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว</ref> ทางกรุงเทพได้ส่งกองทัพมาปราบ ฝ่ายเจ้าอนุวงษ์ได้ถอยร่มไปตั้งรับอยู่ที่เมือง"หนองบัวลุ่มภู"ต่อสูรบกันเป็นสามารถ และติดตามจับเจ้าอนุวงษ์ได้ที่เมืองเวียงจันทน์ แล้วนำตัวไปพิจารณาโทษที่กรุงเทพด้วยการทรมานและประจานอยู่หลายวันจนเสียชีวิตในกรงขังปี พ.ศ. 2433 สมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โปรดเกล้าฯให้จัดระเบียบปกครองเมืองทางลุ่มแม่น้ำโขงใหม่ โดยให้ข้าหลวงเมืองหนองคายบังคับบัญชา ช่วงนี้เมืองหนองบัวลำภูขึ้นอยู่กับเมืองหนองคาย ต่อมาได้โปรดเกล้าฯให้แต่งข้าหลวงใหญ่ล้วนเป็นพระเจ้าน้องยาเธอ ประจำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 พระองค์ในปี พ.ศ. 2434 คือ '''[[กรมหลวงพิชิตปรีชากร]]''' เรียกว่า "ข้าหลวงเมืองลาวกาว" เป็นข้าหลวงประทับ ณ เมืองอุบลราชธานี และในปี พ.ศ. 2436 '''[[กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม]]''' เป็นข้าหลวงใหญ่ประทับ ณ เมืองอุดรธานี เรียกว่า "ข้าหลวงเมืองลาวพวน" และ'''[[กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์]]''' เป็นข้าหลวงใหญประทับ ณ เมืองอุบลราชธานี เรียกว่า "ข้าหลวงหัวเมืองลาวกาว" หนองบัวลำภูขึ้นสังกัดกับเมืองลาวพวนและแต่งตั้ง "พระวิชดยดมกมุทเขต" มาครองเมืองนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน ซึ่งมีฐานะเป็นเมืองเอกของมณฑลลาวพวนและเปลี่ยนชือเมืองใหม่ว่า "เมืองกมุทธาไสยบุรีรมย์" และเป็นข้าหลวงคนสุดท้ายของเมืองปี พ.ศ. 2443 รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์เปลี่ยนชือมณฑลฝ่ายเหนือเป็นมณฑลอุดรและรวมผังเมืองต่างๆ ในมณลอุดรเป็น 5 บริเวณ ได้แก่ บริเวณบ้านหมากแข้ง บริเวณธาตุพนม บริเวณสกลนคร บริเวณพาชี บริเวณน้ำเหือง เมืองกมุทธาสัยได้ถูกรวมอยู่ในบริเวณบ้านหมากแข้งประกอบด้วย 7 เมืองคือ เมืองหมากแข้ง หนองคาย หนองหาน กุมภวาปี กมุทธาสัย โพนพิสัย และรัตนวาปี<ref>http://blog.eduzones.com/clip/17914</ref> ตั้งที่ว่าการอยู่ที่บ้านหมากแข้งปี พ.ศ. 2449 ได้โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อเมืองกมุทธาสัยมาเป็น "เมืองหนองบัวลุ่มภูและเพี้ยนเป็นหนองบัวลำภูในปัจจุบัน"ขึ้นกับบริเวณบ้านหมากแข้ง ปี พ.ศ. 2450 ได้โปรดเกล้าฯ ให้กระทรวงมหาดไทยรวมเมืองต่าง ๆ ในบริเวณบ้านหมากแข้งตั้งเป็นเมืองจัตวา เรียกว่า "เมืองอุดรธานี" ส่วนเมืองในสังกัดบริเวณให้มีฐานะเป็นอำเภอ '''เมืองหนองบัวลำภู''' จึงกลายเป็น '''อำเภอหนองบัวลำภู''' และมีอำเภอที่เป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดหนองบัวลำภูในปัจจุบัน โดยจัดตั้งขึ้นตามลำดับ 4 กิ่งอำเภอ คือ1. กิ่งอำเภอโนนสัง เมื่อปี พ.ศ. 24912. กิ่งอำเภอศรีบุญเรือง เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 25083. กิ่งอำเภอนากลาง เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2508 4. กิ่งอำเภอสุวรรณคูหา เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2516ปี พ.ศ. 2536 ประกาศจัดตั้งเป็น '''จังหวัดหนองบัวลำภู''' เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2536 โดยประกาศในหนังสือราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่มที่ 110 ตอนที่ 125 ลงวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2536
ปี พ.ศ. 2369 ในรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เจ้าอนุวงษ์แห่งเวียงจันทน์ได้ก่อกบฏ ยกทัพมาบุกยึดเมืองนครราชสีมา<ref>http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว</ref> ทางกรุงเทพได้ส่งกองทัพมาปราบ ฝ่ายเจ้าอนุวงษ์ได้ถอยร่มไปตั้งรับอยู่ที่เมือง"หนองบัวลุ่มภู"ต่อสูรบกันเป็นสามารถ และติดตามจับเจ้าอนุวงษ์ได้ที่เมืองเวียงจันทน์ แล้วนำตัวไปพิจารณาโทษที่กรุงเทพด้วยการทรมานและประจานอยู่หลายวันจนเสียชีวิตในกรงขังปี พ.ศ. 2433 สมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โปรดเกล้าฯให้จัดระเบียบปกครองเมืองทางลุ่มแม่น้ำโขงใหม่ โดยให้ข้าหลวงเมืองหนองคายบังคับบัญชา ช่วงนี้เมืองหนองบัวลำภูขึ้นอยู่กับเมืองหนองคาย ต่อมาได้โปรดเกล้าฯให้แต่งข้าหลวงใหญ่ล้วนเป็นพระเจ้าน้องยาเธอ ประจำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 พระองค์ในปี พ.ศ. 2434 คือ '''[[กรมหลวงพิชิตปรีชากร]]''' เรียกว่า "ข้าหลวงเมืองลาวกาว" เป็นข้าหลวงประทับ ณ เมืองอุบลราชธานี และในปี พ.ศ. 2436 '''[[กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม]]''' เป็นข้าหลวงใหญ่ประทับ ณ เมืองอุดรธานี เรียกว่า "ข้าหลวงเมืองลาวพวน" และ'''[[กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์]]''' เป็นข้าหลวงใหญประทับ ณ เมืองอุบลราชธานี เรียกว่า "ข้าหลวงหัวเมืองลาวกาว" หนองบัวลำภูขึ้นสังกัดกับเมืองลาวพวนและแต่งตั้ง "พระวิชดยดมกมุทเขต" มาครองเมืองนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน ซึ่งมีฐานะเป็นเมืองเอกของมณฑลลาวพวนและเปลี่ยนชือเมืองใหม่ว่า "เมืองกมุทธาไสยบุรีรมย์" และเป็นข้าหลวงคนสุดท้ายของเมืองปี พ.ศ. 2443 รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์เปลี่ยนชือมณฑลฝ่ายเหนือเป็นมณฑลอุดรและรวมผังเมืองต่างๆ ในมณลอุดรเป็น 5 บริเวณ ได้แก่ บริเวณบ้านหมากแข้ง บริเวณธาตุพนม บริเวณสกลนคร บริเวณพาชี บริเวณน้ำเหือง เมืองกมุทธาสัยได้ถูกรวมอยู่ในบริเวณบ้านหมากแข้งประกอบด้วย 7 เมืองคือ เมืองหมากแข้ง หนองคาย หนองหาน กุมภวาปี กมุทธาสัย โพนพิสัย และรัตนวาปี<ref>http://blog.eduzones.com/clip/17914</ref> ตั้งที่ว่าการอยู่ที่บ้านหมากแข้งปี พ.ศ. 2449 ได้โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อเมืองกมุทธาสัยมาเป็น "เมืองหนองบัวลุ่มภูและเพี้ยนเป็นหนองบัวลำภูในปัจจุบัน"ขึ้นกับบริเวณบ้านหมากแข้ง ปี พ.ศ. 2450 ได้โปรดเกล้าฯ ให้กระทรวงมหาดไทยรวมเมืองต่าง ๆ ในบริเวณบ้านหมากแข้งตั้งเป็นเมืองจัตวา เรียกว่า "เมืองอุดรธานี" ส่วนเมืองในสังกัดบริเวณให้มีฐานะเป็นอำเภอ '''เมืองหนองบัวลำภู''' จึงกลายเป็น '''อำเภอหนองบัวลำภู''' และมีอำเภอที่เป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดหนองบัวลำภูในปัจจุบัน โดยจัดตั้งขึ้นตามลำดับ 4 กิ่งอำเภอ คือ1. กิ่งอำเภอโนนสัง เมื่อปี พ.ศ. 24912. กิ่งอำเภอศรีบุญเรือง เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 25083. กิ่งอำเภอนากลาง เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2508 4. กิ่งอำเภอสุวรรณคูหา เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2516ปี พ.ศ. 2536 ประกาศจัดตั้งเป็น '''จังหวัดหนองบัวลำภู''' เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2536 โดยประกาศในหนังสือราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่มที่ 110 ตอนที่ 125 ลงวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2536


== รายนามผู้ว่าราชการจังหวัด ==
== รายนามผู้ว่าราชการจังหวัด ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:58, 4 สิงหาคม 2559

จังหวัดหนองบัวลำภู
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันChangwat Nong Bua Lam Phu
คำขวัญ: 
ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช อุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ แผ่นดินธรรมหลวงปู่ขาว เด่นสกาวถ้ำเอราวัณ
นครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดหนองบัวลำภูเน้นสีแดงประเทศมาเลเซียประเทศพม่าประเทศลาวประเทศเวียดนามประเทศกัมพูชาจังหวัดนราธิวาสจังหวัดยะลาจังหวัดปัตตานีจังหวัดสงขลาจังหวัดสตูลจังหวัดตรังจังหวัดพัทลุงจังหวัดกระบี่จังหวัดภูเก็ตจังหวัดพังงาจังหวัดนครศรีธรรมราชจังหวัดสุราษฎร์ธานีจังหวัดระนองจังหวัดชุมพรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์จังหวัดเพชรบุรีจังหวัดราชบุรีจังหวัดสมุทรสงครามจังหวัดสมุทรสาครกรุงเทพมหานครจังหวัดสมุทรปราการจังหวัดฉะเชิงเทราจังหวัดชลบุรีจังหวัดระยองจังหวัดจันทบุรีจังหวัดตราดจังหวัดสระแก้วจังหวัดปราจีนบุรีจังหวัดนครนายกจังหวัดปทุมธานีจังหวัดนนทบุรีจังหวัดนครปฐมจังหวัดกาญจนบุรีจังหวัดสุพรรณบุรีจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจังหวัดอ่างทองจังหวัดสิงห์บุรีจังหวัดสระบุรีจังหวัดลพบุรีจังหวัดนครราชสีมาจังหวัดบุรีรัมย์จังหวัดสุรินทร์จังหวัดศรีสะเกษจังหวัดอุบลราชธานีจังหวัดอุทัยธานีจังหวัดชัยนาทจังหวัดอำนาจเจริญจังหวัดยโสธรจังหวัดร้อยเอ็ดจังหวัดมหาสารคามจังหวัดขอนแก่นจังหวัดชัยภูมิจังหวัดเพชรบูรณ์จังหวัดนครสวรรค์จังหวัดพิจิตรจังหวัดกำแพงเพชรจังหวัดตากจังหวัดมุกดาหารจังหวัดกาฬสินธุ์จังหวัดเลยจังหวัดหนองบัวลำภูจังหวัดหนองคายจังหวัดอุดรธานีจังหวัดบึงกาฬจังหวัดสกลนครจังหวัดนครพนมจังหวัดพิษณุโลกจังหวัดอุตรดิตถ์จังหวัดสุโขทัยจังหวัดน่านจังหวัดพะเยาจังหวัดแพร่จังหวัดเชียงรายจังหวัดลำปางจังหวัดลำพูนจังหวัดเชียงใหม่จังหวัดแม่ฮ่องสอน
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดหนองบัวลำภูเน้นสีแดง
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดหนองบัวลำภูเน้นสีแดง
ประเทศ ไทย
การปกครอง
 • ผู้ว่าราชการ พศิน โกมลวิชญ์
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2558)
พื้นที่
 • ทั้งหมด3,859.086 ตร.กม.[1] ตร.กม. (Formatting error: invalid input when rounding ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่อันดับที่ 55
ประชากร
 (พ.ศ. 2557)
 • ทั้งหมด508,864 คน[2] คน
 • อันดับอันดับที่ 53
 • อันดับความหนาแน่นอันดับที่ 32
รหัส ISO 3166TH-39
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
 • ต้นไม้พะยูง
 • ดอกไม้บัวหลวง
ศาลากลางจังหวัด
 • โทรศัพท์0 4231 2916
เว็บไซต์http://www.nongbualamphu.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

จังหวัดหนองบัวลำภู (ภาษาลาว:ໜອງບົວລຳພູ) เป็นจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทย เป็นหนึ่งในสามจังหวัดที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2536 พร้อมกับจังหวัดอำนาจเจริญและจังหวัดสระแก้ว

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด

ดอกบัวหลวง ดอกไม้ประจำจังหวัดหนองบัวลำภู

อาณาเขตติดต่อ

จังหวัดหนองบัวลำภู มีอาณาเขตติดต่อดังนี้

ประวัติศาสตร์

สมัยก่อนประวัติศาสตร์ - สมัยทวารวดี- สมัยขอมหรือเขมร

จังหวัดหนองบัวลำภูเป็นดินแดนที่อยู่อาศัยของมนุษย์ตั้งแต่สมัยก่อนประว้ติศาสตร์ ดังหลักฐานที่ขุดค้นพบ จากแหล่งโบราณคดีกุดกวางสร้อยกุดค้อเมย[3] ขุดพบโครงกระดูกมนุษย์ กำไลสำริด กำไลหิน แม่พิมพ์ทำจากหินทรายสำหรับใช้หล่อหัวขวานสำริด เครื่องมือเหล็ก ลูกปัดแก้ว เป็นต้น อายุประมาณ 2,500 ปี ซึ่งสถานที่ขุดค้นพบอยู่ที่บ้านกุดกวางสร้อยและบ้านกุดค้อเมย อำเภอโนนสัง บริเวณเชิงเขาภูพานด้านทิศตะวันตกและเชิงเขาภูเก้าด้านทิศตะวันออก ซึ่งแหล่งโบราณคดีสองแห่งนี้มีอายุใกล้เคียงกับวัฒนธรรมบ้านเชียง

ประมาณ พ.ศ. 1100 - พ.ศ. 1500 ในพื้นที่จังหวัดหนองบัวลำภูได้ค้นพบวัตถุสมัยทวารวดี เช่น ใบเสมา ที่ภูน้อย วัดพระธาตุเมืองพิณ อำเถอนากลาง และวัดป่าโนนคำวิเวก อำเภอสุวรรรคูหา

ประมาณ พ.ศ. 1500 - พ.ศ. 1700 ในพื้นที่จังหวัดหนองบัวลำภูได้รับวัฒนธรรมขอมหรือเขมร พบโบราณสถานหรือโบราณวัตถุที่เป็นศิปละขอมหรือเขมร เช่น ฐานวิหารศิลาแลง ศิลาจารึกวัดพระธาตุเมืองพิณ และอักษารขอมโบราณที่วัดป่าโนนคำวิเวก อำเภอสุวรรณคูหา

สมัยสุโขทัย

พ.ศ. 1896 - พ.ศ. 1961 ในสมัยสุโขทัย เป็นสมัยอาณาจักรล้านช้างก่อกำเนิดในภาคอีสาน ซึ่งตรงกับรัชสมัยพระเจ้างุ้มฟ้าและพระเจ้าสามแสน[4] พื้นที่ส่วนใหญ่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้รับอิทธิพลและเป็นเขตอาณาจักรล้านช้าง ครอบคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนจนไปถึงแอ่งโคราช และกระจายชุมชนเข้ามาสู่แอ่งสกลนครจนไปถึงบริเวณพระธาตุพนม เลยลงไปถึงแดนเขมรจนปัจจุบันเรียกว่า อีสานใต้ (จากพงศาวดารล้านช้าง) พื้นที่ในจังหวัดหนองบัวลำภูจึงได้รับอิทธิพลล้านช้างซึ่งแพร่หลายในขณะนั้นในบริเวณแอ่งสกลนคร และรับศาสนาพุทธลัทธิลังกาวงศ์ (นิกายเถรวาท) เป็นศาสนาประจำถิ่นตามผู้ปกครองอาณาจักร

สมัยอยุธยา

ประมาณ พ.ศ. 2106 พระไชยเชษฐาธิราชกษัตริย์แห่งกรุงศรีสัตนาคนหุต (กรุงเวียงจันทน์)[5] ได้นำผู้คนอพยพจากหลวงพระบางเและเวียงจันทร์มาอาศัยอยู่ในเขตพื้นที่จังหวัดหนองบัวลำภู ในปีพ.ศ. 2106 หลังจากที่สร้างเมืองเวียงจันทร์ในปีพ.ศ. 2103 และก็อยู่ในระหว่างการสร้างพระธาตุศรีสองรัก ซึ่งภาคอีสานก็อยู่ในเขตอาณาจักรล้านช้าง ดังหลักฐานที่ปรากฏในหลักศิลาจารึกและได้สร้างพระพุทธรูปประดิษฐานไว้ในวัดถ้ำสวรรณคูหา อำเภอสุวรรณคูหา และนำไพร่พลมาบูรณะสร้างบ้านสร้างสาเมืองนครหนองบัวลุ่มภูขึ้นใหม่อีกครั้งที่ริมหนองบัว (หนองซำซ้าง) ซึ่งเป็นเมืองเก่าสมัยขอมเรืองอำนาจ พระไชยเชษฐาธิราชได้สร้างพระพุทธรูป วิหาร และขุดบ่อน้ำในบริเวณวัดศรีคูณเมือง[6] และยกฐานะเป็นเมือง "เวียงจำปานครกาบแก้วบัวบาน" มีฐานะเป็นเมืองหน้าด่านของเมืองเวียงจันทน์ คนทั่วไปนิยมเรียกว่า "หนองบัวลุ่มภู" ซึ้งปัจจุบันเรียกเพี้ยนมาว่าหนองบัวลำภูถือว่าเป็นเมืองเอกล้านช้างตะวันตกของอาณาจักรล้านช้าง

ปี พ.ศ. 2117 ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ในระหว่างที่ไทยเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 1 ให้แก่พม่าสมัยพระเจ้าหงสาวดี[ต้องการอ้างอิง] สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชได้ยกกองทัพช่วยพม่ารบกับกรุงเวียงจันทน์ โดยมีสมเด็จพระนเรศวรตามเสด็จพระราชบิดาช่วยรบ เนื่องจากพระไชยเชษฐาธิราชได้หายสาบสูญไปในระหว่างการรบปราบข่า ที่ลาวใต้ เวียงจันทน์เกิดการแย่งชิงราชสมบัติจึงได้ถือโอกาสเข้าตีกรุงเวียงจันทน์ สมเด็จพระมหาธรรมราชาและสมเด็จพระนเรศวร นำกองทัพเสด็จประทับแรมที่บริเวณหนองบัว เนื่องจากมีทัศนียภาพที่สวยงามและมีแหล่งน้ำเพื่อใช้ในการอุปโภคบริโภคในบริเวณนั้น สมเด็จพระนเรศวรได้ทรงพระประชวรด้วยไข้ทรพิษ พระเจ้าหงสาวดีได้รับข่าวจึงอนุญาตให้สมเด็จพระนเรศวรเดินทางกลับเพื่อรักษาพระองค์

ประมาณปี พ.ศ. 2302 ตรงกับสมัยพระเจ้าเอกทัศน์กษัตริย์องค์สุดท้ายของกรุงศรีอยุธยา พระเจ้าสุวรรณปางคำปาหลัง(เจ้าปางคำ)พร้อมเสนาบดีจากเมืองเชียงรุ่งและพระวอซึ่งมีบรรดาศักดิ์เป็นพระวรราชภักดีและพระตา มีภูมิลำเนาเดิมที่บ้านหินโงม เป็นเสนาบดีของพระเจ้ากรุงเวียงจันทน์ มาตั้งแต่สมัย พระเจ้าอนุวงษ์ไทธิราช เป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ฝ่ายนอกของกษัตริย์กรุงเวียงจันทน์ มีเรื่องขัดใจกับพระเจ้าศิริบุญสารผู้เป็นโอรส พระวอและพระตาได้อพยพไพร่พลข้ามลำน้ำโขงมาตั้งภูมิลำเนา มาบูรณะสร้างบ้านแปลงเมืองที่ "เวียงจำปานครกาบแก้วบัวบาน"ให้เป็นเวียงใหม่เป็นเวียงนครใหญ่ชื่อว่า เวียงใหม่นครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน ซึ่งเป็นเอกเทศราชไม่ขึ้นต่อผู้ใด มีกฏบัญญัติบ้านเมือง มีกษัตริย์ปกครอง มีดินแดนกำแพงคูเมืองล้อมรอบพร้อมประตูเวียง มีแม่น้ำแม่พระเนียงเป็นสายหลัก มีเมืองหน้าด้านของตัวเอง ได้แก่เมืองนาด้วง ภูเวียง ผาขาว พรรณา พร้อมผู้คนและช้างเผือกคู่เวียง

สมัยธนบุรี

ประมาณ พ.ศ. 2310 ตรงกับต้นสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช[7] พระเจ้าศิริบุญสารแห่งเมืองเวียงจันทน์ยกทัพมาตีพระวอพระตาที่เมือง "นครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน" (ชื่อจังหวัดหนองบัวลำภูในสมัยนั้น) ทำการสู้รบกันที่ช่องน้ำจั่น (น้ำตกเฒ่าโต้) บนภูพานคำใช้เวลาอยู่ประมาณ 3 ปี ฝ่ายเวียงจันทน์ขอกำลังจากพม่ามาช่วยรบ จึงสามารถตีเมืองแตกได้ พระตาถูกข้าศึกฆ่าในสนามรบ ส่วนพระวออพยพไพร่พลไปขอพึงบารมีเจ้าเมืองจำปาศักดิ์ ต่อมาได้แยกมาสร้างบ้านแปงเมืองอยู่ที่ดอนมดแดง (ปัจจุบันคือจังหวัดอุบลราชธานี) แล้วขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารของพระเจ้ากรุงธนบุรี

ปี พ.ศ. 2321 พระเจ้าศิริบุญสารได้ยกกองทัพมารุกรานพระวอ และปราบพระวอได้ เมื่อพระเจ้ากรุงธนบรีทราบ โปรดสั่งให้เจ้าพระยาจักรียกกองทัพไปมาช่วยพระวอ แล้วยกกองทัพติดตามเข้าโจมตีเมืองเวียงจันทน์จนได้ชัยชนะ และได้นำพระแก้วมรกตซึ่งพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชนำไปจากเมืองเชียงใหม่กลับมาคืนสู่เมืองไทยดังเดิม พระยาจักรีได้รับบำเหน็จความชอบเป็น "เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก" กรุงเวียงจันทน์ได้ตกเป็นเมืองขึ้นของไทยในฐานะเมืองประเทศราช และเมือง "นครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน" จึงได้ขึ้นกับราชอาณาจักรไทยตั้งแต่บัดนั้นมาจนถึงปัจจุบัน

สมัยรัตนโกสินทร์

ปี พ.ศ. 2369 ในรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เจ้าอนุวงษ์แห่งเวียงจันทน์ได้ก่อกบฏ ยกทัพมาบุกยึดเมืองนครราชสีมา[8] ทางกรุงเทพได้ส่งกองทัพมาปราบ ฝ่ายเจ้าอนุวงษ์ได้ถอยร่มไปตั้งรับอยู่ที่เมือง"หนองบัวลุ่มภู"ต่อสูรบกันเป็นสามารถ และติดตามจับเจ้าอนุวงษ์ได้ที่เมืองเวียงจันทน์ แล้วนำตัวไปพิจารณาโทษที่กรุงเทพด้วยการทรมานและประจานอยู่หลายวันจนเสียชีวิตในกรงขังปี พ.ศ. 2433 สมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โปรดเกล้าฯให้จัดระเบียบปกครองเมืองทางลุ่มแม่น้ำโขงใหม่ โดยให้ข้าหลวงเมืองหนองคายบังคับบัญชา ช่วงนี้เมืองหนองบัวลำภูขึ้นอยู่กับเมืองหนองคาย ต่อมาได้โปรดเกล้าฯให้แต่งข้าหลวงใหญ่ล้วนเป็นพระเจ้าน้องยาเธอ ประจำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 พระองค์ในปี พ.ศ. 2434 คือ กรมหลวงพิชิตปรีชากร เรียกว่า "ข้าหลวงเมืองลาวกาว" เป็นข้าหลวงประทับ ณ เมืองอุบลราชธานี และในปี พ.ศ. 2436 กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม เป็นข้าหลวงใหญ่ประทับ ณ เมืองอุดรธานี เรียกว่า "ข้าหลวงเมืองลาวพวน" และกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ เป็นข้าหลวงใหญประทับ ณ เมืองอุบลราชธานี เรียกว่า "ข้าหลวงหัวเมืองลาวกาว" หนองบัวลำภูขึ้นสังกัดกับเมืองลาวพวนและแต่งตั้ง "พระวิชดยดมกมุทเขต" มาครองเมืองนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน ซึ่งมีฐานะเป็นเมืองเอกของมณฑลลาวพวนและเปลี่ยนชือเมืองใหม่ว่า "เมืองกมุทธาไสยบุรีรมย์" และเป็นข้าหลวงคนสุดท้ายของเมืองปี พ.ศ. 2443 รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์เปลี่ยนชือมณฑลฝ่ายเหนือเป็นมณฑลอุดรและรวมผังเมืองต่างๆ ในมณลอุดรเป็น 5 บริเวณ ได้แก่ บริเวณบ้านหมากแข้ง บริเวณธาตุพนม บริเวณสกลนคร บริเวณพาชี บริเวณน้ำเหือง เมืองกมุทธาสัยได้ถูกรวมอยู่ในบริเวณบ้านหมากแข้งประกอบด้วย 7 เมืองคือ เมืองหมากแข้ง หนองคาย หนองหาน กุมภวาปี กมุทธาสัย โพนพิสัย และรัตนวาปี[9] ตั้งที่ว่าการอยู่ที่บ้านหมากแข้งปี พ.ศ. 2449 ได้โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อเมืองกมุทธาสัยมาเป็น "เมืองหนองบัวลุ่มภูและเพี้ยนเป็นหนองบัวลำภูในปัจจุบัน"ขึ้นกับบริเวณบ้านหมากแข้ง ปี พ.ศ. 2450 ได้โปรดเกล้าฯ ให้กระทรวงมหาดไทยรวมเมืองต่าง ๆ ในบริเวณบ้านหมากแข้งตั้งเป็นเมืองจัตวา เรียกว่า "เมืองอุดรธานี" ส่วนเมืองในสังกัดบริเวณให้มีฐานะเป็นอำเภอ เมืองหนองบัวลำภู จึงกลายเป็น อำเภอหนองบัวลำภู และมีอำเภอที่เป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดหนองบัวลำภูในปัจจุบัน โดยจัดตั้งขึ้นตามลำดับ 4 กิ่งอำเภอ คือ1. กิ่งอำเภอโนนสัง เมื่อปี พ.ศ. 24912. กิ่งอำเภอศรีบุญเรือง เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 25083. กิ่งอำเภอนากลาง เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2508 4. กิ่งอำเภอสุวรรณคูหา เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2516ปี พ.ศ. 2536 ประกาศจัดตั้งเป็น จังหวัดหนองบัวลำภู เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2536 โดยประกาศในหนังสือราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่มที่ 110 ตอนที่ 125 ลงวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2536

รายนามผู้ว่าราชการจังหวัด

รายนามของผู้ว่าราชการจังหวัด
วาระดำรงตำแหน่ง
1. นายประภา ยุวานนท์ 1 ธันวาคม 2536 - วันที่ 30 มิถุนายน 2537
2. นายขวัญชัย วศวงศ์ 1 ตุลาคม 2537 - วันที่ 30 เมษายน 2540
3. นายนิคม บูรณพันธุ์ศรี 1 พฤษภาคม 2540 - วันที่ 16 เมษายน 2541
4. นายนิรัช วัจนะภูมิ 17 เมษายน 2541 - วันที่ 30 กันยายน 2542
5. นายปัญญารัตน์ ปานทอง 1 ตุลาคม 2542 - วันที่ 30 กันยายน 2544
6. นายสุขุมรัฐ สาริบุตร 1 ตุลาคม 2544 - วันที่ 30 กันยายน 2546
7. นายจารึก ปริญญาพล 1 ตุลาคม 2546 - วันที่ 30 กันยายน 2547
8. นายต่อพงษ์ อ่ำพันธุ์ 1 ตุลาคม 2547 - วันที่ 4 มิถุนายน 2549
9. นายไพรัตน์ สกลพันธุ์ 5 มิถุนายน 2549 - วันที่ 30 กันยายน 2550
10. นายเดชา ตันติยวรงค์ 1 ตุลาคม 2550 - 5 พฤษภาคม 2551
11. นายอธิคม สุพรรณพงศ์ 6 พฤษภาคม 2551 - 30 กันยายน 2552
12. นายสมศักดิ์ สุวรรณสุจริต 1 ตุลาคม 2552 - 30 กันยายน 2553
13. นายวินัย บัวประดิษฐ์ 1 ตุลาคม 2553 - 27 พฤศจิกายน 2554
14. นายระพี ผ่องบุพกิจ 28 พฤศจิกายน 2554 - 30 กันยายน 2556
15. นายชยพล ธิติศักดิ์ 1 ตุลาคม 2556 - 1 กุมภาพันธ์ 2558
16. นายอำนวย ตั้งเจริญชัย 1 กุมภาพันธ์ 2558 - 30 กันยายน 2558
17. นายพศิน โกมลวิชญ์ 1 ตุลาคม 2558 - ปัจจุบัน

ลักษณะภูมิประเทศ

จังหวัดหนองบัวลำภู มีพื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ราบสูง บางส่วนเป็นพื้นที่ลูกคลื่นลาดตื้นถึงลาดลึก แล้วลาดลงไปทางทิศใต้ และทิศตะวันออก มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 200 เมตร ทางตอนบนของจังหวัดจะเป็นพื้นที่ภูเขาสูง โดยยอดดอยหรือภูเขาที่สูงที่สุดของจังหวัด ได้แก่ดอยผาเวียง ภูสามยอดโดยสูงเฉลี่ย 900เมตรและเป็นต้นน้ำสายย้อยต่างๆ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นดินปนทรายและลูกรังไม่สามารถเก็บกักน้ำหรืออุ้มน้ำในฤดูแล้ง

ลักษณะภูมิอากาศ

ลักษณะอากาศในจังหวัดหนองบัวลำภู แบ่งออกเป็น 3 ฤดู เช่นเดียวกับจังหวัดอื่น ๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ ฤดูร้อน ฤดูฝน ฤดูหนาว สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไปขึ้นอยู่กับมรสุมที่พัดผ่านประจำปี จัดอยู่ในประเภทภูมิอากาศแบบพื้นเมืองร้อนเฉพาะฤดู กล่าวคือ จะมีฝนตกเฉพาะในฤดูฝน สลับกับช่วงแห้งแล้งในฤดูหนาวและฤดูร้อน

  • ฤดูร้อน อยู่ในระหว่างเดือน มีนาคมถึงเมษายน อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 34 - 36 องศาเซลเซียส
  • ฤดูฝน อยู่ในระหว่างเดือน พฤษภาคมถึงตุลาคม และจะตกมากในเดือน สิงหาคม-กันยายน เนื่องจากอิทธิพลพายุดีเปรสชัน
  • ฤดูหนาว อยู่ในระหว่างเดือน กุมภาพันธ์ อากาศจะหนาวมากในช่วงเดือนธันวาคม– มกราคม โดยมีอุณหภูมิเฉลี่ย 15 - 16 องศาเซลเซียส

ลักษณธภูมิอากาศเป็นแบบสะวันนาคือฤดูฝนสลับกับฤดูแล้งอย่างชัดเจน ปริมาณฝนที่ตกในจังหวัดหนองบัวลำภูโดยเฉลี่ยอยู่ในช่วงระหว่าง 978.3 - 1,348.9 มิลลิเมตรต่อปี อำเภอสุวรรณคูหา มีปริมาณฝนตกโดยเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาได้แก่ อำเภอนากลาง ส่วนพื้นที่ที่มีฝนตกน้อยที่สุด ได้แก่ อำเภอเมือง ซึ่งมีปริมาณโดยเฉลี่ยประมาณ 978.3 มิลลิเมตรต่อปี

ประชากร

กลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ที่อยู่ในจังหวัดหนองบัวลำภูมีชาติพันธุ์ต่างๆ มีดังนี้

  • กลุ่มไท - ลาว อพยพมาจากเวียงจันทน์ ประเทศลาว โดยมีกลุ่มพระวอ - พระตาเป็นเชื้อสายลาวเวียงจันทน์
  • กลุ่มไท - เขมร อพยพมาจาก บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ
  • กลุ่มไท - สยาม อพยพมาจากภาคกลางของประเทศไทย
  • กลุ่มคนจีนและคนญวน อพยพมาเพื่อประกอบอาชีพค้าขาย และได้มีการแต่งงานกับคนในท้องถิ่น เกิดเป็นเชื้อสายจีนและเชื้อสายญวน แต่ยังมีจำนวนน้อย

ประชากรที่อาศัยอยู่ในจังหวัดหนองบัวลำภูสามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ

  1. กลุ่มลาวพุงขาว (ล้านช้างเวียงจันทน์) กลุ่มชนนี้เป็นชนพื้นเมืองเดิมที่อาศัยอยู่บริเวณรอบนอกเมือง และเป็นกลุ่มใหญ่ของจังหวัดหนองบัวลำภู โดยมีสัญลักษณ์การสักลายดำใต้สะเอวลงมาและมีกินหมาก ปัจจุบันกลุ่มชนพื้นเมืองดังกล่าวเป็นคนฟันขาวเนื่องจากนโยบายของรัฐบาลในสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม ห้ามประชาชนทั่วไปกินหมากและสักลายดำ
  2. กลุ่มคนจีน-ญวน ลักษณะเป็นคนผิวขาวเหลือง อพยพมาจากมณฑลกวางตุ้ง ยูนหนาน ในสมัยรัชการที่ 4 ที่มีพระราชดำริให้คนจีนกระจายอยู่ตามหัวเมืองต่างๆ ในภาคอีสาน และภายหลังได้ย้ายเข้ามาอาศัยอยู่ในจังหวัดหนองบัวลำภู
  3. กลุ่มคนไต กลุ่มชนนี้เป็นเผ่าไตหรือไท ซึ่งอพยพเข้ามาในเขตจังหวัดหนองบัวลำภูช่วงสงครามเดียนเบียนฟู (สงครามเวียดนาม - ฝรั่งเศส) ภายหลังสงครามสงบลงกลุ่มคนไตบางส่วนได้เดินทางกลับภูมิลำเนาเดิมและบางส่วนตั้งรกรากอยู่ที่จังหวัดหนองบัวลำภู

ลักษณะเฉพาะถิ่น

จังหวัดหนองบัวลำภูเป็นจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มั่งคั่งด้วยมรดกทางศิลปะและมรดกทางวัฒธรรมที่สั่งสมตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน เช่น การแต่งกายการปั่นหม้อดินเผา ภาษาประจำถิ่น

1. การแต่งกาย

ลักษณะการแต่งกายของชาวจังหวัดหนองบัวลำภูในอดีต

  • ผู้หญิงสวมเสื้อขาวเป็นพื้นเบี่ยงแพร ส่วนผ้าถุงจะเป็นผ้าไหมหมี่ขิด มีหัวซิ่นและตีนซิ่นที่ทอและหูกถึงสามหูก นำมาเย็บติดปะต่อกันเรียกว่า "สามทรวง" มีการทัดดอกไม้สำหรับหญิงสาวผู้เฒ่าผู้แก่แล้วแต่จะใส่อ้ม (ต้นอ้ม ใบมีกลิ่นหอม เมื่อนำใบมาเผาไฟพอลวก ๆ จะมีกลิ่นหอม) ไว้ทรงผมมวยสูงหรือดอกทุ่ม
  • ผู้ชายสวมเสื้อสีดำหรือสีหม้อนิล (สีครามทางเหนือเรียกหม้อฮ้อม) เป็นพื้น ใสผ้าโสร่งไหม มีกางเกงหัวรูดเป็นผ้าชั้นในหรือใส่นุ่งเล่นตามบ้านเรือนทั่วไป

ลักษณะการแต่งกายของชาวจังหัวดหนองบัวลำภูปัจจุบัน

  • ผู้หญิงวัยรุ่น แต่งกายตามสมัยนิยมใส่ เสื้อยืดหรือเสื้อเชิร์ตแขนสั้นและแขนยาว กระโปรงหรือกางเกงขาสั้นหรือขายาว หรือชุดแซก มีเครื่องประดับต่างๆ เช่น สร้อยคอ แหวน ต่างหู กำไลแขน ฯลฯ นิยมใส่รองเท้าหุ้มส้นเมื่อร่วมกิจกรรมนอกบ้าน ใส่รองเท้ามีส้นเมื่อร่วมกิจกรรมรื่นเริงและสังสรรค์
  • ผู้หญิงสูงวัย แต่งกายด้วยเสื้อลายปักต่างๆ ทั้งแขนสั้นและแขนยาว หรือเสื้อเชิร์ตแขนสั้นและแขนยาว ใส่ผ้าซิ่นลายต่างๆ ของท้องถิ่น หรือกางเกงขายาวพื้นสีดำทั้งขาสั้นและแขนยาว
  • ผู้ชายวัยรุ่น แต่งกายด้วยเสื้อยืดหรือเสื้อเชิร์ตแขนสั้นและแขนยาว ใส่กางเกงขาสั้นหรือขายาว กางเกงยืนหรือกางเกงสแล็ค
  • ผู้ชายสูงวัย แต่งกายด้วยเสื้อยืดหรือเสื้อเชิร์ตแขนสั้นและแขนยาว ใส่โสร่ง ผ้าขาวม้า ใส่กางเกงขาสั้นหรือขายาว กางเกงยืนหรือกางเกงสแล็ค

2. เครื่องปั้นดินเผา

เครื่องปั้นดินเผา คือ เอาดินเหนียวมาตีและปั้นเครื่องใช้ต่างๆ ในชีวิตประจำวันและนำไปใช้ในการประกอบพิธีกรรมด้วย จังหวัดหนองบัวลำภูมีมรดกทางวัฒนธรรมเครื่องปั้นดินเผามาตั้งแต่ก่อนยุคประวัติศาสตร์ประมาณ 3,500 - 4,000 ปีล่วงมาแล้ว จากการขุดค้นโดยชาวบ้านก่อนพุทธศักราช 2514 กรมศิลปกรขุดค้นเพื่อการศึกษาในพุทธศักราช 2538 ที่ป่าพร้าว บ้านกุดคำเมย ตำบลกุดดู่ และบ้านโนนกล้วย (ดอนกลาง) บ้านกุดกวางสร้อย อำเภอโนนสัง ปัจจุบันการปั้นดินเผามีอยู่ที่บ้านโค้งสวรรค์ ตำบลโนนทัน อำเภอเมืองหนองบัวลำภู เครื่องปั้นดินเผาดังกล่าวจะทำเพื่อใช้ในชีวิตประจำวันมากกว่าที่จะใช้ประกอบพิธีกรรม

หน่วยการปกครอง

การปกครองแบ่งออกเป็น 6 อำเภอ 59 ตำบล 636 หมู่บ้าน

  1. อำเภอเมืองหนองบัวลำภู
  2. อำเภอนากลาง
  3. อำเภอโนนสัง
  4. อำเภอศรีบุญเรือง
  5. อำเภอสุวรรณคูหา
  6. อำเภอนาวัง
แผนที่

ประชากรในจังหวัด

      หมายถึงจำนวนประชากรได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน
      หมายถึงจำนวนประชากรได้ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน
อันดับ
(ปีล่าสุด)
อำเภอ พ.ศ. 2557[10] พ.ศ. 2556[11] พ.ศ. 2555[12] พ.ศ. 2554[13] พ.ศ. 2553[14] พ.ศ. 2552[15] พ.ศ. 2551[16]
1 เมืองหนองบัวลำภู 135,030 134,457 133,761 133,063 132,901 132,282 131,794
2 ศรีบุญเรือง 110,785 110,309 109,836 109,208 109,771 109,385 109,156
3 นากลาง 92,321 91,982 91,468 91,095 90,974 90,568 90,346
4 สุวรรณคูหา 68,234 68,132 67,995 67,685 67,559 67,247 67,799
5 โนนสัง 65,065 64,823 64,699 64,318 64,459 64,404 64,294
6 นาวัง 37,429 37,434 37,312 37,182 37,204 37,027 36,952
รวม 508,864 507,137 505,071 502,551 502,868 500,913 499,520

การคมนาคม

ระยะทางจากอำเภอเมืองไปยังอำเภอใกล้เคียง

ระยะทางจากจังหวัดหนองบัวลำภูไปยังจังหวัดใกล้เคียง

การเดินทาง

รถยนต์ จากกรุงเทพฯ ไปตามทางหลวงหมายเลข 1 (พหลโยธิน) ถึงจังหวัดสระบุรี บริเวณกิโลเมตรที่ 107 แยกเข้าทาง หลวงหมายเลข 2 (มิตรภาพ) ผ่านจังหวัดนครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี แล้วเลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวง หมายเลข 210 ผ่านอำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี ถึงจังหวัดหนองบัวลำภู รวมระยะทาง 608 กิโลเมตร หรือ เมื่อถึงจังหวัดขอนแก่นแล้วเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 2109 (น้ำพอง-เขื่อนอุบลรัตน์) เข้าอำเภอโนนสังถึง จังหวัดหนองบัวลำภู รวมระยะทางประมาณ 559 กิโลเมตร รถโดยสาร มีรถโดยสารธรรมดาและรถโดยสารปรับอากาศของบริษัท ขนส่ง จำกัด และของเอกชน สายกรุงเทพฯ-หนองบัวลำภู ออกจากสถานีขนส่งหมอชิต 2 ทุกวัน วันละหลายเที่ยว ใช้เวลาเดินทางประมาณ 8 ชั่วโมง

เส้นทางรถโดยสารที่มีในจังหวัดหหนองบัวลำภู

เส้นทางรถโดยสารในจังหวัด

รถสองแถว
  • หนองบัวลำภู - นากลาง - นาวัง
  • หนองบัวลำภู - โนนสัง
  • หนองบัวลำภู - ศรีบุญเรือง
  • หนองบัวลำภู - สุวรรณคูหา
  • หนองบัวลำภู - ภูพระ
  • หนองบัวลำภู - ทรายมูล
  • หนองบัวลำภู - ทุ่งโปร่ง
  • หนองบัวลำภู - กุดจิก
  • โนนสมบูรณ์ - บ้านขาม

เส้นทางรถโดยสารระหว่างจังหวัด

รถโดยสารสายอุดรธานี - เชียงใหม่
  • หนองบัวลำภู - ท่าบ่อ - หนองคาย
  • หนองบัวลำภู - บ้านผือ - สังคม
  • หนองบัวลำภู - ภูเวียง - ขอนแก่น
  • หนองบัวลำภู - อุบลรัตน์ - ขอนแก่น
  • อุดรธานี - หนองบัวลำภู - เลย
  • อุดรธานี - หนองบัวลำภู - ชุมแพ
  • หนองคาย - หนองบัวลำภู - ชัยภูมิ
  • อุดรธานี - หนองบัวลำภู - พิษณุโลก
  • อุดรธานี - หนองบัวลำภู - เชียงใหม่
  • นครพนม - หนองบัวลำภู - เชียงราย

สถานที่ท่องเที่ยว

สถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ

ไฟล์:หนองบัวลำภู.jpg
ภาพถ่ายเมืองหนองบัวลำภูจากภูพานน้อย
ไฟล์:อช.ภูเก้าภูพานคำ.JPG
อุทยานแห่งชาติภูเก้า - ภูพานคำ

สถานที่ท่องเที่ยวทางศิลปะและวัฒนธรรม

ภาพเขียนสีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่แหล่งโบราณคดีภูผายา
  • หมู่บ้านหัตถกรรมปั้นหม้อบ้านโค้งสวรรค์
  • หมู่บ้านหัตถกรรมจักสานกระติบข้าวต้นคล้า
  • ศูนย์พัฒนาอาชีพวัดสว่างศิลา
  • กลุ่มทอผ้าไหมบ้านกุดแห่
  • แหล่งโบราณคดีภูผายา
  • แหล่งโบราณคดีบ้านกุดกวางสร้งและกุดค้อเมย

สถานที่ท่องเที่ยวทางศาสนาและความเชื่อ

ถ้ำเอราวัณถ่ายจากมุมสูง
  • วัดถ้ำกลองเพล
    • พิพิธภัณฑ์อัฐบริขารของหลวงปู่ขาว
    • กุฏิเก่าของหลวงปู่ขาว
    • พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งหลวงปู่ขาว
    • เจดีย์หลวงปู่ขาว
    • มณฑปหลวงปู่ขาว
  • ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
  • ศาลพระวอ - พระตา
  • พิพิธภัณฑ์หลวงปู่หลอด ปโมทิตะเจดีย์
  • วัดศรีคูณเมือง
  • วัดพระพุทธบาทภูเก้า
  • วัดป่าภูน้อย รอยพระพุทธบาทและเสมาหิน
  • สิมไม้ (โบสถ์ไม้) วัดเจริญทรงธรรม
  • โนนวัดป่า
  • วัดถ้ำผาเวียง
  • พระธาตุเมีองพิณ
  • พระธาตุหาญเทาว์

เทศกาลและงานประเพณี

การประกวดธิดากาชาดเมืองหนองบัวลำภู
ขบวนนางรำในประเพณีบุณบั้งไฟ อำเภอศรีบุญเรือง

อำเภอเมืองหนองบัวลำภู

  • งานบวงสรวงสมเด็จพระนเรศวรมหาราชกาชาดหนองบัวลำภู (จัดเป็นประจำทุกปี ระหว่างวันที่ 18 - 27 มกราคม ณ ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช สนามนเรศวรมหาราช)
  • เทศกาลน้ำตกเฒ่าโต้ (จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีช่วงเดือนกันยายน บริเวณวนอุทยานเฒ่าโต้)
  • เทศกาลเที่ยวหอยหิน กินลำไย ไหว้หลวงปู่ขาว (จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีช่วงเดือนสิงหาคม บริเวณชุมชนบ้านห้วยเดื่อ ตำบลโนนทัน)

อำเภอนากลาง

  • งานวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวามหาราช (สนามหน้าศูนย์ราชการอำเภอนากลาง)
  • งานตักบาตรเทโว ที่ภูแปก วัดป่าธารน้ำทิพย์ (ซำไฮ) บ้านสนามชัย ต.กุดแห่

อำเภอโนนสัง

  • เทศกาลกินปลา (จัดขึ้นทุกปีบริเวณเทศบาลโนนสัง)
  • ประเพณีแข่งเรือยาว (จัดขึ้นทุกปีบริเวณเขื่อนอุบลรัตน์)
  • ประเพณีบุญผะเหวด (จัดขึ้นทุกปีบริเวณเทศบาลโนนสัง)

อำเภอศรีบุญเรือง

  • งานบุญบั้งไฟ (จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ช่วงเดือนพฤษภาคมหรือมิถุนายน บริเวณศูนย์ราชการอำเภอศรีบุญเรือง)

อำเภอสุวรรณคูหา

  • งานบุญข้าวจี่ยักษ์ (จัดขึ้นทุกปีช่วงเดือนกุมภาพันธ์หรือเดือนมีนาคม บริเวณเทศบาลตำบลสุวรรณคูหาและถ้ำสุวรรณคูหา)

อำเภอนาวัง

  • งานเทศกาลขึ้นเขาไหว้พระถ้ำเอราวัณ (จัดเป็นประจำทุกปี ระหว่างวันที่ 12 - 16 เมษายน บริเวณถ้ำเอราวัณ)

การศึกษา

สถาบันอุดมศึกษา

สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ

สถาบันอุดมศึกษาเอกชน

การสาธารณสุข

โรงพยาบาลหนองบัวลำภู
  • โรงพยาบาลหนองบัวลำภู
  • โรงพยาบาลศรีบุญเรือง
  • โรงพยาบาลนากลาง
  • โรงพยาบาลนาวัง
  • โรงพยาบาลสุวรรณคูหา
  • โรงพยาบาลโนนสัง
  • โรงพยาบาลวีระพลการแพทย์ (เอกชน)

ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น

อำเภอเมือง

ข้างฮาง ผลิตภัณฑ์จากข้าวไทย
  • ผ้าไหมมัดหมี่ ตำบลโนนทัน
  • ผ้าไหมมัดหมี่ ตำบลนาคำไฮ
  • ผ้าฝ้ายลายฉลุ ตำบลป่าไม้งาม
  • ผ้าสไป ตำบลหนองสวรรค์
  • ขนมทองม้วนสมุนไพร ตำบลบ้านขาม
  • ผลิตภัณฑ์จากกะลามะพร้าว ตำบลหัวนา
  • ข้าวกล้อง ตำบลหนองภัยศูนย์

อำเภอโนนสัง

  • ปลาส้ม ตำบลโนนสัง
  • ศิลปะจากใบลาน ตำบลบ้านค้อ
  • ผ้าขิดยกดอก/ปลาส้ม ตำบลโคกม่วง
  • ผ้าฝ้ายยกดอก ตำบลหนองเรือ
  • ผ้าขิดย้อมคราม/ผ้าขิดหมักโคลน ตำบลโนนเมือง
  • ผ้าลายขิด ตำบลกุดดู่

อำเภอศรีบุญเรือง

  • น้ำผึ้งแท้สุวรรณฟาร์ม/กระติ๊บข้าว ตำบลหนองบัวใต้
  • เสื้อเย็บด้วยมือ ตำบลเมืองใหม่
  • ผ้าไหมมัดหมี่ ตำบลโนนม่วง
  • กระติ๊บข้าว ตำบลทรายทอง
  • ผ้าลายสายฝน ตำบลหนองแก

อำเภอนากลาง

  • ผ้าขิดไหม ตำบลกุดแห่
  • นาฬิกา 12 ราศี/ข้าวฮาง ตำบลฝั่งแดง
  • ผ้าหุ่มสำลี ตำบลกุดดินจี่
  • เอ็นวัวทอดกรอบ ตำบลโนนเมือง

อำเภอสุวรรณคูหา

  • ผลิตภัณฑ์จากใยบวบ ตำบลนาดี
  • ผ้าฝ้ายลายน้ำไหล ตำบลนาสี
  • ผ้าฝ้ายทอมือ ตำบลนาด่าน

อำเภอนาวัง

  • ถ่านอัดแท่ง ตำบลวังปลาป้อม
  • ผ้าลายสายฝน ตำบลเทพคีรี
  • ผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่ไทยนิยม ตำบลวังทอง
  • ผักปลอดสารพิษ ตำบลวังทอง

ชาวหนองบัวลำภูที่มีชื่อเสียง

อ้างอิง

  1. ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
  2. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_57.pdf 2558. สืบค้น 1 มีนาคม 2558.
  3. http://www.thai-tour.com/thai-tour/northeast/nongbualampoo/data/place/souce-archaeology.html
  4. http://www.baanjomyut.com/library/laos/index.html
  5. http://www.laos-discovery.com/chetthahis.html
  6. http://nbp.onab.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=116&Itemid=148
  7. http://www.wangdermpalace.org/kingtaksin/thai_thegreat.html
  8. http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
  9. http://blog.eduzones.com/clip/17914
  10. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_57.pdf 2558. สืบค้น 1 มีนาคม 2558.
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเนกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่างๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๖, เล่ม ๑๓๑, ตอน ๔๑ ง , ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๗, หน้า ๑
  12. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat55.html 2555. สืบค้น 3 เมษายน 2556.
  13. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat54.html 2555. สืบค้น 6 เมษายน 2555.
  14. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/stat/y_stat53.html 2553. สืบค้น 30 มกราคม 2554.
  15. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552."203.113.86.149/stat/y_stat.htmlสืบค้น 30 มีนาคม 2553
  16. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/stat/y_stat51.html 2552. สืบค้น 30 มกราคม 2552.

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

17°12′N 102°26′E / 17.2°N 102.44°E / 17.2; 102.44