ธันวา ราศีธนู
ธันวา ราศีธนู | |
---|---|
![]() | |
ข้อมูลพื้นฐาน | |
ชื่อเกิด | ธันวา กวีศิลปะ[1] |
เกิด | 9 ธันวาคม พ.ศ. 2513 อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู |
เสียชีวิต | 7 กันยายน พ.ศ. 2564 (50 ปี) โรงพยาบาลสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ ประเทศไทย |
แนวเพลง | เพลงลูกทุ่ง · เพื่อชีวิต · ร็อก |
อาชีพ | นักร้อง · นักดนตรี · นักแต่งเพลง |
ช่วงปี | พ.ศ. 2544–2564 |
ค่ายเพลง | ไลท์มีเดียบางกอก อาร์สยาม คาวาบูม มิวสิค |
ธันวา กวีศิลปะ เป็นที่รู้จักในชื่อ ธันวา ราศีธนู (9 ธันวาคม พ.ศ. 2513 – 7 กันยายน พ.ศ. 2564) เป็นนักร้องลูกทุ่งและเพื่อชีวิตชายชาวไทย และเป็นศิลปินในสังกัดอาร์สยาม มีผลงานเป็นที่รู้จัก เช่น "ไก่ตาฟาง", "กิ้งก่าทอง", "กบเฒ่า" และ "11 ร.ด." เป็นต้น
ประวัติ[แก้]
ธันวาเกิดเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2513[2] ที่อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดอุดรธานี (ปัจจุบันขึ้นกับจังหวัดหนองบัวลำภู)[2] เขาเป็นคนสุดท้องจากพี่น้องทั้งหมด 3 คน มารดาเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง เป็นเหตุให้เขาจบการศึกษาแค่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และไม่มีโอกาสได้ศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นไป เขาจึงไปทำงานเป็นเด็กท้ายรถสายศรีบุญเรือง - ขอนแก่น เป็นเวลา 2 ปี[2] ต่อมาบิดามีภรรยาใหม่ เขาและพี่น้องได้ย้ายไปอาศัยอยู่จังหวัดเพชรบูรณ์ตามบิดา แต่เขาไม่สามารถเข้ากับครอบครัวใหม่ของบิดาได้ เขาจึงตัดสินใจเข้าสู่กรุงเทพมหานครเพื่อสู้ชีวิตและเดินตามความฝัน[2] เขาไปทำงานเป็นลูกจ้างทั่วไป จนกระทั่งเขาได้พบกับเพื่อนเก่าที่เคยเป็นนักดนตรี เขาและเพื่อนจึงร่วมก่อตั้งวงทานตะวันขึ้นมา เมื่อเวลาผ่านไป สมาชิกวงต่างแยกย้ายกันไป ส่วนเขานั้นยังคงเดินตามฝันในฐานะอาชีพนักร้องและนักดนตรี[2]
วงการบันเทิง[แก้]
เขาออกผลงานสตูดิโออัลบั้มถึง 3 ชุด โดยใน พ.ศ. 2544 เขาได้ออกอัลบั้มชุด แผ่ราศี มีเพลง หัวอกแม่ ที่บอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับมารดาของเขา หลังจากนั้นใน พ.ศ. 2545 เขาได้ออกอัลบั้ม นักสู้ของแม่ และ พ.ศ. 2547 ได้ออกอัลบั้ม วันที่ฉันรอ จัดจำหน่ายโดยไลท์มีเดียบางกอก
พ.ศ. 2549 เขาประสบความสำเร็จจากผลงานเพลง ไก่ตาฟาง[3] โดยได้รับความนิยมจากทางภาคใต้มาก่อน จนกระทั่งสถานีวิทยุลูกทุ่งมหานครได้เปิดเพลงดังกล่าว[4] ทำให้เพลงของเขาเป็นที่รู้จักไปทั่วประเทศรวมถึงประเทศเพื่อนบ้าน[2][5]
ต่อมาเขาได้เป็นศิลปินสังกัดอาร์สยาม มีผลงานเพลงเป็นที่รู้จักเป็นจำนวนมาก อาทิ กิ้งก่าทอง, ฉันไม่ใช่ยกทรง, ลาโง่, กบเฒ่า, ปลาไหล, 11 ร.ด., ควาย เป็นต้น[2][5] นอกจากนี้ เขาได้ร่วมมือกับพี่สาวเปิดธุรกิจเย็นตาโฟที่จังหวัดปทุมธานีเมื่อ พ.ศ. 2560[6][7]
การเสียชีวิต[แก้]
ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2564 เขาติดเชื้อโรคโควิด-19 และเสียชีวิตในวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2564 เวลา 23:00 น. ที่ โรงพยาบาลคามิลเลียน กรุงเทพมหานคร สิริอายุได้ 50 ปี[8][9][5] โดยการเสียชีวิตของเขานั้นมีคนในวงการรวมถึงแฟนเพลงร่วมแสดงความอาลัยเป็นจำนวนมาก เช่น บ่าววี[10][11], ภัควรรธน์ ลีละเมฆินทร์[11] มีพิธีฌาปนกิจศพในวันเดียวกันที่วัดท่าซุงทักษินาราม อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา[12][13]
ผลงานเพลง[แก้]
สตูดิโออัลบั้ม[แก้]
ผลงานภายใต้ไลท์มีเดียบางกอก[แก้]
- แผ่ราศี (2544)
- นักสู้ของแม่ (2545)
- วันที่ฉันรอ (2546)
- ตำนานนักสู้ (2549)
- แรงใจจากแม่ (2550)
- สายเลือดนักสู้ (2551)
- ก้าวสู่จุดหมาย (2551)
- โง่จนตาฟาง (2552)
ผลงานภายใต้อาร์สยาม[แก้]
- กิ้งก่าทอง (2552)
- กบเฒ่า (2553)
- ดับเบิ้ลฮิต ธันวา & หญิง (2554)
- โจรปล้นใจ (2554)
- Best Collection (2554)
- ที่สุดของ…ธันวา ราศีธนู (2555)
- เบญจรงค์ (2555)
- นางฟ้าหรือซาตาน (2556)
- ฮิตแสบสัน (2557)
- เพลงเหยียบหัวใจ (2557)
- อีสานตลาดแตก 3 (2557)
อัลบั้มพิเศษ[แก้]
- กองไฟในสายฝน (2545)
อัลบั้มร่วมกับศิลปินคนอื่น[แก้]
- ฮิตมหานคร 4 (2552)
- จัมโบ้ฮิต 2010 (2553)
- เพลงฮิตมหานคร (2553)
- รวมเพลงเพื่อชีวิต สุดฮิต อาร์สยาม (2553)
- รวมพลคนเพื่อชีวิต (2553)
- มหาชนคนแรง (2553)
- ชมรมคนอกหัก (2553)
- ฮิตมหานคร 5 (2553)
- ดัง...พลุแตก (2553)
- ฮิตมหานคร (2553)
- New Hits (2553)
- สบายดี TV (2553)
- จัมโบ้ แดนซ์ (2553)
- ฮิตมหานคร 6 (2554)
- สุดซึ้ง สุดฮิต 2 (2554)
- รางวัลแห่งสยาม (2554)
- แดนซ์สุดฤทธิ์ ฮิตสุดเดช (2554)
- หนี่งในสยาม Best of อาร์ สยาม (2554)
- เพื่อชีวิตฮิตอันดับ 1 (2554)
- ดัง...พลุแตก 2 (2554)
- สบายดี TV 2 (2554)
- รักสามเส้า 2 (2554)
- 4 เสือเพื่อชีวิต (2555)
- Best of 10 years (2555)
- ตำนานรัก ตำนานชีวิต (2555)
- รวมพลคนเพื่อชีวิต 2 (2555)
- อาร์ สยาม ปาร์ตี้ (2555)
- จัมโบ้ฮิต 2012 (2555)
- สบายดี TV 3 (2555)
- แรงใจรักจริง (2556)
- ลมฝนคนเหงา (2556)
- เพลงใหม่แรงจัด 4 (2557)
- ซูเปอร์มิกซ์ ซูเปอร์มันส์ (2557)
- Jumbo Hit 12 ปี ลูกทุ่งเพื่อชีวิต (2557)
- ดุเด็ดเผ็ดชู้ (2558)
- ร้องไห้หนักมาก (2558)
- สามช่า ปะทะ รีมิกซ์ (2558)
- ฟินฟิน เลิฟ (2558)
- ผู้ชายแรงจัด (2558)
- สุดยอด อาร์ สยาม (2558)
เพลงพิเศษ[แก้]
- พ่อฉันชื่อ พ่อภูมิพล (2559)
ศิลปินรับเชิญ[แก้]
- สหายใจเรา ในอัลบั้ม หาใจไม่เจอ ของ สุริยา ช้างเผือก (2552)
คอนเสิร์ต[แก้]
- คอนเสิร์ต ลูกทุ่งเฟสติวัล ครั้งที่ 1 (8 ตุลาคม 2554)
- คอนเสิร์ต ลูกทุ่งเฟสติวัล ครั้งที่ 2 (27 ตุลาคม 2555)
- คอนเสิร์ต สบายดี เรดิโอ แฟนคลับ ครั้งที่ 3 (31 มีนาคม 2556)
- คอนเสิร์ต ลูกทุ่งเฟสติวัล ครั้งที่ 3 (26-27 ตุลาคม 2556)
- คอนเสิร์ต ลูกทุ่งเฟสติวัล ครั้งที่ 4 (20-21 ธันวาคม 2557)
- มหกรรมคอนเสิร์ตสินค้า และของดีท่าลาน ครั้งที่ 2 (9 เมษายน 2559)
รางวัล[แก้]
มหานครอวอร์ดส[แก้]
- ครั้งที่ 5 ประจำปี 2551 สาขา รางวัลอัลบั้มเพลงเพื่อชีวิตยอดนิยม อัลบั้ม สายเลือดนักสู้
- ครั้งที่ 7 ประจำปี 2553 สาขา เพลงเพื่อชีวิตยอดนิยมได้แก่ อัลบั้ม กบเฒ่า
- ครั้งที่ 13 ประจำปี 2559 สาขาประเภทคู่หรือกลุ่มยอดนิยมได้แก่ ธันวา ราศีธนู และ ศิรินภา นิยากร สังกัดกาว่าบูม เรคคอร์ด
สยามดารา สตาร์ส ปาร์ตี้[แก้]
- 2551 สาขา นักร้องลูกทุ่งยอดนิยมชาย
- 2551 สาขา เพลงฮิตโดนใจ โดยเพลง ไก่ตาฟาง
ดาราเดลี่ เดอะ เกรท อวอร์ดส์[แก้]
- ครั้งที่ 2 ประจำปี 2555 สาขา นักร้องลูกทุ่งชายที่สุดแห่งปี 2012 โดยเพลง 11 ร.ด.
- ครั้งที่ 3 ประจำปี 2556 สาขา นักร้องลูกทุ่งชายที่สุดแห่งปี 2013 โดยเพลง นางฟ้าหรือซาตาน
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "ชีวิตไม่ง่าย! เปิดประวัติ 'ธันวา ราศีธนู' เจ้าของเพลงฮิต 'ไก่ตาฟาง' ก่อนติดโควิดเสียชีวิต". ข่าวสด. 8 กันยายน 2564. สืบค้นเมื่อ 14 กันยายน 2564.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 เปิดประวัติ ธันวา ราศีธนู นักร้องลูกทุ่งชื่อดัง เจ้าของสร้างชื่อ ไก่ตาฟาง
- ↑ เปิดประวัติ “ธันวา ราศีธนู” นักร้องสู้ชีวิต ทำเพลง “ไก่ตาฟาง”พลิกโด่งดังชั่วข้ามคืน
- ↑ กว่าจะมีวันนี้ "ธันวา ศรีธนู" คนดังที่จากไปเพราะโควิด
- ↑ 5.0 5.1 5.2 สิ้น ‘ธันวา ราศีธนู’ เจ้าของบทเพลงไก่ตาฟาง ติดโควิด-19 เสียชีวิตในวัย 51 ปี
- ↑ เปิดสูตร เด็ด เย็นตาโฟ ‘ ธันวา ราศีธนู’ เล็งขยายแฟรนไชส์ขึ้นห้าง
- ↑ ลูกทุ่งเพื่อชีวิต “ธันวา” หันมาขายเย็นตาโฟ
- ↑ ด่วน นักร้องดัง ธันวา ราศีธนู ติดโควิดเสียชีวิต
- ↑ ช็อกวงการ “ธันวา ราศีธนู” เจ้าของเพลงดัง “ไก่ตาฟาง” เสียชีวิตด้วยโรคโควิด-19!
- ↑ บ่าววี กล่าวคำอำลา ธันวา ราศีธนู ครั้งสุดท้าย ยกเป็น ต้นแบบนักร้องยุคเพลงใต้ดิน
- ↑ 11.0 11.1 สุดเศร้าอาลัย ธันวา ราศีธนู เจ้าของเพลงดัง ไก่ตาฟาง เสียชีวิตแล้ว
- ↑ ประมวลภาพพิธีฌาปนกิจ "ธันวา ราศีธนู" หลังเสียชีวิตจากโควิด-19
- ↑ พิธีฌาปนกิจ “ธันวา ราศีธนู” ครอบครัว คนสนิท ร่วมส่งครั้งสุดท้าย
![]() |
บทความเกี่ยวกับเพลง ดนตรี หรือ เครื่องดนตรีนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:ดนตรี |