มหาเถรสมาคม
The Sangha Supreme Council of Thailand | |
ตราธรรมจักร | |
ภาพรวมหน่วยงาน | |
---|---|
ก่อตั้ง | พ.ศ. 2505[1] |
เขตอำนาจ | ทั่วราชอาณาจักร |
สำนักงานใหญ่ | อาคารสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ พุทธมณฑล ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170 |
บุคลากร | 300,000 รูป (จำนวนพระสงฆ์ในประเทศไทยโดยประมาณ) |
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน |
|
ลูกสังกัด | |
เว็บไซต์ | www |
มหาเถรสมาคม (อังกฤษ: The Sangha Supreme Council of Thailand) เป็นองค์กรสูงสุดในการปกครองคณะสงฆ์ไทยตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ทำหน้าที่คล้ายกับคณะรัฐมนตรี โดยมีสมเด็จพระสังฆราชหรือผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชเป็นประธานกรรมการโดยตำแหน่ง และกรรมการอื่นอีกไม่เกิน 20 รูปซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจากสมเด็จพระราชาคณะ พระราชาคณะ หรือภิกษุซึ่งมีพรรษาอันสมควรและมีจริยวัตรในพระธรรมวินัยที่เหมาะสมแก่การปกครองคณะสงฆ์
ประวัติ
[แก้]การจัดตั้งมหาเถรสมาคมครั้งแรก
[แก้]มหาเถรสมาคมเป็นถ้อยคำที่ใช้ครั้งแรกใน พระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ (ร.ศ. 121) อันตราขึ้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว[3] คำว่า "เถระ" หมายถึง "พระผู้ใหญ่, ตามพระวินัยกำหนดว่า พระมีพรรษาตั้งแต่สิบขึ้นไป เรียกว่า พระเถระ"[4] โดยตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ (ร.ศ. 121) มาตรา 4 ให้เรียกสมเด็จเจ้าคณะใหญ่ และพระสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่ตำแหน่งต่าง ๆ ว่า "มหาเถระ" และมหาเถระเหล่านี้จะประชุมกันเพื่อถวายความเห็นแก่พระมหากษัตริย์ในเรื่องพุทธศาสนาตามที่ทรงปรึกษา ที่ประชุมนี้เรียกว่า "มหาเถรสมาคม" โดยต้องมีมหาเถระอย่างน้อยห้ารูปมาประชุม จึงจะเป็นองค์ประชุม[5] พระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ (ร.ศ. 121) ไม่ได้ใช้บังคับทันที แต่จะมีประกาศให้ใช้บังคับในมณฑลต่าง ๆ เป็นรายมณฑลเรื่อยไปจนทั่วประเทศสยาม (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น ประเทศไทย)
ยุคสังฆสภา
[แก้]ต่อมาใน พ.ศ. 2484 สภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 3 ยกเลิก พระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ (ร.ศ. 121) แล้วตรา พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช 2484 ขึ้นใช้แทน[6] โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 14 ตุลาคม 2484[7] พระราชบัญญัติใหม่นี้เปลี่ยนชื่อ "มหาเถรสมาคม" เป็น "สังฆสภา" โดยให้ประกอบด้วยกรรมการที่เรียก "สังฆสภาสมาชิก" จำนวนไม่เกินสี่สิบห้ารูป และประธานสังฆสภานั้นมาจากการแต่งตั้งของสมเด็จพระสังฆราชตามคำแนะนำของสังฆสภา[8]
พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช 2484 เป็นแนวคิดของจอมพลแปลก พิบูลสงคราม ที่จะเลียนการปกครองฝ่ายอาณาจักรมาใช้แก่ฝ่ายศาสนจักร โดยเรียก "สังฆสภา" ให้เป็นทำนองเดียวกับ "รัฐสภา" และมีอำนาจหน้าที่ทำนองเดียวกันด้วย คือ ตราสังฆาณัติ แล้วถวายให้สมเด็จพระสังฆราชลงพระนาม จะเห็นได้ว่าบทบัญญัติหลาย ๆ บทเลียนมาจากกฎหมายฝ่ายอาณาจักรหมวดหมู่กฎหมายปกครองและกฎหมายรัฐธรรมนูญ อาทิ ให้สังฆสภามีอำนาจตราสังฆาณัติได้ ถ้าสมเด็จพระสังฆราชไม่ทรงเห็นด้วยหรือไม่ทรงลงพระนามตามกำหนด และสังฆสภาลงมติเห็นชอบตามเดิม ทำนองเดียวกับรัฐสภามีอำนาจตราพระราชบัญญัติที่พระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นด้วยหรือไม่ทรงลงพระปรมาภิไธยตามกำหนด และรัฐสภามีมติเห็นชอบตามเดิม
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505
[แก้]- มหาเถรสมาคม มีอำนาจและหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 [9]
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535
[แก้]- มหาเถรสมาคม มีอำนาจและหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 [10]
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2560
[แก้]เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2560 ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๐[11] ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 7 ว่าด้วยการแต่งตั้งสมเด็จพระสังฆราช จากเดิมเป็น "พระมหากษัตริย์ทรงสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชองค์หนึ่ง และให้นายกรัฐมนตรีลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ" โดยให้เหตุผลว่า โดยที่ตามโบราณราชประเพณีที่ได้ปฏิบัติสืบทอดกันมาเป็นเวลาช้านานนั้น เป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ในการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช ซึ่งต่อมาได้เริ่มมีบัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษรไว้ในมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช ๒๔๘๔ เป็นต้นมา สมควรบัญญัติกฎหมายให้สอดคล้องเพื่อเป็นการสืบทอดและธำรงรักษาไว้ซึ่งโบราณราชประเพณีดังกล่าวโดยให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ
พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2561
[แก้]เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2561 ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๑[12] ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยส่วนใหญ่เป็นการมอบพระราชอำนาจให้พระมหากษัตริย์เกี่ยวกับการแต่งตั้งกรรมการมหาเถรสมาคมโดยทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการแต่งตั้งหรือให้ออก โดยจะทรงปรึกษาหารือกับสมเด็จพระสังฆราชก่อนก็ได้ เกี่ยวกับการแต่งตั้งผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชโดยทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการที่จะทรงพระกรุณาโปรดหรือมีพระราชวินิจฉัยให้ปฏิบัติเป็นประการอื่นได้ตามพระราชอัธยาศัย โดยทั้งหมดให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ การกำหนดวาระของกรรมการมหาเถรสมาคม การแต่งตั้งกรรมการขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่างลง การแต่งตั้งเจ้าคณะใหญ่หรือเจ้าคณะภาคและตำแหน่งอื่นตามพระราชดำริ
กรรมการมหาเถรสมาคมชุดปัจจุบัน
[แก้]ประธานกรรมการมหาเถรสมาคม
[แก้]กรรมการมหาเถรสมาคม
[แก้]- สมเด็จพระธีรญาณมุนี (สมชาย วรชาโย) วัดเทพศิรินทราวาส ราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร
- สมเด็จพระพุฒาจารย์ (สนิท ชวนปญฺโญ) วัดไตรมิตรวิทยาราม วรวิหาร กรุงเทพมหานคร
- สมเด็จพระมหาธีราจารย์ (ปสฤทธ์ เขมงฺกโร) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร
- สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (สุชิน อคฺคชิโน) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร
- สมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี (ธงชัย ธมฺมธโช) วัดไตรมิตรวิทยาราม วรวิหาร กรุงเทพมหานคร
- สมเด็จพระพุทธพจนวชิรมุนี (มนตรี คณิสฺสโร) วัดเครือวัลย์ วรวิหาร กรุงเทพมหานคร
- พระพรหมโมลี (สุชาติ ธมฺมรตโน) วัดปากน้ำ พระอารามหลวง กรุงเทพมหานคร
- พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) วัดประยุรวงศาวาส วรวิหาร กรุงเทพมหานคร
- พระพรหมกวี (พงศ์สันต์ ธมฺมเสฏฺโฐ) วัดกัลยาณมิตร วรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร
- พระพรหมวชิรมุนี (เชิด จิตฺตคุตฺโต) วัดสุทัศนเทพวราราม ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร
- พระพรหมมุนี (บุญเรือง ปุญฺญโชโต) วัดพระศรีมหาธาตุ วรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร
- พระพรหมวัชราจารย์ (พูนศักดิ์ วรภทฺทโก) วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร
- พระพรหมวชิรากร (สุนทร สุนฺทราโภ) วัดราชผาติการาม วรวิหาร กรุงเทพมหานคร
- พระพรหมวชิรเวที (อมร ญาโณทโย) วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร
- พระพรหมวชิรวิมล (แสวง ธมฺเมสโก) วัดบวรนิเวศ ราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร
- พระพรหมวชิรรังษี (จิรพล อธิจิตฺโต) วัดบวรนิเวศ ราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร
- พระพรหมวัชรวิมลมุนี (บุญชิต ญาณสํวโร) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร
- พระธรรมวชิรเมธาจารย์ (ยุทธศักดิ์ กิตฺติยุตฺโต) วัดโสมนัส ราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร
- พระพรหมดิลก (เอื้อน หาสธมฺโม) วัดสามพระยา กรุงเทพมหานคร
- พระพรหมสิทธิ (ธงชัย สุขญาโณ) วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2567[13]
หน่วยงาน
[แก้]หน่วยงานในปกครองมหาเถรสมาคม
[แก้]- เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อัมพร อมฺพโร) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร
- เจ้าคณะใหญ่หนเหนือ สมเด็จพระมหาธีราจารย์ (ประสิทธิ์ เขมงฺกโร) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
- เจ้าคณะใหญ่หนกลาง สมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี (ธงชัย ธมฺมธโช) วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร กรุงเทพมหานคร
- เจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก สมเด็จพระพุฒาจารย์ (สนิท ชวนปญฺโญ) วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร กรุงเทพมหานคร
- เจ้าคณะใหญ่หนใต้ สมเด็จพระมหาวชิรมังคลาจารย์ (สงัด ปญฺญาวุโธ) วัดกะพังสุรินทร์ จังหวัดตรัง
- เจ้าคณะภาค
- เจ้าคณะจังหวัด
- เจ้าคณะอำเภอ
- เจ้าคณะตำบล
- เจ้าอาวาส
- ทุกวัดธรรมยุตและมหานิกาย
หน่วยงานในการกำกับดูแลของสมเด็จพระสังฆราช คณะสงฆ์อื่น
[แก้]- พระมหาคณาจารย์จีนธรรมวชิราจารย์ (เย็นอี่) ผู้รักษาการแทนเจ้าคณะใหญ่จีนนิกายและประธานกรรมการคณะสงฆ์จีนนิกาย เจ้าอาวาสวัดโพธิ์แมนคุณาราม (普門報恩寺-โพวมึ้งป่ออึงยี่)
- พระมหาคณานัมธรรมวชิรานุวัตร (ณรงค์ ติ่นเรียน) เจ้าคณะใหญ่อนัมนิกายและประธานกรรมการคณะสงฆ์อนัมนิกาย เจ้าอาวาสวัดสมณานัมบริหาร (禛囯景福寺 เกี๋ยงเพื๊อกตื่อ)
หน่วยงานเผยแผ่พระธรรมทูตในต่างประเทศ
[แก้]สำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ
- ประธานสำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ
สมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา
- ประธานสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา
สำนักงานพระธรรมทูตไทยในอินเดีย-เนปาล
สหภาพพระธรรมทูตไทยในทวีปยุโรป
- ประธานสหภาพพระธรรมทูตไทยในทวีปยุโรป
องค์กรพระธรรมทูตไทยในสหราชอาณาจักรและไอร์แลนด์
- ประธานองค์กรพระธรรมทูตไทยในสหราชอาณาจักรและไอร์แลนด์ และหัวหน้าพระธรรมทูตสายสหราชอาณาจักร
สมัชชาสงฆ์ไทยในประเทศสิงคโปร์
- ประธานสมัชชาสงฆ์ไทยในประเทศสิงคโปร์
สหภาพพระธรรมทูตไทยในโอเชียเนีย
- หัวหน้าพระธรรมทูตไทยสายโอเชียเนีย
สมัชชาสงฆ์ไทยในญี่ปุ่น
- ประธานสมัชชาสงฆ์ไทยในญี่ปุ่น
สหภาพพระธรรมทูตไทยในอินโดนีเซีย-แอฟริกา
- พระวิเทศธรรมาภรณ์ (บัณฑิต วรปญฺโญ) วัดพระธรรมกายไทเป ได้หวัน
สหภาพพระธรรมทูตไทยในเอเชียตะวันออก
- ประธานสหภาพพระธรรมทูตไทยในเอเชียตะวันออก
สมัชชาสงฆ์ไทยในเขตบริหารพิเศษฮ่องกง
- ประธานสมัชชาสงฆ์ไทยในเขตบริหารพิเศษฮ่องกง
องค์การคณะสงฆ์สยามมาเลเซีย
- รายนามพระสังฆาธิการในประเทศมาเลเซีย
- พระพิศาลสมณกิจ (บุญ สิริปญฺโญ) ประธานองค์การคณะสงฆ์สยามมาเลเซีย, เจ้าคณะรัฐกลันตัน, เจ้าอาวาสวัดประชาจินาราม
- พระราชมงคลศีลคุณ (ช้อย อติพโล) ประธานที่ปรึกษาเจ้าคณะรัฐเคดาห์-รัฐปะลิส, เจ้าอาวาสวัดวิสุทธิประดิษฐาราม
- พระราชธรรมธาดา (นำ ติสฺสวํโส) ที่ปรึกษาเจ้าคณะรัฐเคดาห์-รัฐปะลิส, เจ้าอาวาสวัดเทพบัณฑิต
- พระนิโครธธรรมธาดา (ลาภ โอภาโส) รองประธานองค์การคณะสงฆ์สยามมาเลเซีย, เจ้าคณะรัฐเคดาห์-รัฐเปอร์ลิส, เจ้าอาวาสวัดนิโครธาราม
- พระโสภณจริยาภรณ์ (สุเทพ สจฺจธมฺโม) รองประธานองค์การคณะสงฆ์สยามมาเลเซีย, เจ้าคณะรัฐสลังงอร์, เจ้าอาวาสวัดพุทธไทยเชตวัน
- พระครูปัญญาศาสนานุรักษ์ (เพียง) รองประธานองค์การคณะสงฆ์สยามมาเลเซีย, เจ้าคณะรัฐปีนัง, เจ้าอาวาสวัดปิ่นบังอร (นอก)
- พระครูวิศาลธรรมวิเทศ (ฐานะ วิสารโท) รองประธานองค์การคณะสงฆ์สยามมาเลเซีย, เจ้าคณะรัฐเประ, เจ้าอาวาสวัดสังฆาราม
หน่วยงานรับสนองงานของมหาเถรสมาคม
[แก้]- สำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม สังกัดสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
หน่วยงานเผยแพร่พระศาสนาในประเทศ
[แก้]- สำนักงานแม่กองงานพระธรรมทูต
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อัมพร อมฺพโร) แม่กองงานพระธรรมทูต
- สำนักงานคณะพระธรรมจาริก
พระธรรมวชิราธิบดี (ฉ่ำ ปุญฺญชโย) ประธานคณะพระธรรมจาริก
- กองการวิปัสสนาธุระแห่งประเทศไทย ในพระสังฆราชูปถัมภ์ [14]พระพรหมวชิราธิบดี (พีร์ สุชาโต) ผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระแห่งประเทศไทย[15]
หน่วยงานด้านการศึกษาในความดูแลของมหาเถรสมาคม
[แก้]- คณะกรรมการการศึกษาพระปริยัติธรรม ดูแลการศึกษาของคณะสงฆ์ไทย 4 แผนก แผนกบาลีสนามหลวง แผนกธรรมสนามหลวง แผนกสามัญศึกษา แผนกพระปริยัตินิเทศก์ มี สมเด็จพระธีรญาณมุนี (สมชาย วรชาโย) เป็นประธานคณะกรรมการการศึกษาพระปริยัติธรรม
- แม่กองธรรมสนามหลวง สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (สุชิน อคฺคชิโน) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร
- แม่กองบาลีสนามหลวง พระพรหมโมลี (สุชาติ ธมฺมรตโน) วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
- อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พระพรหมวัชรธีราจารย์ (สมจินต์ สมฺมาปญฺโญ) วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
- นายกสภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พระพรหมวชิราธิบดี (พีร์ สุชาโต) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร
- อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย พระธรรมวชิรจินดาภรณ์ (สมคิด จินฺตามโย) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร
- นายกสภามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อัมพร อมฺพโร) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร
- ประธานบริหารงาน สำนักงานการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา พระเทพพัชราภรณ์ (สมพงษ์ ฐิตวํโส) วัดชูจิตธรรมาราม พระอารามหลวง
- ประธานบริหารงาน ศูนย์พระปริยัตินิเทศก์แห่งคณะสงฆ์ พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต)[16] วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
- ประธานบริหารงาน สำนักงานวิปัสสนาธุระแห่งคณะสงฆ์
แหล่งค้นคว้าเพิ่มเติม
[แก้]- คนึงนิตย์ จันทบุตร. (2528). การเคลื่อนไหวของยุวสงฆ์ไทยรุ่นแรก พ.ศ. 2477-2484. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.
- พระทศพล มาบัณฑิตย์. (2553). การสถาปนา “สมเด็จพระราชาคณะ” ระหว่าง พ.ศ. 2490-2532. วิทยานิพนธ์ อ.ม. (ประวัติศาสตร์). กรุงเทพฯ: ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ออนไลน์.
- ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์. (2562). ไทยปิฎก: ประวัติศาสตร์การเมืองสังคมร่วมสมัยของพุทธศาสนาไทย. กรุงเทพฯ: Illuminations Editions.
อ้างอิง
[แก้]- ↑ พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๗๙ ตอนที่ ๑๑๕ ฉบับพิเศษ หน้า ๒๙-๔๔ วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๐๕
- ↑ มาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ บัญญัติให้ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเป็นเลขาธิการมหาเถรสมาคมโดยตำแหน่ง
- ↑ "พระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์' (ร.ศ. 121)" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา (เล่ม 19, แผ่นที่ 13, 29 มิถุนายน ร.ศ. 121, หน้า 213). สืบค้นเมื่อ 2011-08-16.
- ↑ "พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-03. สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2011.
- ↑ พระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ (ร.ศ. 121) มาตรา 4:
"สมเด็จเจ้าคณะใหญ่ทั้ง 4 ตำแหน่ง คือ เจ้าคณะใหญ่คณะเหนือ 1 เจ้าคณะใหญ่คณะใต้ 1 เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุติกา 1 เจ้าคณะใหญ่คณะกลาง 1 ทั้งพระราชาคณะเจ้าคณะรองในคณะเหนือ คณะใต้ คณะธรรมยุติกา คณะกลาง ทั้ง 4 ตำแหน่งนั้น ยกเป็นพระมหาเถระที่ทรงปรึกษาในการพระศาสนาและการปกครองบำรุงสังฆมณฑลทั่วไป ข้อภารธุระในพระศาสนาหรือในสังฆมณฑลซึ่งได้โปรดให้พระมหาเถระทั้งนี้ประชุมวินิจฉัยในที่มหาเถรสมาคมตั้งแต่ 5 พระองค์ขึ้นไป คำตัดสินของมหาเถรสมาคมนั้น ให้เป็นสิทธิ์ขาด ผู้ใดจะอุทธรณ์หรือโต้แย้งต่อไปอีกไม่ได้" - ↑ "พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช 2484" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา (เล่ม 58, 14 ตุลาคม 2484, หน้า 1391). สืบค้นเมื่อ 2011-08-16.
- ↑ พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช 2484 ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา (เล่ม 58/14 ตุลาคม 2484/หน้า 1391) และมาตรา 2 ว่า:
"ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้ตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป" - ↑ พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช 2484: "มาตรา 11. สังฆสภาประกอบด้วยสมาชิก มีจำนวนรวมกันไม่เกินสี่สิบห้ารูป คือ
(1) พระเถระชั้นธรรมขึ้นไป
(2) พระคณาจารย์ชั้นเอก
(3) พระเปรียญเอก
มาตรา 12. ทุกคราวสมัยประชุมสามัญ สมเด็จพระสังฆราชทรงตั้งสมาชิกในสังฆสภาตามมติของสังฆสภา ให้เป็นประธานสภาหนึ่งรูป เป็นรองประธานหนึ่งรูปหรือหลายรูปก็ได้"ในการตั้งประธานและรองประธานสังฆสภา ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการลงนามรับสนอง" - ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-11-27. สืบค้นเมื่อ 2013-02-03.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-04-01. สืบค้นเมื่อ 2013-02-10.
- ↑ พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๐ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๒ ก หน้า ๑-๒ วันที่ ๖ มกราคม ๒๕๖๐
- ↑ พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๑ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕ ตอนที่ ๕๐ ก หน้า ๑-๔ วันที่ ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๖๑
- ↑ โปรดแต่งตั้ง พระพรหมดิลก วัดสามพระยา-พระพรหมสิทธิ วัดสระเกศ เป็นกรรมการมหาเถรสมาคม
- ↑ https://www.facebook.com/profile.php?id=100071207010333
- ↑ "เข้ารับตราตั้งและพัดรองพระวิปัสสนาจารย์ประจำกองการวิปัสสนาธุระแห่งประเทศไทย -ศูนย์ข้อมูลสารสนเทศคณะสงฆ์ภาค ๑๔". www.sangha14.org.
- ↑ "ศูนย์พระปริยัตินิเทศก์แห่งคณะสงฆ์". www.pariyattinithed.net.