พระมหาคณานัมธรรมวชิรานุวัตร (ณรงค์ ติ่นเรียน)
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
พระมหาคณานัมธรรมวชิรานุวัตร (ณรงค์ ติ่นเรียน) | |
---|---|
คำนำหน้าชื่อ | พระคุณท่าน ท่านเจ้าคุณ |
ส่วนบุคคล | |
เกิด | 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2471 อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี (96 ปี) |
นิกาย | คณะสงฆ์อนัมนิกายแห่งประเทศไทย |
การศึกษา | ปริญญาศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มจร |
ตำแหน่งชั้นสูง | |
ที่อยู่ | วัดสมณานัมบริหาร กรุงเทพมหานคร |
อุปสมบท | 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2491 |
พรรษา | 71 |
ตำแหน่ง | เจ้าคณะใหญ่อนัมนิกาย เจ้าอาวาสวัดสมณานัมบริหาร |
พระมหาคณานัมธรรมวชิรานุวัตร นามเดิม ณรงค์ ล้อไพบูลย์ ฉายา ติ่นเรียน มีสมณศักดิ์เป็น เทียบพระราชาคณะชั้นธรรม พิเศษเป็นพระภิกษุมหายาน รูปปัจจุบันดำรงตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่อนัมนิกายและเจ้าอาวาสวัดสมณานัมบริหาร (เกี๋ยงเพื๊อกตื่อ)[1]
ประวัติ
[แก้]พระมหาคณานัมธรรมวชิรานุวัตร มีนามเดิมว่า ณรงค์ ล้อไพบูลย์ เกิดวันพุธ ขึ้น 12 ค่ำ เดือน 7 ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 30 พฤษภาคม พุทธศักราช 2471 ที่ตำบลท่าเรือ อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี เป็นบุตรของ นายฮั่วฮะ ล้อไพบูลย์ กับ นางกลิ่น ล้อไพบูลย์
วันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2488 บรรพชาสามเณร ที่โรงเจฮะอี่ตั๊ว ตำบลดำเนินสะดวก อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี พระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์โหพัฒน์นที่
วันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2491 ท่านได้อุปสมบทเป็นภิกษุ ณ พัทธสีมา วัดถาวรวราราม ตำบลบ้านเหนือ อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี มี องอนนตสรภัญ(พ็องเดี้ยว) เป็นพระอุปัชฌาย์ มี องพจนสุนทร (บ๋าวเอิง) เป็นกรรมวาจาจารย์ มี องสุตบทบวร (ย๊ากเหมิง) เป็นอนุสาวนาจารย์ได้รับฉายาว่าติ่นเรียน [2]
เกียรติคุณ
[แก้]- พ.ศ. 2542 ได้คัดเลือกเป็นวัดพัฒนาตัวอย่างดีเด่น จากกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ
- พ.ศ. 2540 ได้รับปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
- พ.ศ. 2551 ได้รับคัดเลือกจากกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ รับพระราชทานรางวัลเสมาธรรมจักร สาขาสงเคราะห์ประชาชนและส่งเสริมการพัฒนาชุมชน
- พ.ศ. 2550 ได้รับปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชามหายานศึกษามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ตำแหน่งการปกครอง
[แก้]- พ.ศ. 2501 ผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดอุภัยราชบำรุง แขวงตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์กรุงเทพมหานคร
- พ.ศ. 2518 เจ้าอาวาสวัดถาวรวรารามหาดใหญ่ ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
- พ.ศ. 2518 รองปลัดขวาอนัมนิกาย
- พ.ศ. 2528 เจ้าอาวาสวัดสมณานัมบริหาร แขวงสี่แยกมหานาค เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร
- พ.ศ. 2529 ผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดเขตร์นาบุญญาราม ตำบลตลาด อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี
- พ.ศ. 2530 ปลัดซ้ายอนัมนิกาย
- พ.ศ. 2536 ปลัดขวาอนัมนิกาย
- พ.ศ. 2548 ประธานที่ปรึกษาและอุปถัมภ์มหาปัญญาวิทยาลัย วิทยาลัยสมทบมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
- พ.ศ. 2550 พระอุปัชฌายะอนัมนิกาย
- พ.ศ. 2553 ผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดถ้ำเขาน้อย ตำบลม่วงชุม อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี
- พ.ศ. 2553 ผู้ช่วยเจ้าคณะใหญ่ฝ่ายซ้ายอนัมนิกาย
- พ.ศ. 2561 กรรมการมูลนิธิพระมหาคณานัมธรรมปัญญาธิวัตร (เจริญ กิ๊นเจี๊ยว)
- พ.ศ. 2561 รองประธานกรรมการมูลนิธิพระมหาคณานัมธรรมปัญญาธิวัตร (เจริญ กิ๊นเจี๊ยว)
- พ.ศ. 2562 ประธานกรรมการมูลนิธิพระมหาคณานัมธรรมปัญญาธิวัตร (เจริญ กิ๊นเจี๊ยว)
- พ.ศ. 2562 รองเจ้าคณะใหญ่อนัมนิกาย
- พ.ศ. 2565 ผู้รักษาการแทนเจ้าคณะใหญ่อนัมนิกาย
- พ.ศ. 2565 เจ้าคณะใหญ่อนัมนิกาย
สมณศักดิ์
[แก้]- พ.ศ. 2518 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ องสรพจนสุนทร[3]
- พ.ศ. 2530 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ องสุตบทบวร ปลัดซ้าย[4]
- พ.ศ. 2536 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ พระครูสรภาณอนัมพจน์ปลัดขวา[5]
- พ.ศ. 2542 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นเทียบพระราชาคณะชั้นสามัญ ที่ พระสมณานัมธีราจารย์ [6]
- พ.ศ. 2553 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นเทียบพระราชาคณะชั้นราช ที่ พระคณานัมธรรมวุฒาจารย์ อนัมบริหารอุดรเขต นิเทศธรรมานุสิฐ[7]
- วันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นเทียบพระราชาคณะชั้นเทพ ที่ พระคณานัมธรรมเมธาจารย์ บริหารพุทธบริษัทอนัมวิเนต วิเทศธรรมประชา บรมนริศรานุวัตร มีคณานุศักดิ์ตั้งคณานุกรมได้ 5 รูป คือ องปลัด 1 องวินัยธร 1 องสังฆรักษ์ 1 องสมุห์ 1 องใบฎีกา 1 [8]
- 21 มิถุนายน พ.ศ. 2567 รับพระราชทานสัญญาบัตรเลื่อนสมณศักดิ์เป็นเทียบพระราชาคณะชั้นธรรม ที่ พระมหาคณานัมธรรมวชิรานุวัตร พุทธบริษัทอนัมวิเนต นิเทศอนัมปริยัติโกศล วิมลธรรมานุศาสก์ มหาคณิสร์บรมนริศรานุวัตร[9]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประวัติพระคณานัมธรรมเมธาจารย์โดยสังเขป[ลิงก์เสีย]
- ↑ ประวัติพระคณานัมธรรมเมธาจารย์โดยสังเขป[ลิงก์เสีย]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์บรรพชิตฝ่ายอนัมนิกาย, เล่ม 92 ตอนที่ 263, 26 ธันวาคม 2518, ฉบับพิเศษ หน้า 43
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์บรรพชิตฝ่ายอนัมนิกาย, เล่ม 104 ตอนที่ 253, 5 ธันวาคม 2530, หน้า 65
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์บรรพชิตอนัมนิกาย, เล่ม 110 ตอนที่ 202, 6 ธันวาคม 2536, ฉบับพิเศษ หน้า 31
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์บรรพชิตอนัมนิกาย, เล่ม 116 ตอนที่ 23 ข, 27 ธันวาคม 2542, หน้า 53
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์บรรพชิตอนัมนิกาย, เล่ม 128 ตอนที่ 12 ข, 29 กรกฎาคม 2554, หน้า 53
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์บรรพชิตอนัมนิกายและบรรพชิตจีนนิกาย, เล่ม 136 ตอนที่ 40 ข, 28 กรกฎาคม 2562, หน้า 57
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์บรรพชิตอนัมนิกาย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 21-06-2024. สืบค้นเมื่อ 22-06-2024.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
และ|date=
(help)