สมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี (ธงชัย ธมฺมธโช)
สมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี (ธงชัย ธมฺมธโช) | |
---|---|
![]() | |
คำนำหน้าชื่อ | เจ้าประคุณ |
ชื่ออื่น | เจ้าประคุณ สมเด็จธงชัย |
ส่วนบุคคล | |
เกิด | 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2496 (70 ปี) |
นิกาย | มหานิกาย |
การศึกษา | นักธรรมชั้นเอก เปรียญธรรม 6 ประโยค |
ตำแหน่งชั้นสูง | |
ที่อยู่ | วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร กรุงเทพมหานคร |
บรรพชา | 8 ธันวาคม พ.ศ. 2510 |
อุปสมบท | 19 เมษายน พ.ศ. 2517 |
พรรษา | 48 พรรษา |
ตำแหน่ง | ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร ประธานมูลนิธิร่มฉัตร กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าคณะใหญ่หนกลาง |
สมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี นามเดิม ธงชัย ฉายา ธมฺมธโช เป็นสมเด็จพระราชาคณะฝ่ายมหานิกาย ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง เจ้าคณะใหญ่หนกลาง กรรมการมหาเถรสมาคม ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร อดีตที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 8 ฝ่ายสาธารณสงเคราะห์ รองแม่กองธรรมสนามหลวง กำกับดูแลฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ และประธานมูลนิธิร่มฉัตร
ประวัติ[แก้]
สมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี มีนามเดิมว่า ธงชัย เอี่ยมสอาด เกิดเมื่อวันวันเสาร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2496 ภูมิลำเนาอยู่บ้านแหลมแค ตำบลหน้าประดู่ อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี[1]
ต่อมาได้บวชเป็นสามเณรเมื่อวันศุกร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2510 ณ พระอุโบสถวัดไตรมิตรวิทยาราม โดยมีพระธรรมมหาวีรานุวัตร (ไสว ฐิตวีโร) เจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยาราม เป็นพระอุปัชฌาย์ และอุปสมบทเป็นภิกษุเมื่อวันศุกร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2517 ณ พระอุโบสถวัดไตรมิตรวิทยาราม โดยมีพระวิสุทธาธิบดี (ไสว ฐิตวีโร) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระสุวรรณธีราจารย์เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระสุนทรคุณธาดาเป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้ฉายาว่า ธมฺมธโช[1]
รางวัล[แก้]
- รางวัลผู้บริหารและสนับสนุนสถานศึกษาภาษาจีน ระดับมัธยมศึกษาดีเด่นของโลก ประจำปี 2554
- รางวัลผู้นำที่มีผลงานด้านการศึกษาโดดเด่นเป็นพิเศษ (The Best of the Best) จากสำนักงานส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาจีนนานาชาติแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน
- เข็มเสมาคุณูปการและเกียรติบัตรผู้ทำคุณประโยชน์ จากกระทรวงศึกษาธิการ
สมณศักดิ์[แก้]
- 5 ธันวาคม พ.ศ. 2534 เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ พระครูศรีวิสุทธานุวัตร[2]
- 12 สิงหาคม พ.ศ. 2535 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ที่ พระภาวนาวิสุทธาจารย์[3]
- 5 ธันวาคม พ.ศ. 2538 เป็นพระราชาคณะชั้นราช ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ที่ พระราชภาวนาวิกรม ธำรงสมถวิปัสสนานุสิฐ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[4]
- 12 สิงหาคม พ.ศ. 2547 เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ที่ พระเทพภาวนาวิกรม อุดมธรรมานุสิฐ โสภิตศาสนกิจจาทร มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[5]
- 5 ธันวาคม พ.ศ. 2554 เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ที่ พระธรรมภาวนาวิกรม อุดมธรรมานุยุต วิสุทธิศาสนกิจวิธาน ไพศาลวิเทศสิกขาวราทร มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[6]
- 5 ธันวาคม พ.ศ. 2556 เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรอง ชั้นหิรัญบัฏ ที่ พระพรหมมังคลาจารย์ ภาวนากิจวิธานโกศล วิมลศีลาจารนิวิฐ พิพิธธรรมปฏิภาณ ไพศาลวิเทศสิกขาวราทร มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[7]
- 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 เป็นสมเด็จพระราชาคณะ ชั้นสุพรรณบัฏ ที่ สมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี ศรีศาสนกิจโกศล วิมลภาวนาวิกรม อุดมธรรมปฏิญาณ ไพศาลวิเทศสิกขาวราทร มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี อรัญวาสี[8]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ 1.0 1.1 "ทำเนียบพระเถรานุเถระ : พระพรหมมังคลาจารย์". วัดไตรมิตรวิทยาราม วรวิหาร. สืบค้นเมื่อ 14 พฤษภาคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 108, ตอนที่ 213 ง ฉบับพิเศษ, 6 ธันวาคม 2534, หน้า 7
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 109, ตอนที่ 101 ง ฉบับพิเศษ, 12 สิงหาคม 2535, หน้า 10
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 112, ตอนพิเศษ 47 ง, 13 ธันวาคม 2538, หน้า 6
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 121, ตอนที่ 17 ข, 15 กันยายน 2547, หน้า 4
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 129, ตอนที่ 6 ข, 15 กุมภาพันธ์ 2555, หน้า 1
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์ , เล่ม 131, ตอนที่ 2 ข, 21 มกราคม 2557, หน้า 3-5
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,พระบรมราชโองการ ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์, เล่ม 136, ตอนที่ 40 ข, 28 กรกฎาคม 2562, หน้า 2
![]() |
บทความเกี่ยวกับศาสนาพุทธนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:พระพุทธศาสนา |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2496
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- สมเด็จพระราชาคณะ
- เจ้าคณะใหญ่หนกลาง
- ภิกษุในสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย
- ผู้ช่วยเจ้าอาวาส
- เปรียญธรรม 6 ประโยค
- บุคคลจากอำเภอพานทอง
- ภิกษุจากจังหวัดชลบุรี
- ภิกษุจากวัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร
- เกจิอาจารย์
- บุคคลจากสาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
- บทความเกี่ยวกับ พุทธศาสนา ที่ยังไม่สมบูรณ์