เจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจ้าคณะใหญ่
หนตะวันออก (มหานิกาย)
ผู้ดำรงตำแหน่งคนปัจจุบัน
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (สนิท ชวนปญฺโญ)

ตั้งแต่ 12 กันยายน พ.ศ. 2556
จวนวัดพระอารามหลวง,วัดราษฎร์
ผู้แต่งตั้งพระมหากษัตริย์ โดยพระราชดำริ
สมเด็จพระสังฆราช โดยพระบัญชาแต่งตั้ง
มหาเถรสมาคม โดยมีมติเห็นชอบ
วาระตลอดชีวิต
ผู้ประเดิมตำแหน่งสมเด็จพระวันรัต (ทรัพย์ โฆสโก)
เงินตอบแทน23,900 บาท[1]

เจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก คือเจ้าคณะใหญ่ผู้ปฏิบัติหน้าที่ในเขตปกครองคณะสงฆ์หนตะวันออก (มหานิกาย) คือภาค8 ภาค9 ภาค10 ภาค11 ภาค12

ตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 กำหนดให้มีเจ้าคณะใหญ่ปฏิบัติหน้าที่ในเขตปกครองคณะสงฆ์ตามที่กำหนดในกฎมหาเถรสมาคม[2]

มหาเถรสมาคมจึงตรา "กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 15 (พ.ศ. 2535) ว่าด้วยระเบียบการปกครองคณะสงฆ์" กำหนดให้เจ้าคณะใหญ่หนตะวันออกปฏิบัติหน้าที่ในเขตปกครองคณะสงฆ์ ภาค 8 ภาค 9 ภาค 10 ภาค 11 และภาค 12[3]

ขอบเขตการปกครองในหนตะวันออก[แก้]

เจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก มีเขตปกครองคณะสงฆ์ระดับภาค 5 ภาค ได้แก่ ดังต่อไปนี้

รวมทั้งหมด มีจังหวัดที่อยู่ในขอบเขตการปกครองดูแลของเจ้าคณะใหญ่หนตะวันออกทั้งสิ้น 25 จังหวัด

เจ้าคณะใหญ่หนตะวันออกรูปปัจจุบันคือ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (สนิท ชวนปญฺโญ) วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร

อำนาจหน้าที่เจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก[แก้]

เจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก มีอำนาจหน้าที่การปกครองคณะสงฆ์จังหวัดต่างๆ ในเขตภาคการปกครองของตนตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์และกฎมหาเถรสมาคม ดังนี้

  • ดำเนินการปกครองคณะสงฆ์ให้เป็นไปตามพระธรรมวินัย กฎหมาย กฎมหาเถรสมาคม ข้อบังคับ ระเบียบ คำสั่ง มติ ประกาศ พระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช
  • ควบคุมและส่งเสริมการรักษาความเรียบร้อยดีงาม การศาสนศึกษา การศึกษาสงเคราะห์ การเผยแผ่พระพุทธศาสนา การสาธารณูปการ และการสาธารณสงเคราะห์ ให้ดำเนินไปด้วยดี
  • วินิจฉัยการลงนิคหกรรม วินิจฉัยข้ออุทธรณ์คำสั่ง หรือคำวินิจฉัยชั้นจังหวัด
  • แก้ไขข้อขัดข้องของเจ้าคณะจังหวัดให้เป็นไปโดยชอบ
  • ตรวจการและประชุมพระสังฆาธิการในเขตปกครอง ของตนเอง

ทำเนียบเจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก[แก้]

ลำดับ รูป รายนาม/สมณศักดิ์ เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ วัด
1 สมเด็จพระวันรัต (ทรัพย์ โฆสโก) พ.ศ. 2509 พ.ศ. 2516 วัดสังเวชวิศยารามวรวิหาร
2 สมเด็จพระธีรญาณมุนี (ธีร์ ปุณฺณโก) พ.ศ. 2516 พ.ศ. 2527 วัดจักรวรรดิราชาวาสวรมหาวิหาร
3 พระวิสุทธาธิบดี (ไสว ฐิตวีโร) พ.ศ. 2526 พ.ศ. 2531 วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร
4 สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสโภ) พ.ศ. 2531 พ.ศ. 2532 วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร
5 สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) พ.ศ. 2532 พ.ศ. 2556 วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร
6 สมเด็จพระพุฒาจารย์ (สนิท ชวนปญฺโญ) พ.ศ. 2556 ปัจจุบัน วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร

อ้างอิง[แก้]

  1. "บัญชีนิตยภัต ฉบับปรับปรุงใหม่ เริ่มใช้ตั้งแต่ 1 เมษายน 2554 เป็นต้นไป". สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดภูเก็ต. 27 เมษายน 2555. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-06-18. สืบค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535, หน้า 8
  3. กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 15 (พ.ศ. 2535) ว่าด้วยระเบียบการปกครองคณะสงฆ์