อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยเริ่มขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2530 โดยการเชื่อมต่อมินิคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ไปยังมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย แต่ในครั้งนั้นยังเป็นการ เชื่อมต่อโดยผ่านสายโทรศัพท์ ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้ช้าและไม่เป็นการถาวร จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2535 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ได้เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับมหาวิทยาลัย 6 แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เข้าด้วยกันเรียกว่า "เครือข่ายไทยสาร" ในเดือนกุมภาพันธ์ มีจุดประสงค์แลกเปลี่ยนจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างรัฐและเอกชนได้ทั่วโลก

การให้บริการอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยได้เริ่มต้นขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2538 โดยความร่วมมือของรัฐวิสาหกิจ 3 แห่ง คือ การสื่อสารแห่งประเทศไทย องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย และสำนักงานส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยให้บริการในนาม บริษัท อินเทอร์เน็ต ประเทศไทย (Internet Thailand) เป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์รายแรกของประเทศไทย[1] ในเดือนมีนาคมปีเดียวกันนี้ก็เริ่มโครงการเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย (Schoolnet) มีองค์กรเอกชนที่เชื่อมอินเตอร์เน็ตรายแรกอย่างถาวร ความเร็ว 64kbps คือธนาคารไทยพาณิชย์[2]

ในปี พ.ศ. 2564 ประเทศไทยมีความก้าวหน้าอย่างมาก โดยมีอัตราการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตถึงร้อยละ 85 ของจำนวนประชากร[3] และตามข้อมูลเชิงลึกของ Ookla ในเดือนพฤศจิกายน 2565 ประเทศไทยจัดเป็นประเทศที่ความเร็วของอินเทอร์เน็ตแบบประจำที่ หรืออินเทอร์เน็ตบ้าน (Fixed Broadband) อยู่ในอันดับที่ 4 ของโลก โดยมีความเร็วในการดาวน์โหลดเฉลี่ยที่ 205.63 เมกะบิตต่อวินาที (Mbps)[4] ตามหลังผู้นำ 3 ประเทศแรกได้แก่ ชิลี จีน และสิงคโปร์

การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตแบบประจำที่ส่วนใหญ่ใช้เทคโนโลยีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านสายโทรศัพท์ (ADSL) และเทคโนโลยีการรับ-ส่งข้อมูลผ่านสายแบบดิจิตอลที่มีความเร็วสูง (VDSL) โดยบางพื้นที่ก็จะใช้เป็นสายเคเบิ้ลด้วยเทคโนโลยี DOCSIS, เทคโนโลยี G.SHDSL หรือโครงข่ายสายไฟเบอร์ออปติกจากต้นทางไปยังบ้าน (Fiber to the Home - FTTH) แบนด์วิธอินเทอร์เน็ตแบบประจำที่สำหรับผู้บริโภคมีตั้งแต่ 10 เมกะบิตต่อวินาที ถึง 300 เมกะบิตต่อวินาที (สูงสุด 1 จิกะบิตต่อวินาที ในกรุงเทพฯ เชียงใหม่ พัทยา ภูเก็ต) ธุรกิจขนาดกลางและขนาดใหญ่ มักจะใช้สายอินเทอร์เน็ตแบบเช่าใช้ (Leased line) หรือ อีเทอร์เน็ต/เอ็มพีแอลเอส ผ่านสายเคเบิลไฟเบอร์ออปติก ที่เชื่อมโยงอาคารสำนักงานจำนวนมากในพื้นที่ศูนย์กลางธุรกิจ เช่น ย่านสุขุมวิท สีลม และสาทรของกรุงเทพฯ กับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของประเทศไทย

ประเทศไทยมีจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตแบบประจำที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในปี พ.ศ. 2548 โดยมีการริเริ่มใช้โคร่งขายแบบไม่มีข้อจำกัดด้านปริมาณในปี พ.ศ. 2547[5] โดยมีจำนวนการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตถึง 3,399,000 เครื่อง (พ.ศ. 2555) ซึ่งสูงที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[6]

ชื่อโดเมน[แก้]

โดเมนระดับบนสุดตามรหัสประเทศ (ccTLD) : .th

โดเมนระดับที่สอง

  • .ac สำหรับสถาบันการศึกษา
  • .co สำหรับการพาณิชย์และธุรกิจ
  • .go สำหรับการใช้ของภาครัฐบาล เช่น กระทรวงหรือหน่วยงานรัฐบาล
  • .mi สำหรับหน่วยงานทางทหาร
  • .or สำหรับองค์กรที่ไม่แสวงผลกำไร
  • .net สำหรับนิติบุคคลผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมทั้ง 3 แบบ ตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544
  • .in สำหรับบุคคลทั่วไป และหน่วยงานทุกประเภท

ทั้งนี้ยังมี โดเมนระดับบนสุดที่สอง ซึ่งเป็นบริการจดทะเบียนโดเมนระดับบนสุดขึ้นใหม่อีกชื่อหนึ่งคือ .ไทย เพื่อใช้เป็นชื่อโดเมนในภาษาท้องถิ่นมีทั้งจดทะเบียนเพื่อใช้เป็นโดเมนหลัก และใช้ควบคู่ไปกับ .th ดั้งเดิม

แกนหลักของอินเทอร์เน็ต[แก้]

ปริมาณการรับส่งข้อมูลระหว่างประเทศและในประเทศ[7][8][แก้]

เดือนเมษายน 2563 ประเทศไทยมีปริมาณการรับส่งข้อมูลระหว่างประเทศที่ 12,317,648 เมกะบิตต่อวินาที และภายในประเทศที่ 8,666,005 เมกะบิตต่อวินาที[9]

ความต้องการในการรับส่งข้อมูลระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างมาก เนื่องจากความนิยมของบริการเครือข่ายสังคม เช่น ยูทูบ, อินสตาแกรม, เฟซบุ๊ก, ทวิตเตอร์ หรือ ไลน์ ซึ่งเป็นผลพวงจากจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตแบบประจำที่ ที่เพิ่มขึ้น

อินเทอร์เน็ตเกตเวย์ระหว่างประเทศ[แก้]

ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเกตเวย์ระหว่างประเทศทั้งหมด 11 รายประกอบด้วย[10]

ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด และ ชิน คอร์ปอเรชั่น (ปัจจุบันคืออินทัช โฮลดิ้งส์) ได้รับใบอนุญาตผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเกตเวย์ระหว่างประเทศประเภทที่ 2 และใบอนุญาตบริการแลกเปลี่ยนอินเทอร์เน็ตจาก คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กทช. (ปัจจุบันคือคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)) ในปี 2548 ซึ่ง กสท โทรคมนาคม (ปัจจุบันคือโทรคมนาคมแห่งชาติ) ครองส่วนแบ่งตลาดมากที่สุด

ชุมสายอินเทอร์เน็ตภายในประเทศ[แก้]

ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ให้บริการชุมสายอินเทอร์เน็ตภายในประเทศทั้งหมด 14 รายประกอบด้วย[11]

หมายเหตุ : AS7596 - IIR (NECTEC) เป็นชุมสายอินเทอร์เน็ตภายในประเทศเพื่อวัตถุประสงค์ทางวิชาการและการวิจัยเท่านั้น มีผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์เพียงรายเดียวที่เชื่อมต่อด้วยคือ ไอเน็ต (INET) โดยบริษัท อินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด (มหาชน)

ก่อนปีพ.ศ. 2546 IIR (NECTEC) เป็นชุมสายอินเทอร์เน็ตที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย แต่ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2546 เป็นต้นมา ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตทุกรายจะต้องมีสถานะใน CAT-NIX (TH-IX ปัจจุบัน) ที่ดำเนินการโดย กสท โทรคมนาคม ต่อมา CAT-NIX ได้รีแบรนด์ตัวเองเป็น Thailand IX (TH-IX) และเชิญชวนให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจากต่างประเทศเข้าร่วมเกตเวย์

ปัจจุบัน Thailand IX เป็นชุมสายอินเทอร์เน็ตที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยด้วยปริมาณการรับส่งข้อมูลมากกว่า 250 จิกะบิตต่อวินาที โดยขณะนี้มีการตั้งค่าการเชื่อมโยงการแลกเปลี่ยระหว่างชุมสายต่างๆ ซึ่งช่วยลดต้นทุนแบนด์วิธในประเทศ

ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต[แก้]

ปัจจุบันสิทธิในการดำเนินการในฐานะผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยจะได้รับจากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช.[12]

ในอดีตการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตแบบประจำที่ส่วนใหญ่ให้บริการผ่านเทคโนโลยี ADSL ซึ่งมีค่าบริการสูงถึง 25,000 บาทต่อเดือนสำหรับความเร็วปกติ 256 กิโลบิตต่อวินาที ต่อมาในปี 2545 ทีโอที (ปัจจุบันคือโทรคมนาคมแห่งชาติ) ได้ริเริ่มอินเทอร์เน็ตแบบประจำที่ราคาประหยัด ซึ่งทำให้ความต้องการอินเทอร์เน็ตแบบประจำที่เติบโตอย่างรวดเร็ว และได้เปลี่ยนแผนการให้บริการของผู้ให้บริการทั้งหมดในขณะนั้น

ทีโอทีได้รับความนิยมในหมู่นักเล่นเกมออนไลน์ในประเทศไทย ด้วยราคาค่าบริการที่ถูก ความเร็ว 256 กิโลบิตต่อวินาทีโดยไม่จำกัดปริมาณข้อมูล แต่ถึงอย่างนั้นทีโอทีก็ไม่สามารถให้บริการแก่ประชาชนส่วนใหญ่ในกรุงเทพมหานครได้ เนื่องจากระบบโทรศัพท์พื้นฐานครึ่งหนึ่งของจังหวัดดำเนินการภายใต้สัมปทานโดยบริษัท เทเลคอมเอเชีย จำกัด (ปัจจุบันคือทรู คอร์ปอเรชั่น) ส่วนต่างจังหวัดก็ได้ทีทีแอนด์ที ร่วมกับ กสท โทรคมนาคม ในการให้บริการ

ณ ขณะนั้นผู้ใช้อินเทอร์เน็ตแบบประจำที่ส่วนใหญ่มักบ่นผู้ให้บริการถึงความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่ไม่เป็นไปตามสัญญาหรือตามที่โฆษณาไว้ นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องปริมาณการรับส่งข้อมูลระหว่างประเทศซึ่งมีอย่างจำกัด เนื่องจาก กสท โทรคมนาคม (ปัจจุบันคือโทรคมนาคมแห่งชาติ) เป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเกตเวย์ระหว่างประเทศแต่เพียงผู้เดียว ก่อนที่ในปี 2548 ก็ได้มีการเปิดเสรีอินเทอร์เน็ตเกตเวย์ ผู้ให้บริการส่วนใหญ่เน้นขยายการเชื่อมต่อภายในประเทศเพื่อรองรับความต้องการการเล่นเกมออนไลน์ สิ่งนี้นำไปสู่การกลับมาของแพ็คเกจอินเทอร์เน็ตแบบประจำที่ระดับสูง ในราคาที่สูงขึ้นสำหรับผู้ใช้ตามบ้านและลูกค้าองค์กร ผู้ใช้บริการหลายคนยังคงโต้แย้งว่าแพ็คเกจเหล่านี้จะยังไม่ปรับปรุงความพร้อมใช้งานของปริมาณการรับส่งข้อมูลระหว่างประเทศสำหรับผู้ใช้ตามบ้าน อีกทั้งผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตมักถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าควบคุมปริมาณการรับส่งข้อมูลด้วยโปรแกรมบิตทอร์เรนต์

เมื่อเร็ว ๆ นี้ ปริมาณการรับส่งข้อมูลระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างมากหลังจากที่ กสทช. อนุญาตให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตหลายรายตั้งค่าเกตเวย์อินเทอร์เน็ตระหว่างประเทศของตนเอง เพื่อรองรับการเติบโตของความต้องการเนื้อหาที่ต้องการปริมาณการรับส่งข้อมูลที่สูงขึ้น

ต้นปี 2552 บริษัทจัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) ได้เปิดให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบประจำที่ภายใต้แบรนด์ "3BB" ในเมืองใหญ่ ด้วยความเร็วสูงสุดถึง 3 เมกะบิตต่อวินาที ในราคา 590 บาทต่อเดือน สิ่งนี้กระตุ้นให้ ทรู อินเทอร์เน็ต ขยายบริการจาก 5 เมกะบิตต่อวินาที เป็น 8 เมกะบิตต่อวินาที ในราคาที่เท่ากับ 3BB

กลางปี 2552 3BB เสนอความเร็วขั้นต่ำ 4 เมกะบิตต่อวินาที ในราคา 590 บาทต่อเดือน และขยายบริการจาก 8 เมกะบิตต่อวินาที เป็น 10 เมกะบิตต่อวินาที ในราคา 1,490 บาทต่อเดือนทำให้ ทรู อินเทอร์เน็ต เสนอเพิ่มความเร็วอินเทอร์เน็ตฟรีชั่วคราว สำหรับลูกค้าปัจจุบันที่ใช้ความเร็ว 8 เมกะบิตต่อวินาที เป็น 12 เมกะบิตต่อวินาที ระหว่างนั้นลูกค้าของ "แม็กซ์เน็ต (Maxnet)" โดยทีทีแอนด์ที ก็ถูกโอนย้ายมายัง 3BB ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเข้าสู่กระบวนการพิทักษ์ทรัพย์ (ล้มละลาย) ของทีทีแอนด์ที

ทีโอทีและ แอดวานซ์ ดาต้าเน็ทเวอร์ค คอมมิวนิเคชั่นส์ (เอดีซี) มีข้อตกลงการใช้โครงข่ายเฉพาะวงจรบ้านผู้ใช้เพื่อให้ เอดีซี สามารถให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบประจำที่ บนโครงข่ายโทรศัพท์พื้นฐานของทีโอทีได้ เนื่องจากสายโทรศัพท์ส่วนใหญ่ในเมืองใหญ่ยังคงอยู่บนเสาและไม่ได้อยู่ใต้ดิน จึงไม่จำกัดจำนวนสายโทรศัพท์ที่สามารถเข้าสู่อาคารได้ สิ่งนี้ทำให้ผู้ให้บริการหลายราย เสนอบริการของตนเองโดยไม่มีบริการโทรศัพท์พื้นฐาน การเดินสายไฟใหม่ไปยังสถานที่ที่ต้องการบริการ โดยไม่ต้องผ่านข้อตกลงการใช้โครงข่ายเฉพาะวงจรบ้านผู้ใช้

แม้จะมีการปรับปรุงอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย แต่ก็ยังมีปัญหาด้านเครือข่าย ซึ่งส่วนใหญ่เกี่ยวกับความหน่วงของเครือข่าย ความล่าช้าในเครือข่ายนั้นพิสูจน์แล้วว่าเป็นอันตรายต่อเกมออนไลน์ที่มีการแข่งขันสูง ผู้เล่นอ้างว่ามีปัญหาด้านเครือข่ายซึ่งทำให้แพ้เกมไป

ผู้ให้บริการแบบมีสาย[แก้]

ผู้ให้บริการแบบไร้สาย[แก้]

ศูนย์ข้อมูลอินเทอร์เน็ต[แก้]

การเซ็นเซอร์อินเทอร์เน็ต[แก้]

ประเทศไทยอยู่ในรายชื่อประเทศที่อยู่ภายใต้การเฝ้าระวังของนักข่าวไร้พรมแดนในปี พ.ศ. 2554[33] รวมถึงสถานะเสรีภาพทางอินเทอร์เน็ตของประเทศไทยได้รับการจัดอันดับเป็น "ไม่เสรี" ใน รายงานเสรีภาพบนอินเทอร์เน็ต (Freedom on the Net Report) ของ Freedom House ซึ่งอ้างถึงการเซ็นเซอร์ทางการเมืองและการจับกุมบล็อกเกอร์และผู้ใช้ออนไลน์อื่นๆ[34]

แม้บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญจะให้เสรีภาพในการคิด การพูด และสื่อ "ภายใต้เงื่อนไขหลายประการ" แต่รัฐบาลก็จำกัดสิทธิเหล่านี้อย่างจริงจัง กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพทำให้การแสดงออกซึ่งดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ไทยเป็นความผิด มีโทษจำคุกสูงสุด 15 ปี[35]

มีการประมาณการว่ามีมากกว่า 110,000 แห่งถูกบล็อกและเพิ่มขึ้นใรปี 2553[36] และคาดการณ์ว่ารัฐบาลนำเงินมาเพื่อใช้เฝ้าระวังทางดิจิทัลกว่า 1.7 ล้านบาทต่อวัน[37]

อ้างอิง[แก้]

  1. "ย้อนรอยอดีต ของอินเทอร์เน็ต มีที่มาที่ไปอย่างไร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-07-11. สืบค้นเมื่อ 2008-09-19.
  2. http://cmuir.cmu.ac.th/bitstream/6653943832/10564/7/econ0547vh_ch4.pdf ประวัติความเป็นมาของอินเตอร์เน็ต (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
  3. "Individuals using the Internet (% of population)". data.worldbank.org. Retrieved 22 July 2023.
  4. Fomon, Josh (4 Jan 2023). "The Speedtest Global Index Shows These Countries Sped Forward for Internet Experience in 2022". ookla.com. Retrieved 22 July 2023.
  5. Thailand: Rapid Growth in Broadband Use เก็บถาวร 2007-12-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  6. "The World Factbook — Central Intelligence Agency". www.cia.gov. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 13, 2007. สืบค้นเมื่อ 2019-09-23.
  7. "Internet Users and Statistics in Thailand". internet.nectec.or.th.
  8. "Internet Users and Statistics in Thailand". internet.nectec.or.th.
  9. "Internet Users and Statistics in Thailand".
  10. "แผนภาพการเชื่อมต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตระหว่างประเทศ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-08-05. สืบค้นเมื่อ 2023-08-05.
  11. "แผนภาพการเชื่อมต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตภายในประเทศ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-08-05. สืบค้นเมื่อ 2023-08-05.
  12. "ขั้นตอนการขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม". www.nbtc.go.th.
  13. "2Gbps Fibre". www.ais.th.
  14. "ส่องโปรเน็ตบ้าน 2Gbps จาก AIS Fibre แต่ละแพ็กเกจ ได้อะไรบ้าง". mxphone. December 20, 2021.
  15. "AIS รายงานผลประกอบการไตรมาส 1/2566 ธุรกิจหลักเติบโต ฐานผู้ใช้งาน 46.1 ล้านเลขหมาย". blognone.
  16. "True Gigatex PRO". true.
  17. Kridakorn, Pan. "TRUE ONLINE เปิดตัวเน็ตบ้าน 2Gbps อย่างเป็นทางการ เน้นไวไฟผ่าน Gigatex Pro".
  18. "ทรู คอร์ปอเรชั่น รายงานผลประกอบการไตรมาส ฐานผู้ใช้มือถือเพิ่มเป็น 51.5 ล้านราย". blognone.
  19. "3BB GIGA Fiber". 3BB.
  20. "JAS เปิดผลประกอบการปี 2565". theกรุงเทพมหานครinsight.[ลิงก์เสีย]
  21. "AIS ประกาศซื้อ 3BB มูลค่า 1.95 หมื่นล้านบาท, ซื้อหุ้นกองทุน JASIF อีก 1.29 หมื่นล้านบาท". blognone.
  22. "NT Package". NT Broadband.
  23. "NT Broadband". NTPLC.
  24. "Corporate Internet". KSC.
  25. "อินเทอร์เน็ตสำหรับองค์กร (DIA)". KIRZ.
  26. "Corporate Internet and Branch Connect". ji-net.
  27. "Fiber Optic". ISSP.
  28. "CORPORATE INTERNET". ANET.
  29. "Corporate Leased Line Fiber Optic". otaro.
  30. "Virtual Leased Line Plus". PROEN.
  31. "Private Fiber". Sanuk-System.
  32. "Managed Services". UIH.
  33. Internet Enemies เก็บถาวร 2011-03-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Reporters Without Borders, Paris, March 2011
  34. "Country Report: Thailand" เก็บถาวร 2011-12-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Freedom on the Net 2011, Freedom House, 18 April 2011
  35. "Thailand", Country Reports on Human Rights Practices for 2011, Bureau of Democracy, Human Rights and Labor, U.S. Department of State
  36. "Thailand's Massive Internet Censorship" เก็บถาวร 2013-08-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Pavin Chachavalpongpun, Asia Sentinel, 22 July 2010
  37. Chongkittavorn, Kavi (2015-10-12). "Thailand's single gateway is an abyss". The Nation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-24. สืบค้นเมื่อ 12 October 2015.