แยกราชประสงค์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก สี่แยกราชประสงค์)
สี่แยก ราชประสงค์
Rama I Rd Sign with Central World.jpg
Map
ชื่ออักษรไทยราชประสงค์
ชื่ออักษรโรมันRatchaprasong
รหัสทางแยกN054 (ESRI), 003 (กทม.)
ที่ตั้งแขวงปทุมวันและแขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
ทิศทางการจราจร
ทิศเหนือ
ถนนราชดำริ
» แยกประตูน้ำ
ทิศตะวันออก
ถนนเพลินจิต
» แยกชิดลม
ทิศใต้
ถนนราชดำริ
» แยกราชดำริ
ทิศตะวันตก
ถนนพระรามที่ 1
» แยกเฉลิมเผ่า

สี่แยกราชประสงค์ (อังกฤษ: Ratchaprasong Intersection) เป็นสี่แยกในพื้นที่แขวงปทุมวันและแขวงลุมพินี เขตปทุมวัน ใจกลางกรุงเทพมหานคร เป็นจุดตัดระหว่างถนนราชดำริ ถนนพระรามที่ 1 และถนนเพลินจิต เป็น "ย่านการค้าใจกลางเมือง" ที่สำคัญของกรุงเทพมหานคร ร่วมกับย่านสยามที่อยู่ติดกัน เป็นสถานที่ประดิษฐานศาลเทพเจ้าต่าง ๆ ทั้งสิ้น 6 ศาลจนบางคนถึงกับเรียกสี่แยกนี้ว่า "แยก 6 เทพ" ซึ่งเทพทั้งหกองค์นั้นเป็นเทพเจ้าในศาสนาฮินดูทั้งสิ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือศาลท้าวมหาพรหม โรงแรมเอราวัณ จากคำขวัญของเขตปทุมวันที่ว่า "บูชาท้าวมหาพรหม ชื่นชมวังสมเด็จย่า ศูนย์การค้ามากมี ลุมพินีสวนสาธารณะ ศิลปะมวยไทย สถานีรถไฟหัวลำโพง เชื่อมโยงรถไฟฟ้า สถานศึกษาเลื่องชื่อ นามระบือจุฬาลงกรณ์" ล้วนแล้วแต่มีส่วนเกี่ยวข้องกับแยกราชประสงค์นี้อย่างมาก รวมไปถึงการมีจุดเชื่อมโยงรถไฟฟ้าอีกด้วย เพราะสี่แยกราชประสงค์ อยู่ระหว่างสถานีรถไฟฟ้าถึง 3 สถานี โดยมีสถานีหลักคือสถานีสยาม ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนเส้นทางของรถไฟฟ้าบีทีเอสทั้ง 2 สาย คือสายสุขุมวิทกับสายสีลม และมีสถานีย่อยอีก 2 สถานี คือสถานีชิดลมของสายสุขุมวิทบนถนนเพลินจิต และสถานีราชดำริของสายสีลมบนถนนราชดำริ[1] บริเวณสี่แยกยังมีสำนักงานราชการที่สำคัญตั้งอยู่จำนวนมาก เช่น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ การไฟฟ้านครหลวง และราชกรีฑาสโมสร ฯลฯ นอกจากนี้ สี่แยกราชประสงค์ยังมีความสำคัญในประวัติศาสตร์การเมืองไทย โดยมักถูกใช้เป็นสถานที่ชุมนุมในช่วงวิกฤตการณ์ของประเทศอยู่บ่อยครั้ง

สถานที่สำคัญบริเวณทางแยก[แก้]

ศูนย์การค้า[แก้]

บิ๊กซี สาขาราชดำริ (ฝั่งซ้าย) และโรงแรมอโนมา (ฝั่งขวา)
เกษรทาวเวอร์ (ฝั่งซ้าย) และ เกษรวิลเลจ (ฝั่งขวา)

โรงแรม[แก้]

โรงแรมระดับ 5 ดาว

โรงแรมระดับ 4 ดาว

  • โรงแรมอโนมา
  • โรงแรมอะโฟรดิตี้ อินน์

โรงแรมระดับอื่นๆ

  • โรงแรมบางกอก ซิตี้ อินน์ (ระดับ 3 ดาวครึ่ง)

ศาลเทพเจ้า[แก้]

ปัจจุบันมีศาลเทพเจ้าฮินดูทั้งหมดเก้าศาล ในจำนวนนี้มีศาลท้าวมหาพรหม โรงแรมเอราวัณที่เป็นที่รู้จักกันมาก

โรงพยาบาล[แก้]

สถานที่สำคัญทางราชการ[แก้]

การชุมนุม[แก้]

การชุมนุมของ นปช. พ.ศ. 2553[แก้]

ตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2553 กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ เริ่มใช้พื้นที่แยกราชประสงค์ เป็นสถานที่ชุมนุมทางการเมือง จนถึงวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 เจ้าหน้าที่ทหารใช้กำลังเข้าสลายการชุมนุม จนทำให้แกนนำต้องประกาศยุติการชุมนุม จากนั้นเกิดเหตุจลาจลขึ้นทั่วกรุงเทพมหานคร มีการยิงกระสุนปืน ยิงระเบิด และเกิดเพลิงไหม้ในหลายพื้นที่ ลุกลามไปสู่จังหวัดปริมณฑลและต่างจังหวัด เป็นผลให้ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ เกิดเพลิงไหม้เป็นเวลาหลายชั่วโมง โดยเจ้าหน้าที่ดับเพลิงไม่สามารถเข้าควบคุมเพลิงได้ เนื่องจากในพื้นที่ไม่มีความปลอดภัย และถูกขัดขวางการปฏิบัติงานจากกลุ่มผู้ชุมนุม จนกระทั่งอาคารฝั่งห้างสรรพสินค้าเซนทรุดตัวลง และยังมีควันคุกรุ่นอยู่อีกหลายวัน จนถึงวันที่ 22 พฤษภาคม จึงสามารถควบคุมเพลิงไว้ได้ เป็นผลให้ห้างเซ็นทรัลเวิลด์ต้องปิดทำการ เพื่อปรับปรุงและซ่อมแซมห้าง ในส่วนของเซนดีพาร์ตเมนต์สโตร์ทั้งหมด และยังมีส่วนของโรงภาพยนตร์เอสเอฟเวิลด์ซินีมา และอุทยานการเรียนรู้ ทีเคปาร์ก ที่ต้องปรับปรุงใหม่

ซึ่งในคืนวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2554 พรรคประชาธิปัตย์จัดการปราศรัยหาเสียงเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2554 ที่ลานกิจกรรมหน้าศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ เพื่อชี้แจงถึงเหตุการณ์ดังกล่าวข้างต้น[2]

ระเบิดแยกราชประสงค์[แก้]

เมื่อเวลา 18.53 น.วันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2558 เกิดระเบิดที่ศาลท้าวมหาพรหม โรงแรมเอราวัณ มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ซึ่งขณะนี้ สามารถจับผู้วางระเบิดได้แล้วคือนายยูซูฟุ ไมรารี และนายอาเด็ม คาราดัก โดยทั้งสองคนได้ซัดทอดว่ามีคนไทยอยู่เบื่องหลังการก่อเหตุในครั้งนี้ คือนายอ๊อด พยุงวงษ์และนางสาววรรณา สวนสัน ซึ่งในขณะนี้เชื่อว่าออกนอกประเทศไปแล้ว

การเดินทางไปแยกราชประสงค์[แก้]

  • รถไฟฟ้าบีทีเอส โดยนั่งมาลงที่สถานีสยามหรือสถานีชิดลมแล้วเดินบนสกายวอล์ค (Sky Walk) 8 นาทีจากสถานีสยามและ 2 นาทีจากสถานีชิดลมโดยทางสกายวอล์คมีทางเชื่อมเข้าห้างเกษร พลาซ่า, ห้างเอราวัณ, ห้างเซ็นทรัลเวิลด์, ห้างอัมรินทร์, อาคารสำนักงานมณียา เซ็นเตอร์และโรงแรมอินเตอร์คอนทิเนนทัล
  • รถประจำทาง โดยนั่งมาลงที่หน้าห้างเซ็นทรัลเวิลด์, ห้างบิ๊กซี, วัดปทุมวนาราม, สำนักงานตำรวจแห่งชาติหรือบริเวณด้านหน้าบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) สายที่ผ่านมีดังนี้ 2, 15, 16, 25, 40, 45, 48, 54, 73, 79, 204, 79, 29, 501, 508 ฯลฯ
  • เรือโดยสาร โดยสารเรือนี้มาลงที่ท่าสะพานเฉลิมโลก

อ้างอิง[แก้]

  1. "ทัวร์ไหว้ 6 เทพศักดิ์สิทธิ์กลางกรุงย่านราชประสงค์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-23. สืบค้นเมื่อ 2011-06-24.
  2. เปิดแผน ปชป.ปราศรัย "ราชประสงค์" เน้นเล่าเหตุการณ์ชุมนุม เก็บถาวร 2011-06-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากเนชั่นแชนแนล

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

พิกัดภูมิศาสตร์: 13°44′41″N 100°32′25″E / 13.744604°N 100.540251°E / 13.744604; 100.540251