ตึกช้าง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตึกช้าง
Elephant Building
Elephant Tower (cropped).jpg
ตึกช้างเมื่อปี 2560
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้ง369/38 ถนนพหลโยธิน 26
แขวงจอมพล เขตจตุจักร 10900
Seal of Bangkok Metro Authority.png กรุงเทพมหานคร
ไทยประเทศไทย
พิกัด13°49′31″N 100°34′7″E / 13.82528°N 100.56861°E / 13.82528; 100.56861พิกัดภูมิศาสตร์: 13°49′31″N 100°34′7″E / 13.82528°N 100.56861°E / 13.82528; 100.56861
ก่อสร้างพ.ศ. 2540
การใช้งานสำนักงาน ที่พักอาศัย
ความสูง
หลังคา102 เมตร (335 ฟุต)
รายละเอียด
จำนวนชั้น32 ชั้น
บริษัท
สถาปนิกองอาจ สาตรพันธุ์
วิศวกรศ.ดร.อรุณ ชัยเสรี
คณะผู้บริหารArun Chaiseri Group & Elephant Group

ตึกช้าง (อังกฤษ: Elephant Building, Chang Building) คือ ตึกระฟ้าแห่งหนึ่งซึ่งตั้งอยู่บนถนนพหลโยธิน และถนนรัชดาภิเษก แขวงจอมพล เขตจตุจักร ในเขตธุรกิจทางตอนเหนือของกรุงเทพมหานคร และเป็นอาคารที่มีชื่อเสียงในเอกลักษณ์ของช้าง ตึกแห่งนี้ คือ ความร่วมมือระหว่าง ศ.ดร.อรุณ ชัยเสรี และสถาปนิก นายองอาจ สาตรพันธุ์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ ด้านสถาปัตยกรรมร่วมสมัย เป็นอาคารสูง 32 ชั้น สูง 102 เมตร (335 ฟุต) และสร้างเสร็จใน พ.ศ. 2540 (ค.ศ. 1997) ตึกช้างได้รับรางวัลอันดับ 4 สำหรับตึกระฟ้าที่มีเอกลักษณ์ของโลก 20 อันดับ โดย CNNgo ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 (ค.ศ. 2011)[1]

แนวคิด[แก้]

ตึกช้างมีแนวคิดการออกแบบมาจากพื้นฐานที่ว่า อาคารนี้เป็นอาคารประเภทอาคารสำนักงานและพักอาศัยรวม เป็นอาคารขนาดใหญ่พิเศษ รูปลักษณ์ของอาคารถูกบังคับตามพื้นที่ดินที่มีลักษณะยาวเป็นเส้นก๋วยเตี๋ยว ด้วยกฎหมายและความต้องการของเจ้าของโครงการ คือ ศ.ดร.อรุณ โดยเริ่มแรกอาคารถูกแบ่งออกเป็น 3 ทาวเวอร์ เนื่องจากต้องการพื้นที่ขายมากจึงจำเป็นต้องเชื่อม 3 ทาวเวอร์เข้าด้วยกัน แต่ด้วยข้อกำหนดเรื่องพื้นที่เปิดโล่ง จึงทำให้เชื่อมอาคารได้เพียงส่วนบนและเกิดช่องว่างขนาดใหญ่ 2 ช่อง ต่อมา ศ.ดร.อรุณ เห็นว่าอาคารมีลักษณะคล้ายช้างและส่วนตัวท่านชื่นชอบช้างอยู่แล้ว อาจารย์องอาจจึงออกแบบตกแต่งส่วนของอาคารเพิ่ม เพื่อให้เหมือนช้างจริงๆ[2]

รายละเอียดของอาคาร[แก้]

ตึกช้างประกอบด้วย 7 ส่วน

  • อาคาร A - สำนักงาน
  • อาคาร B - สำนักงาน
  • อาคาร C - ที่พักอาศัย
  • ชั้นบนสุด - ห้องสูท
  • ลานสันทนาการ - สวนและสระว่ายน้ำ
  • ลานซื้อของ ธนาคาร ไปรษณีย์ และอู่ซ่อมรถ

สถานที่ใกล้เคียง[แก้]

อ้างอิง[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]