ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จังหวัดนครพนม"

พิกัด: 17°24′N 104°47′E / 17.4°N 104.78°E / 17.4; 104.78
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 36: บรรทัด 36:


== ภูมิศาสตร์ ==
== ภูมิศาสตร์ ==
<br />
=== อาณาเขต ===
* '''ทิศเหนือ''' ติดต่อกับ[[จังหวัดบึงกาฬ]]
* '''ทิศตะวันออก''' ติดต่อกับ[[แขวงคำม่วน]] [[ประเทศลาว]] โดยมี[[แม่น้ำโขง]]ไหลกั้นพรมแดน
* '''ทิศใต้''' ติดต่อกับ[[จังหวัดมุกดาหาร]]
* '''ทิศตะวันตก''' ติดต่อกับ[[จังหวัดสกลนคร]]

=== สภาพภูมิประเทศ ===
สภาพโดยทั่วไปของจังหวัดนครพนมเป็นที่ราบลุ่ม มีที่ราบสูงและภูเขาอยู่บ้าง มีแม่น้ำสายสั้น ๆ เป็นสาขาย่อยแยกจากแม่น้ำโขงมาหล่อเลี้ยงความอุดมสมบูรณ์ภายในพื้นที่ พื้นที่ส่วนใหญ่มีแม่น้ำโขงไหลผ่าน นครพนมจึงนับว่าเป็นจังหวัดที่มีแหล่งน้ำที่สมบูรณ์มาก ด้านตะวันออกมี[[แม่น้ำโขง]]ทอดยาวกั้นพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับลาว

จังหวัดนครพนมมีจุดผ่านแดนไปประเทศลาว รวม 6 จุด เป็นจุดผ่านแดนถาวร 2 จุด และจุดผ่อนปรน 4 จุด จุดผ่านแดนที่สำคัญและเป็นสากล คือ ด่านสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 3 ซึ่งเป็นประตูไปสู่อินโดจีน


== ประวัติศาสตร์ ==
== ประวัติศาสตร์ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:56, 18 พฤศจิกายน 2562

จังหวัดนครพนม
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันChangwat Nakhon Phanom
คำขวัญ: 
พระธาตุพนมค่าล้ำ วัฒนธรรมหลากหลาย
เรณูผู้ไท เรือไฟโสภา
งามตาฝั่งโขง
จรรโลงวัฒนธรรม เชื่อมโยงอินโดจีน
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดนครพนมเน้นสีแดงประเทศมาเลเซียประเทศพม่าประเทศลาวประเทศเวียดนามประเทศกัมพูชาจังหวัดนราธิวาสจังหวัดยะลาจังหวัดปัตตานีจังหวัดสงขลาจังหวัดสตูลจังหวัดตรังจังหวัดพัทลุงจังหวัดกระบี่จังหวัดภูเก็ตจังหวัดพังงาจังหวัดนครศรีธรรมราชจังหวัดสุราษฎร์ธานีจังหวัดระนองจังหวัดชุมพรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์จังหวัดเพชรบุรีจังหวัดราชบุรีจังหวัดสมุทรสงครามจังหวัดสมุทรสาครกรุงเทพมหานครจังหวัดสมุทรปราการจังหวัดฉะเชิงเทราจังหวัดชลบุรีจังหวัดระยองจังหวัดจันทบุรีจังหวัดตราดจังหวัดสระแก้วจังหวัดปราจีนบุรีจังหวัดนครนายกจังหวัดปทุมธานีจังหวัดนนทบุรีจังหวัดนครปฐมจังหวัดกาญจนบุรีจังหวัดสุพรรณบุรีจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจังหวัดอ่างทองจังหวัดสิงห์บุรีจังหวัดสระบุรีจังหวัดลพบุรีจังหวัดนครราชสีมาจังหวัดบุรีรัมย์จังหวัดสุรินทร์จังหวัดศรีสะเกษจังหวัดอุบลราชธานีจังหวัดอุทัยธานีจังหวัดชัยนาทจังหวัดอำนาจเจริญจังหวัดยโสธรจังหวัดร้อยเอ็ดจังหวัดมหาสารคามจังหวัดขอนแก่นจังหวัดชัยภูมิจังหวัดเพชรบูรณ์จังหวัดนครสวรรค์จังหวัดพิจิตรจังหวัดกำแพงเพชรจังหวัดตากจังหวัดมุกดาหารจังหวัดกาฬสินธุ์จังหวัดเลยจังหวัดหนองบัวลำภูจังหวัดหนองคายจังหวัดอุดรธานีจังหวัดบึงกาฬจังหวัดสกลนครจังหวัดนครพนมจังหวัดพิษณุโลกจังหวัดอุตรดิตถ์จังหวัดสุโขทัยจังหวัดน่านจังหวัดพะเยาจังหวัดแพร่จังหวัดเชียงรายจังหวัดลำปางจังหวัดลำพูนจังหวัดเชียงใหม่จังหวัดแม่ฮ่องสอน
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดนครพนมเน้นสีแดง
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดนครพนมเน้นสีแดง
ประเทศ ไทย
การปกครอง
 • ผู้ว่าราชการ นายสยาม ศิริมงคล
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2561)
พื้นที่
 • ทั้งหมด5,502.670 ตร.กม.[1] ตร.กม. (Formatting error: invalid input when rounding ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่อันดับที่ 38
ประชากร
 (พ.ศ. 2560)
 • ทั้งหมด718,028 คน[2] คน
 • อันดับอันดับที่ 35
 • อันดับความหนาแน่นอันดับที่ 36
รหัส ISO 3166TH-48
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
 • ต้นไม้กันเกรา
 • ดอกไม้กันเกรา
ศาลากลางจังหวัด
 • ที่ตั้งถนนอภิบาลบัญชา ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม 48000
 • โทรศัพท์0 4251 1287, 0 4251 1574, 0 4251 4262
 • โทรสาร0 4251 1287, 0 4251 1574, 0 4251 4262
เว็บไซต์http://www.nakhonphanom.go.th/
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

จังหวัดนครพนม เป็นจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนตั้งอยู่ในแอ่งสกลนคร นับเป็นเมืองชายแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์ ความสวยงามของทิวทัศน์ และมีความหลากหลายของวัฒนธรรมและชาติพันธุ์ รวมทั้งประวัติศาสตร์ที่ยาวนานมีพระธาตุพนมเป็นปูชนียสถานคู่บ้านคู่เมือง พื้นที่ด้านเหนือและตะวันออกของจังหวัดติดกับแม่น้ำโขงโดยตลอด

ภูมิศาสตร์


ประวัติศาสตร์

นครพนมเป็นจังหวัดชายแดนตั้งเลียบชายฝั่งขวาของแม่น้ำโขง ตรงข้ามกับเมืองท่าแขก แขวงคำม่วนของประเทศลาว นครพนมเป็นจังหวัดที่ประดิษฐานพระธาตุพนมอันศักดิ์สิทธิ์และเก่าแก่ ซึ่งเป็นพระธาตุที่ประดิษฐานพระอุรังคธาตุ (กระดูกหน้าอก) ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า (สมณโคดม) และนับเป็นพระบรมธาตุคู่เมืองนครพนม เป็นที่เคารพสักการะของชาวไทยและชาวลาวทั้งสองฝั่งแม่น้ำโขงมาตั้งแต่บรรพกาล พระธาตุพนมประดิษฐานอยู่ที่อำเภอธาตุพนม อยู่ห่างจากตัวเมืองนครพนม 52 กิโลเมตร จังหวัดนครพนมมีพื้นที่ประมาณ 5,502.670 ตารางกิโลเมตร ระยะทางห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 740 กิโลเมตร นอกจากนี้ ในตัวเมืองนครพนมยังมีพระธาตุนครประดิษฐานเป็นพระธาตุกลางเมืองด้วย พระธาตุนครนี้เดิมเป็นวัดที่ใช้สำหรับประกอบพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาของเจ้าเมืองนครพนมในอดีต

นครพนมเป็นจังหวัดที่มีบันทึกทางประวัติศาสตร์มาแต่โบราณกาล ในฐานะเมืองเก่าเคียงคู่อยู่กับอาณาจักรศรีโคตรบูร แต่เดิมนครพนมมีชื่อเต็มในจารึกสถาปนาวัดโอกาสศรีบัวบานว่า เมืองนครบุรีราชธานีศรีโคตรบูรหลวง เคยเป็นราชธานีที่มีกษัตริย์และเจ้าผู้ครองนครปกครองมาก่อนหลายสมัย เอกสารของล้านช้างส่วนใหญ่ออกนามว่าเมืองลครหรือเมืองนคร เดิมทีนั้นมีพื้นที่อยู่ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงหรือเมืองเก่าท่าแขก ต่อมาได้ย้ายมาอยู่ฝั่งขวาที่เมืองเก่าหนองจันทน์ จากนั้นย้ายขึ้นไปทางตอนเหนือที่บ้านโพธิ์คำ คือตัวเมืองนครพนมในปัจจุบัน เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกตีเมืองนครเวียงจันทน์ได้แล้ว เจ้าเมืองนครพนมหรือเมืองศรีโคตรบองได้ทูลเกล้าถวายต้นไม้เงินต้นไม้ทองแก่สยามในฐานะนครประเทศราช ชื่อของดินแดนนี้ได้ถูกเปลี่ยนนามเป็น "นครพนม" สันนิษฐานว่านามนี้มาจากนครพนมเป็นเมืองที่มีพื้นที่ติดต่อกับทิวเขามากมายทางฝั่งซ้าย หลังเสร็จสิ้นสงครามเจ้าอนุวงศ์แล้ว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ลดฐานะเมืองนครพนมเป็นหัวเมืองชั้นเอก ด้วยความเป็นอาณาจักรที่เคยเจริญรุ่งเรืองมาเก่าก่อน ประกอบกับแม่น้ำโขงเป็นแหล่งวัฒนธรรมของมนุษย์ชาติจากหลายชนเผ่า ดังนั้น นครพนมจึงมีโบราณสถานจำนวนมาก และมีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมและประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์

ครั้นในปีต่อมา พ.ศ. 2459 มีประกาศพระบรมราชโองการเรื่อง โอนอำเภอไชยบุรีไปขึ้นจังหวัดหนองคาย ลงวันที่ 22 มีนาคม 2459 มีความว่าทรงทราบฝ่าละอองธุรีพระบาทว่าอำเภอไชยบุรี ซึ่งเป็นอำเภอขึ้นจังหวัดนครพนมเวลานี้ ( พ.ศ. 2459) มีท้องที่และระยะทางห่างไกลจากจังหวัดนครพนมมาก เป็นการลำบากแก่ราษฎรที่อยู่ในแขวงอำเภอไชยบุรี ผู้มีกิจสุขทุกข์จะมายังจังหวัดนครพนมและทั้งไม่เหมาะแก่การปกครอง จึงทรงพระราชดำริว่าสมควรจะโอนอำเภอไชยบุรี มาขึ้นจังหวัดหนองคาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้โอนอำเภอไชยบุรีมาขึ้นจังหวัดหนองคาย ตั้งแต่บัดนี้ (พ.ศ. 2459) เป็นต้นไป (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 33 หน้า 320 – 321 ลงวันที่ 25 มีนาคม 2459 )

ในปี พ.ศ. 2525 รัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดมุกดาหาร พ.ศ. 2525 แยกอำเภอ มุกดาหารเป็นจังหวัด ตั้งแต่วันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2525

ในวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2559 เกิดอุบัติเหตุเครื่องบินตกมีผู้เสียชีวิต 3 ราย[3]พ.ต.ท.สมบูรณ์ คำบึงรัตนะวงศา ว่าที่ ร.ต.ชินวุฒิ นวลกลับ ดร.ยิ่งยศ อุดรพิมพ์

หน่วยการปกครอง

การปกครองส่วนภูมิภาค

แผนที่อำเภอในจังหวัดนครพนม

การปกครองแบ่งออกเป็น 12 อำเภอ 99 ตำบล 1,130 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น

แบ่งออกเป็น 1 องค์การบริหารส่วนจังหวัด 82 องค์การบริหารส่วนตำบล 1 เทศบาลเมือง 22 เทศบาลตำบล

รายนามผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม

รายนามผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม
ลำดับ รายชื่อ ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง
1 พระพนมนครานุรักษ์(อุ้ย นาครทรรพ) พ.ศ. 2453-2468
2 พระยาสมุทรศักดารักษ์ (เจิม วิเศษรัตน์) พ.ศ. 2467-2472
3 พระพนมนครานุรักษ์ (ฮกไถ่ พิศาบุตร) พ.ศ. 2472-2477
4 พระประสงค์เกษมราษฎร์ (ชุ่ม สุวรรณคุปต์) พ.ศ. 2477-2483
5 พันตรีขุนทะยานราญรอน พ.ศ. 2483-2484
6 นายสุข ฉายาชวลิต พ.ศ. 2484-2485
7 หลวงปริวรรตวรจิตร (จันทร์ เจริญชัย) พ.ศ. 2485-2486
8 นายถวิล สุนทรศารทูล พ.ศ. 2486-2490
9 นายพรหม สูตรสุคนธ์ พ.ศ. 2490-2490
10 ขุนคำนวณวิจิตร พ.ศ. 2490-2495
11 นายชำนาญ ยุวบูรณ์ พ.ศ. 2495-2495
12 นายพินิจ โพธิ์พันธ์ พ.ศ. 2495-2496
13 นายฉลอง รมิตานนท์ พ.ศ. 2496-2500
14 นายสวัสดิ์วงศ์ ปฏิทัศน์ พ.ศ. 2500-2501
15 นายสง่า จันทรสาขา พ.ศ. 2501-2508
16 นายสวัสดิ มีเพียร พ.ศ. 2508-2510
17 นายจรัส สิทธิพงษ์ พ.ศ. 2510-2513
18 พลตรี ยง ณ นคร พ.ศ. 2513-2514
19 นายสุนันท์ ขันอาสา พ.ศ. 2515-2516
20 นายวิเชียร เวชสวรรค์ พ.ศ. 2516-2517
21 นายพิศาล มูลศาสตรสาทร พ.ศ. 2518-2520
22 นายสมพร กลิ่นพงษา พ.ศ. 2520-2527
23 นายสมพร ธนสถิต พ.ศ. 2523-2524
24 นายวิโรจน์ อำมรัตน์ พ.ศ. 2524 - 30 กันยายน 2527
25 นายอุทัย นาคปรีชา 1 ต.ค.2527- 30 กันยายน 2531
26 นายมังกร กองสุวรรณ 1 ตุลาคม 2531- 30 กันยายน 2533
27 พันตรีปรีดา นิสสัยเจริญ 1 ตุลาคม 2533- 30 กันยายน 2536
28 นายสุจริต ปัจฉิมนันท์ 5 ตุลาคม 2536-30 กันยายน 2537
29 นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช 2 ตุลาคม 2537-19 กันยายน 2540
30 นายนาวิน ขันธหิรัญ 20 ตุลาคม 2540-19 กันยายน 2541
31 นายศักดิ์ เกียรติก้อง 1 ตุลาคม 2540-30 กันยายน 2543
32 นายธงชัย อนันตกูล 1 ตุลาคม 2543-30 กันยายน 2544
33 นายวิทย์ ลิมานนท์วราไชย 1 ตุลาคม 2544-30 กันยายน 2546
34 นายนิคม เกิดขันหมาก 1 ตุลาคม 2546-30 กันยายน 2549
35 นายบุญสนอง บุญมี 13 พฤศจิกายน 2549-15 มีนาคม 2552
36 นายพงษ์ศิริ กุสุมภ์ 16 มีนาคม 2552-30 กันยายน 2553
37 นายเริงศักดิ์ มหาวินิจฉัยมนตรี 1 ตุลาคม 2553-25 พฤศจิกายน 2554
38 นายอนุกูล ตังคณานุกูลชัย 29 ธันวาคม 2554-30 กันยายน 2556
39 นายอดิศักดิ์ เทพอาสน์ 1 ตุลาคม 2556-30 กันยายน 2558
40 นายสมชาย วิทย์ดำรงค์ 1 ตุลาคม 2558-30 กันยายน 2561
41 นายสยาม ศิริมงคล 1 ตุลาคม 2561 - ปัจจุบัน

การศึกษา

ในจังหวัดนครพนมมีสถาบันระดับอุดมศึกษาในกำกับสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เช่น มหาวิทยาลัยนครพนม, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครพนม, มหาวิทยาลัยรามคำแหง (มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครพนม), มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยวิทยาลัยสงฆ์นครพนม นอกจากนี้ ยังมีสถาบันอุดมศึกษาในกำกับสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (ปริญญาตรีสายปฏิบัติการ/เทคโนโลยีบัณฑิต) ได้แก่ สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๒ (วิทยาลัยเทคนิคนครพนม, วิทยาลัยเทคนิคบ้านแพง)

การขนส่ง

รถยนต์

จากกรุงเทพมหานคร ให้ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) ถึงจังหวัดสระบุรีบริเวณหลักกิโลเมตรที่ 107 แยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) ผ่านจังหวัดนครราชสีมา ถึงอำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น แล้วแยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 23 ผ่านเข้าสู่จังหวัดมหาสารคาม จากนั้นใช้ทางหลวงหมายเลข 213 ไปจังหวัดกาฬสินธุ์ จนถึงจังหวัดสกลนคร จากนั้นใช้ทางหลวงหมายเลข 22 ตรงเข้าสู่จังหวัดนครพนม รวมระยะทางทั้งสิ้นประมาณ 740 กิโลเมตร

รถโดยสารประจำทาง

สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครพนม มีบริการรถโดยสารประจำทางทั้งรถโดยสารธรรมดาและปรับอากาศ ทั้งรถที่มาจากกรุงเทพฯ และรถที่ไปยังจังหวัดต่างๆ เช่น

  • สาย 26 กรุงเทพฯ - นครพนม ใช้เส้นทาง สระบุรี นครราชสีมา อ.เมืองพล อ.บ้านไผ่ อ.บรบือ มหาสารคาม อ.กันทรวิชัย อ.ยางตลาด กาฬสินธุ์ อ.สมเด็จ บ้านคำเพิ่ม (อ.ภูพาน) สกลนคร บ้านท่าแร่ อ.กุสุมาลย์ ให้บริการโดย บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) (ใช้รถมาตรฐาน ม.4ค ,ม.4ข รถปรับอากาศสองชั้น, ม.1ก รถปรับอากาศชั้นเดียว 15 เมตร) และ บริษัท นครชัยแอร์ จำกัด (ใช้รถมาตรฐาน ม.1ข Silver, ม.1พ Gold+ รถปรับอากาศชั้นเดียว)
  • สาย 930 กรุงเทพฯ - นครพนม ใช้เส้นทาง สระบุรี นครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี หนองหาน สว่างแดนดิน พังโคน พรรณานิคม สกลนคร ท่าแร่ กุสุมาลย์ ให้บริการโดย เชิดชัยทัวร์ (ใช้รถมาตรฐาน ม.2 รถปรับอากาศชั้นเดียว และ ม.4ข รถปรับอากาศสองชั้น) และ โลตัสพิบูลทัวร์ (ใช้รถมาตรฐาน ม.1ข รถปรับอากาศชั้นเดียว และ ม.4กพ รถปรับอากาศสองชั้น มาตรฐานผสม ชั้นบน พ. ชั้นล่าง ก.)
  • สาย 256 อุบลราชธานี - นครพนม ใช้เส้นทาง เรณูนคร ธาตุพนม มุกดาหาร ให้บริการโดย สหมิตรอุบล (ใช้รถมาตรฐาน ม.2 ,ม.1ข รถปรับอากาศชั้นเดียว)
  • สาย 231 อุดรธานี - นครพนม ใช้เส้นทาง หนองหาน สว่างแดนดิน พังโคน พรรณานิคม สกลนคร ท่าแร่ กุสุมาลย์ ให้บริการโดย สหอุดรเดินรถ (ใช้รถมาตรฐาน ม.1ข และ ม.2 รถปรับอากาศชั้นเดียว)
  • สาย 224 อุดรธานี - นครพนม ใช้เส้นทาง หนองคาย บึงกาฬ บ้านแพง ท่าอุเทน ให้บริการโดย รถร่วม บขส. หลายเจ้า (ใช้รถมาตรฐาน ม.2 รถปรับอากาศชั้นเดียว)
  • สาย 555 นครพนม - มุกดาหาร ให้บริการโดย วิทยาทรานสปอร์ต (รถตู้)
  • สาย 586 ขอนแก่น - นครพนม ให้บริการโดย เชิงชุมเดินรถ (ชัยวัฒน์เซอร์วิส) (ใช้รถมาตรฐาน ม.1ข รถปรับอากาศชั้นเดียว)
  • สาย 661 นครพนม - เชียงราย ให้บริการโดย สมบัติทัวร์ (ใช้มาตรฐาน ม.1ข และ ม.1พ รถปรับอากาศชั้นเดียว)
  • สาย 827 นครพนม - ระยอง ให้บริการโดย ชาญทัวร์ (ใช้รถมาตรฐาน ม.4ข และ ม.4พ รถปรับอากาศสองชั้น)
  • สาย 837 ช่วง นครพนม - นครศรีธรรมราช ให้บริการโดย ชาญทัวร์ (ใช้รถมาตรฐาน ม.4พ รถปรับอากาศสองชั้น)
  • สาย 837 ช่วง นครพนม - เกาะสมุย ให้บริการโดย ชาญทัวร์ (ใช้รถมาตรฐาน ม.1พ รถปรับอากาศชั้นเดียว 15 เมตร)
  • สาย 876 เชียงใหม่ - นครพนม ให้บริการโดย เพชรประเสริฐ (ใช้รถมาตรฐาน ม.4พ รถปรับอากาศสองชั้น)
  • สาย 1431 นครพนม - ท่าอุเทน - ศรีสงคราม - นาหว้า (ใช้รถมาตรฐาน ม.3 รถพัดลมชั้นเดียว)

รถโดยสารระหว่างประเทศ

เครื่องบิน

การคมนาคมภายในตัวจังหวัดนครพนม

  • รถสองแถว มีหลายสาย คิดค่าโดยสารตามระยะทาง
  • รถสามล้อเครื่อง คิดค่าโดยสารตามระยะทาง (เป็นรถเหมา)
  • แท็กซี่ คิดค่าโดยสารตามระยะทางบนมิเตอร์

วัฒนธรรม

เทศกาลและงานประเพณีประจำปีในจังหวัดนครพนม เช่น

สถานที่สำคัญ

สถานที่สำคัญแบ่งตามอำเภอ

วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร

ปูชนียสถาน

พระธาตุพนมยามค่ำคืน พระธาตุคู่บ้านคู่เมืองนครพนม

ปูชนียสถานที่สำคัญในจังหวัดนครพนม คือ พระธาตุพนม นอกจากนี้ยังมีพระธาตุอื่น ๆ ที่ชาวจังหวัดนครพนมเคารพนับถือ ได้แก่ พระธาตุประสิทธิ์ พระธาตุท่าอุเทน พระธาตุเรณู พระธาตุศรีคุณ พระธาตุนคร และพระธาตุมหาชัย เป็นต้น ซึ่งถือเป็นเมืองพระธาตุโดยแท้

อุทยานแห่งชาติ สวนสาธารณะ และสวนพฤกษศาสตร์

บุคคลที่มีชื่อเสียง

  • พลตำรวจเอกอดุลย์ แสงสิงแก้วรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
  • นายโชติกะ คำสุขะ นักร้องนำวงอินดี้ชื่อดัง ไปส่งกู บขส.ดู๊
  • พลเอกมานะ รัตนโกเศศ อดีตรองนายกรัฐมนตรี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และเป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครพนม 3 สมัย
  • นายวิทยา อินาลา อดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดนครพนม
  • นายประเสริฐ หอมดี ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ เขตตรวจราชการที่ 12  จังหวัดกาฬสินธุ์  ขอนแก่น  มหาสารคาม  ร้อยเอ็ด
  • นายพีระพงษ์ พลชนะ (ต้อม เรนโบว์) นักร้อง นักดนตรี วงอินทนิล ( 2524 - 2527) ,วงเรนโบว์ ปี 2528 - 2538
  • นายทวี ศรีประดิษฐ์ (อ๊อด อินทนิล, เรนโบว์) นักดนตรี วงอินทนิล ( 2524 - 2527) ,วงเรนโบว์ ปี 2528 - 2538 (ปัจจุบันเสียชีวิต)
  • พลอยริน พลอยพิชชา ตริ่งถิ นางงามและนักแสดง

อ้างอิง

  1. ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
  2. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_57.pdf 2560. สืบค้น 26 มีนาคม 2561.
  3. http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/700674

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

17°24′N 104°47′E / 17.4°N 104.78°E / 17.4; 104.78