ประชา บูรณธนิต
พลตำรวจโท ประชา บูรณธนิต | |
---|---|
หัวหน้าพรรคอธิปัตย์ | |
ดำรงตำแหน่ง 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517 – พ.ศ. 2519 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 16 สิงหาคม พ.ศ. 2446 จังหวัดนครราชสีมา |
เสียชีวิต | 4 มกราคม พ.ศ. 2529 (82 ปี) |
พรรคการเมือง | อธิปัตย์ |
ศาสนา | พุทธ |
พลตำรวจโท ประชา บูรณธนิต อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนคร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ อดีตหัวหน้าพรรคอธิปัตย์ เจ้าของฉายา "นายพลหนังเหนียว"[1][2]
ประวัติ[แก้]
พลตำรวจโท ประชา บูรณธณิต เกิดเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2446 เป็นชาวนครราชสีมา เป็นทายาทสายสกุลของเจ้าเมืองนครราชสีมา เข้าเป็นนักเรียนโรงเรียนนายร้อยตำรวจห้วยจรเข้ นครปฐม รุ่น พ.ศ. 2465 จบหลักสูตรเป็นนายร้อยตำรวจปี พ.ศ. 2468
พลตำรวจโท ประชา ถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคเส้นโลหิตหัวใจอุดตัน เมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2529
การทำงาน[แก้]
ราชการตำรวจ[แก้]
พลตำรวจโท ประชา เคยรับราชการตำรวจ จนได้รับฉายาว่า "นายพลหนังเหนียว" เคยดำรงตำแหน่งสำคัญ อาทิ ผู้บังคับการตรวจภูธรจังหวัดมหาสารคาม ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 7 ผู้บังคับการตำรวจกองปราบปราม[3] สมัยนั้นมีเพียงกองบัญชาการเดียวดูแลพื้นที่ภูธรทั่วประเทศ
ผลงานที่ส่งผลให้พลตำรวจโท ประชา มีชื่อเสียงโด่งดังคือการปราบปรามเสือร้ายมากมาย เช่น เสือผาด เสือเจริญ เสือใบ ฯลฯ[4] การปะทะกับคนร้ายหลายครั้งที่ถึงขั้นต้องวิสามัญเป็นเหตุให้ท่านถูกคนร้ายยิงด้วยปืนหลายครั้งแต่ก็ไม่เข้าเป็นเพียงเขียวช้ำ จนได้รับฉายาว่านายพลหนังเหนียว เฉพาะคดีสำคัญที่ถูกบันทึกไว้เป็นประวัติดีเด่นของกรมตำรวจขณะนั้นมีจำนวน 42 เรื่อง ได้รับเกียรติเป็นนายพลอัศวิน แหวนเพชร คนแรกของกรมตำรวจในสมัยของ พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ ท่านเกษียณอายุราชการในปี พ.ศ. 2506
พลตำรวจโท ประชา เป็นผู้ที่มีความสนใจในเรื่องพระเครื่อง[5][6] และเป็นนายตำรวจที่สนิทสนมกับพลตำรวจตรี ขุนพันธรักษ์ราชเดช (บุตร พันธรักษ์)[7]
งานการเมือง[แก้]
พลำตรวจโท ประชา ได้ร่วมงานการเมืองกับพรรคประชาธิปัตย์ และได้รับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2512 ต่อมาในปี พ.ศ. 2517 ได้ร่วมกับ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์หลายคน จัดตั้งพรรคอธิปัตย์ขึ้น อาทิ นางศิระ ปัทมาคม นายบุญเกิด หิรัญคำ[8] ส่งผู้สมัครลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2518 แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จมากนักได้เพียง 2 ที่นั่ง และเขาเองก็ไม่ได้รับเลือกตั้ง
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2502 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้น 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[9]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ คอลัมน์ ชมรมพระเครื่อง : พระท่ากระดาน กรุเก่าศรีสวัสดิ์ กาญจนบุรี
- ↑ ปฏิรูปตำรวจจากเว็บไซต์ไทยรัฐ
- ↑ http://digi.library.tu.ac.th/thesis/po/0923/15APPENDIX_B.pdf
- ↑ พระในคอนายกฯจากเว็บไซต์ไทยรัฐ
- ↑ https://www.taradplaza.com/product/4032173
- ↑ http://www.kamaitorn.com/shop/kamaitorn82/ViewProduct-15650.html
- ↑ http://thunyagboon.blogspot.com/2013_09_22_archive.html
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งพรรคการเมืองราชกิจจานุเบกษา เล่ม 92 ตอนที่ 193 วันที่ 18 กันยายน 2517
- ↑ แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์