ชาฮัง
ชาฮัง (ญี่ปุ่น: チャーハン/炒飯; โรมาจิ: Chāhan) เป็นข้าวผัดแบบญี่ปุ่น มีส่วนประกอบหลักคือข้าว ผัดเข้ากับส่วนผสมอื่น ๆ และทำให้สุกในกระทะ คาดว่าชาฮังเกิดขึ้นราวปี ค.ศ. 1860 จากชาวจีนอพยพที่เมืองท่าโคเบะ และพัฒนาจนกลายเป็นอาหารหลักภายในครัวเรือนญี่ปุ่น[1] และมีในรายการอาหารชนิดนี้ตามภัตตาคารญี่ปุ่นบางแห่งนอกประเทศ
นอกจากนี้ยังมีการดัดแปลงชาฮังเข้ากับกิมจิ เรียกว่าข้าวผัดกิมจิ
ประวัติ
[แก้]คาดกันว่า ชาฮัง เกิดขึ้นโดยชาวจีนอพยพที่เข้ามาทำงานที่เมืองท่าโคเบะช่วงปี ค.ศ. 1860 ในภาษาจีนจะเรียกข้าวผัดนี้ว่า "เฉ่าฟั่น" (炒飯) ในภาษาญี่ปุ่นแม้จะใช้ตัวคันจิสะกดแบบเดียวกัน แต่จะอ่านออกเสียงเป็น "ชาฮัง"[2]
ส่วนประกอบและวิธีทำ
[แก้]ชาฮังมีวิธีการทำอย่างข้าวผัดแบบทั่ว ๆ ไป ที่ปรุงสุกด้วยการผัดในกระทะ[3][1][3] โดยมีข้าวเป็นส่วนส่วนประกอบหลัก และเพิ่มเติมส่วนประกอบอื่น ๆ ได้ตามชอบ จำพวกผักและเนื้อ เป็นต้นว่า กระเทียม, หัวหอม, เห็ดต่าง ๆ (โดยเฉพาะเห็ดหอม), เต้าหู้, เนื้อหมู, หมูสามชั้น หรืออาจผัดกับส่วนประกอบของอาหารทะเลก็ได้ อาทิ เนื้อปู, ไข่ปลา, แซลมอน, กุ้ง และปลาหมึก, ไข่คน, เนื้อบด, น้ำซุปหลัก (น้ำต้มเนื้อไก่) และอื่น ๆ[1][4][5][6][7][8] ข้าวที่ใช้สำหรับผัดนั้นต้องเป็นข้าวที่สุกและหรือเป็นข้าวที่เหลืออยู่[1][2] โดยใช้น้ำมันคาโนลา, น้ำมันงา และน้ำมันทานตะวันในการผัด[1][7] ปรุงรสด้วยซีอิ๊ว, ซอสหอยนางรม, น้ำมันงา, เกลือ, พริกไทย และเนื้อปลาโออบแห้งหรือหรือปลาทูน่าอบแห้ง[7][8] อาจใช้ใบชิโซะมาแต่งกลิ่น[9] และสาหร่ายทะเลมาตกแต่งก็ได้[9]
ควรตั้งกระทะให้ร้อนก่อนที่จะทำชาฮัง และควรใช้ข้าวที่ยังอุ่น ๆ อยู่ เพราะวิธีการทั้งสองนั้นจะมิทำให้ข้าวนั้นติดกระทะ[2] ส่วนข้าวที่จะลงไปผัดนั้นควรแห้งซึ่งทำได้ด้วยการแช่เย็นเสียก่อนเพื่อให้สะดวกต่อกระบวนการปรุงอาหาร[1][9]
ความหลากหลาย
[แก้]นอกจากนี้ยังมีการดัดแปลงชาฮังเข้ากับกิมจิอันเป็นส่วนประกอบหลัก เรียกว่าข้าวผัดกิมจิ มีรสชาติตั้งแต่รสอ่อนจนถึงรสจัด[3]
ต่างประเทศ
[แก้]ชาฮังมีอยู่ในรายการอาหารในภัตตาคารบางแห่งในประเทศฟิลิปปินส์และสหรัฐ[10][11]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 Samuels, D.; Robbins, H. (2013). My Japanese Table: A Lifetime of Cooking with Friends and Family. Tuttle Publishing. p. pt272–273. ISBN 978-1-4629-0638-3.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 Ono, T.; Salat, H. (2013). Japanese Soul Cooking: Ramen, Tonkatsu, Tempura, and More from the Streets and Kitchens of Tokyo and Beyond. Potter/TenSpeed/Harmony. pp. 397–398. ISBN 978-1-60774-353-8.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 Sakamoto, T.; Ltd, M.C.I.P. (2013). Cook Japanese with Tamako: Hearty Meals for the Whole Family. Marshall Cavendish International (Asia) Private Limited. pp. 32–33. ISBN 978-981-4516-87-7.
- ↑ Hachisu, N.S.; Miura, K. (2012). Japanese Farm Food. Andrews McMeel Publishing. p. 152. ISBN 978-1-4494-1829-8.
- ↑ Stallings, D.; Butler, S.E. (2011). Fodor's Japan. Fodor's Japan. Fodor's. p. 834. ISBN 978-0-307-48049-1.
- ↑ "IN PHOTOS: Niu by Vikings debuts 9 new dishes for a limited time". Rappler. October 17, 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-16. สืบค้นเมื่อ April 25, 2016.
- ↑ 7.0 7.1 7.2 "Receita de tako chahan: arroz frito com polvo e cogumelo shitake". Mundo-Nipo (ภาษาโปรตุเกส). September 14, 2015. สืบค้นเมื่อ April 25, 2016.
- ↑ 8.0 8.1 "Receita de ninniku chahan: arroz frito com alho, shissô e katsuobushi". Mundo-Nipo (ภาษาโปรตุเกส). July 15, 2015. สืบค้นเมื่อ April 25, 2016.
- ↑ 9.0 9.1 9.2 "Garlic Fried Rice (Chahan)". The Washington Post. April 22, 2016. สืบค้นเมื่อ April 25, 2016.
- ↑ "Heaven in bowl of ramen". Sun.Star Cebu. April 8, 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-21. สืบค้นเมื่อ April 25, 2016.
- ↑ "Plate Lab: Izakaya Seki's garlic fried rice is a bowl of late-night comfort". The Washington Post. December 18, 2014. สืบค้นเมื่อ April 25, 2016.