มันจู

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มันจู
ประเภทวางาชิ
แหล่งกำเนิดญี่ปุ่น
ภูมิภาคเอเชียตะวันออก
ส่วนผสมหลักแป้งประกอบอาหาร, ผงข้าว, บักวีต, ถั่วแดงกวน

มันจู (ญี่ปุ่น: 饅頭, まんじゅうโรมาจิmanjū) เป็นขนมญี่ปุ่นแบบดั้งเดิม มันจูมีหลายรูปแบบ ส่วนใหญ่ผิวนอกทำจากแป้งประกอบอาหาร, ผงข้าว, คูซุ และบักวีต แล้วใส่ไส้อังโกะ (ถั่วแดงกวน) มักทำจากถั่วอาซูกิต้มกับน้ำตาล บางครั้งมันจูทำโดยใส่ไส้อื่นเช่นไส้เกาลัดกวน

ประวัติ[แก้]

มันจูเป็นขนมทำจากแป้ง (แทนที่การทำจากข้าวแบบโมจิ) แบบดั้งเดิมของญี่ปุ่น มีต้นกำเนิดจากประเทศจีนในคำเรียกภาษาจีนว่า หมั่นโถว (หมานโถว) แต่เมื่อเข้ามาในประเทศญี่ปุ่นจึงรู้จักในคำเรียกว่า มันจู ในปี ค.ศ. 1341 ทูตชาวญี่ปุ่นผู้กลับมาจากจีนได้นำหมั่นโถวกลับมาด้วยและเริ่มนำมาขายในคำเรียกว่า นาระ-มันจู กล่าวกันว่านี่เป็นต้นกำเนิดของมันจูญี่ปุ่น ตั้งแต่นั้นมา คนญี่ปุ่นก็นิยมรับประทานมันจูมาเป็นเวลาเกือบ 700 ปี ปัจจุบันสามารถหาได้ตามร้านขนมหวานของญี่ปุ่นหลายแห่ง มันจูมีราคาถูกจึงเป็นเหตุผลที่ได้รับความนิยม

รูปแบบต่าง ๆ[แก้]

มิซุ มันจู (水饅頭, Mizu manjū)
อูซูกาวะ มันจู (薄皮饅頭, Usukawa manjū)

ในบรรดามันจู ที่มีอยู่มากมาย มีบางรูปแบบที่พบได้บ่อยกว่าแบบอื่น ๆ

  • มัตจะ (ชาเขียว) มันจู เป็นหนึ่งในรูปแบบที่พบได้บ่อย ผิวนอกของมันจูมีรสชาเขียวและมีสีเขียว
  • มิซุ (น้ำ) มันจู มักรับประทานตามธรรมเนียมในหน้าร้อนและมีไส้ถั่วปรุงรส ผิวนอกของมิซุ มันจูทำจากคูซูโกะ (ผงคูซุ) ซึ่งทำให้มันจูมีลักษณะโปร่งแสงเหมือนเยลลี[1]
  • มันจูยังมีการไส้ใส้ที่หลากหลาย เช่น ครีมรสส้ม
  • เช่นเดียวกับอาหารญี่ปุ่นหลายอย่าง ในบางส่วนของญี่ปุ่น สามารถพบมันจูที่เอกลักษณ์เฉพาะในภูมิภาคนั้น ๆ ได้ เช่น โมมิจิ มันจูรูปร่างใบเมเปิลในฮิโรชิมะและมิยาจิมะ
  • มันจูรูปแบบของจังหวัดไซตามะเรียกว่า จูมังโงกุ มันจู

ดูเพิ่ม[แก้]

  • ไดฟูกุ
  • หมั่นโถว (饅頭 หมานโถว) ต้นกำเนิดของคำว่ามันจู แม้ว่าในภาษาจีนปัจจุบัน คำที่ใช้เรียกขนมแป้งหนึ่งใส่ไส้คือ เปาจึ

อ้างอิง[แก้]

  1. Schilling, Christine (2007). "Translator's Notes." in Kirishima, Takeru (2002). Kanna Volume 2. California: Go! Comi (Go! Media Entertainment, LLC). ISBN 978-1-933617-56-5

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]