ข้ามไปเนื้อหา

ยาคูลท์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยาคูลท์
ยาคูลท์ ที่วางขายในประเทศไทย
ประเภทเครื่องดื่ม
อุตสาหกรรมการผลิตยาคูลท์ ฮนชะ
ผู้จัดจำหน่ายยาคูลท์ ฮนชะ
ประเทศต้นกำเนิดญี่ปุ่น
เปิดตัวค.ศ. 1935
สีลูกท้ออ่อน
ส่วนผสมส่วนผสม

ยาคูลท์ (ญี่ปุ่น: ヤクルトโรมาจิYakuruto; โรมัน: Yakult) เป็นเครื่องดื่มอย่างนมโปรไบโอติกส์ เกิดจากกระบวนการหมักของนมพร่องมันเนยกับน้ำตาลและแบคทีเรียแลคโตบาซิลลัส (Lactobacillus casei Shirota) ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่พบในระบบดูดซึมอาหารของมนุษย์ ซึ่งส่งผลช่วยให้ระบบในร่างกายของมนุษย์ทำงานได้ดีขึ้น ชื่อของยาคูลท์มาจากภาษาเอสเปรันโต คำว่า jahurto รูปเก่าของ jogurto ซึ่งหมายถึงโยเกิร์ต[1]

ยาคูลท์นั้น ศาสตราจารย์มิโนรุ ชิโรตะ อาจารย์จากมหาวิทยาลัยเกียวโต คิดค้นขึ้นใน พ.ศ. 2473 และต่อมาใน พ.ศ. 2478 เขาได้ก่อตั้งบริษัทยาคูลท์ (Yakult Honsha Co., Ltd.) ที่เขตมินาโตะ จังหวัดโตเกียว ปัจจุบันได้มีการผลิตและจำหน่ายยาคูลท์ไปทั่วโลก

ทีมเบสบอลโตเกียวยาคูลท์สวอลโลวส์ (Tokyo Yakult Swallows) ได้รับการตั้งชื่อตามบริษัทยาคูลท์ภายหลังที่บริษัทยาคูลท์ได้ซื้อทีมในปี พ.ศ. 2513

พ.ศ. 2514 ยาคูลท์ เริ่มวางจำหน่ายในประเทศไทย

คุณค่าทางโภชนาการ

[แก้]

ยาคูลท์มาตรฐาน (ไม่รวมรูปแบบที่มีการเปลี่ยนแปลง เช่นในยาคูลท์ไลท์) ประกอบด้วย: [2]

  • น้ำตาล (ซูโครสเดกซ์โทรส) เพื่อความสมดุลของรสเปรี้ยวกับความหวาน
  • ผงนมไขมันต่ำ
  • รสธรรมชาติ
  • สิ่งมีชีวิตแบคทีเรียแลกโตบาซิลลัส คาเซอิ สายพันธุ์ ชิโรต้า (Lactobacillus Casei Shirota) จำนวน 8 พันล้านตัว ต่อ 1 ขวดขนาด 80 มิลลิลิตร (ความเข้มข้น 10 8 CFU/ml)
  • น้ำ

ยาคูลท์มาตรฐานประกอบด้วยน้ำตาล 18 กรัม ในทุก ๆ 100 กรัม, ซึ่งอยู่ในรูปแบบขวดขนาด 80 มิลลิลิตร นี่คือความเข้มข้นที่สูงกว่าระดับที่กำหนดไว้ที่ระดับ "HIGH" โดยสำนักงานมาตรฐานอาหารแห่งสหราชอาณาจักร (ตามที่ได้กำหนดความเข้มข้นของน้ำตาลไว้ที่ระดับสูงกว่า 15 กรัม ต่อ 100 กรัม) [3]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ที่มาของชื่อยาคูลท์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-20. สืบค้นเมื่อ 2006-04-14.
  2. "Yakult Australia – Nutritional Information". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-15. สืบค้นเมื่อ 2007-01-16.
  3. "Food Standards Agency – Healthy Diet – Sugars". Eatwell.gov.uk. 2011-03-29. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-01-11. สืบค้นเมื่อ 2011-11-17.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]