ยากินิกุ
ยากินิกุ (ญี่ปุ่น: 焼き肉 หรือ 焼肉; โรมาจิ: yakiniku; "เนื้อย่าง") เป็นคำศัพท์ภาษาญี่ปุ่นที่มีความหมายอย่างกว้างที่สุด คือ อาหารประเภทเนื้อย่าง "ยากินิกุ" แต่เดิมหมายถึง "บาร์บีคิว" แบบตะวันตก คำศัพท์นี้ได้เป็นที่นิยมขึ้นมาจากการกล่าวถึงในตำราอาหารตะวันตก "เซโยเรียวริตสึ" โดยคานางากิ โรบุง นักเขียนชาวญี่ปุ่น ใน ค.ศ. 1872 (ยุคเมจิ)[1] ภายหลังคำนี้สามารถหมายความรวมถึงบาร์บีคิวเกาหลีในช่วงยุคโชวะได้[2][3][4][5] ในปัจจุบัน "ยากินิกุ" หมายถึงรูปแบบการปรุงอาหารประเภทเนื้อขนาดพอดีคำ (โดยทั่วไปเป็นเนื้อวัวหรือเครื่องในสัตว์) และผักบนตะแกรงย่างหรือกระทะก้นแบนเหนือเปลวเพลิงจากถ่านไม้ซึ่งเปลี่ยนเป็นคาร์บอนโดยกระบวนการการกลั่นทำลาย (sumibi, 炭火) หรือผ่านการย่างด้วยแก๊สหรือไฟฟ้า ที่มาของยากินิกุร่วมสมัยได้รับการยอมรับโดยทั่วไปว่ามาจากบาร์บีคิวเกาหลี หนึ่งในอาหารที่มีความนิยมอย่างแพร่หลายในบรรดาอาหารเกาหลี[6][7]
ก่อน ค.ศ. 1871 การบริโภคเนื้อวัวเป็นสิ่งต้องห้าม แต่ภายหลังการฟื้นฟูเมจิได้ตรากกฎหมายอนุญาตให้บริโภคได้[8] ซึ่งเป็นหนึ่งในความพยายามที่จะนำวัฒนธรรมตะวันตกเข้าสู่ประเทศ[9] จักรพรรดิเมจิเป็นหนึ่งบุคคลที่มีความสำคัญในการส่งเสริมการบริโภคเนื้อวัวด้วยการเสวยเนื้อโคในที่สาธารณะใน ค.ศ. 1873[10][11]
รูปแบบร้านยากินิกุในปัจจุบันดัดแปลงมาจากร้านอาหารเกาหลีในโอซากะและโตเกียวที่เปิดช่วง ค.ศ. 1945 โดยชาวเกาหลีในประเทศญี่ปุ่น[12][13] ในร้านยากินิกุ ลูกค้าจะสั่งวัตถุดิบที่เตรียมไว้ให้ (เดี่ยวหรือชุด) และนำมาเสิร์ฟให้ที่โต๊ะ ลูกค้าเป็นผู้ย่างวัตถุดิบบนตะแกรงย่างติดตั้งบนโต๊ะ วัตถุดิบปรุงสุกแล้วจะนำไปจิ้มกับซอสทาเระที่ทำมาจากซอสถั่วเหลือง ผสมกับสาเก มิริง น้ำตาล กระเทียม น้ำผลไม้ และเซซาเมะ ก่อนรับประทาน[14][15]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "西洋料理通. 巻上,附録 / 仮名垣魯文 編; 暁斎 画".
- ↑ Modern Japanese cuisine: food, power and national identity, Katarzyna Joanna Cwiertka
- ↑ Lie, John (2001). Multiethnic Japan. Harvard University Press, 77 ISBN 0-674-01358-1
- ↑ japan-guide.com [1] "Yakiniku-ya specialize in Korean style barbecue, where small pieces of meat are cooked on a grill at the table. Other popular Korean dishes such as bibimba are also usually available at a yakiniku-ya."
- ↑ Chantal Garcia Japanese BBQ a best kept L.A. secret, Daily Trojan, 11/10/04
- ↑ Race, Ethnicity and Migration in Modern Japan: Indigenous and colonial others, Michael Weiner (P236) [2]
- ↑ "「焼肉」名前の由来とは... え、朝鮮半島の南北対立が背景なの?【焼肉の日】". ハフポスト (ภาษาญี่ปุ่น). 2016-08-29. สืบค้นเมื่อ 2021-11-09.
- ↑ (ในภาษาญี่ปุ่น) 日本における肉食の歴史 เก็บถาวร 2005-12-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 歴史と世間のウラのウラ
- ↑ (ในภาษาญี่ปุ่น) 館内展示パネル-洋食 欧米食と和食の融合 เก็บถาวร 2012-10-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Kikkoman Institute for International Food Culture
- ↑ Donald Ritche What made Japan join the fast-food nations?, The Japan Times, March 11, 2007.
- ↑ "PORTA統合のお知らせ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-11. สืบค้นเมื่อ 2023-01-02.
- ↑ pulgogi.net "History of Yakiniku" [3] "昭和20年頃、焼肉屋のルーツといわれる東京の「明月館」、大阪千日前の「食道園」が開店しました。" ・ "昭和40年代 朝鮮半島問題がきっかけとなって、韓国を支持する派閥が自らの店を「韓国料理屋」と名乗りました。これに伴い、それまで全てが「朝鮮料理」「ホルモン屋」であったモノが、北朝鮮を支持する経営者が「焼肉店」を名乗るようになりました。これは苦肉の策で、プルゴギを日本語に直訳しました"
- ↑ "【クックドア】日本の焼肉屋の歴史をご紹介". www.cookdoor.jp. สืบค้นเมื่อ 2021-11-09.
- ↑ "焼肉のたれ 辛口". エバラ食品. สืบค้นเมื่อ Sep 27, 2019.
- ↑ "焼肉のたれ 醤油味". エバラ食品. สืบค้นเมื่อ Sep 27, 2019.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Yakiniku Web, the official site of the All Japan Yakiniku Association (in Japanese)
- 'Life picture of east Asia' 2008-2 Kanagawa University (in Japanese), p. 112