ซัตสึมาอาเงะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ซัตสึมาอาเงะ
ประเภทอาหารทอด
แหล่งกำเนิดธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
ภูมิภาคจังหวัดคาโงชิมะ
ส่วนผสมหลักเนื้อปลา, ผัก
ซัตสึมาอาเงะแบบที่ทำเป็นแผ่นกลม
ซัตสึมาอาเงะในร้านขาย

ซัตสึมาอาเงะ (ญี่ปุ่น: 薩摩揚げโรมาจิsatsuma-age) เป็นอาหารญี่ปุ่น ที่ทำโดยการนำเนื้อปลาบดมาปั้นเป็นก้อนแล้วทอดในน้ำมัน จัดเป็นคามาโบโกะชนิดหนึ่ง

ชื่อเรียกซัตสึมาอาเงะนั้นใช้เรียกในจังหวัดอิชิกาวะ โทยามะ นางาโนะ และชิซึโอกะ และพื้นที่ส่วนใหญ่ทางตะวันออกของญี่ปุ่น ส่วนทางญี่ปุ่นตะวันตกจะเรียกว่า เท็มปุระ (แต่จะแตกต่างจาก เท็มปุระ ทั่วไปตรงที่ทอดโดยไม่ชุบแป้ง)[1]

ภาพรวม[แก้]

เนื้อปลาบดปรุงรสด้วยเกลือและน้ำตาลปั้นเป็นก้อนแล้วทอดในน้ำมันอาจทำเป็นรูปร่างต่าง ๆ เช่น กลม สี่เหลี่ยม นอกจากนี้ยังมีอาจใช้โกโบ หมึก ไข่ต้ม และส่วนผสมอื่น ๆ มาห่อรวมด้วย

ในพื้นที่ประมง มักใช้ปลาที่จับได้ในปริมาณมากในท้องถิ่นเป็นส่วนผสม ปลาที่ใช้มีหลายชนิดเช่น ปลาอิวาชิ, ปลาฉลาม, ปลาโอแถบ, ปลาซาบะ และ ปลาฮกเกะ ในกรณีส่วนใหญ่จะใช้ปลาตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปปนกัน นอกจากที่ทำโดยใช้แค่เนื้อปลาบดล้วน ๆ แล้ว ยังอาจผสม ผัก ต่าง ๆ เช่น เห็ดหูหนู เบนิโชงะ หอมใหญ่ และ ต้นหอม หรือรวมถึงอาหารทะเล เช่น พวกปลาขนาดเล็ก หมึกสาย หมึกกล้วย และ กุ้งฝอย แล้วก็อาจมีการใส่เครื่องปรุงเพิ่มอีกด้วย

ซัตสึมาอาเงะอาจใช้กินทั้ง ๆ อย่างนั้น หรือนำไปย่างอ่อน ๆ แล้วจิ้มกับโชยุใส่ขิง หรือ โชยุใส่คาราชิ นอกจากนี้ยังใช้เป็นส่วนผสมของ โอเด็ง อูดง ซาราอูดง และอาหารประเภทต้ม

ที่มา[แก้]

ต้นกำเนิดของซัตสึมาอาเงะนั้นไม่เป็นที่แน่ชัด แต่เชื่อกันว่ามาจากการที่ชิมาซุ นาริอากิระ ผู้นำตระกูลชิมาซุรุ่นที่ 28 ผู้ครองแคว้นซัตสึมะุช่วงปลายยุคเอโดะ ต้องการพัฒนาเศรษฐกิจของหมู่บ้านชาวประมงที่นั่น จึงได้สนับสนุนให้ชาวบ้านจับปลามาทำเป็นอาหารโดยทอดน้ำมันขาย[2]

อ้างอิง[แก้]

  1. 吉川誠次、大堀恭良 (2002年). 日本・食の歴史地図. 生活人新書. pp. 81, 88. ISBN 4-14-088016-3.
  2. つけあげ(薩摩揚げ、さつまあげ). Living Eye. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-03. สืบค้นเมื่อ 2015-06-12.