ประวัติศาสตร์ของชาในญี่ปุ่น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พิธีการดื่มชาญี่ปุ่น

ประวัติศาสตร์ของชาในประเทศญี่ปุ่น ถูกบันทึกครั้งแรกสุดโดยพระชาวญี่ปุ่นในยุคคริตศตวรรคที่ 9 ชาที่ได้มาเป็นเครื่องดืมของพระในญี่ปุ่น เริ่มต้นเมื่อพระชาวญี่ปุ่นได้เดินทางไปยังจีนเพื่อศึกษาวัฒณธรรมต่าง ๆ และได้นำชากลับมายังญี่ปุ่น ชาชนิดแรกที่นำกลับมาจากจีนเป็นชาขนมปัง ในบันทึกเก่าแก่ของญี่ปุ่นบันทึกชื่อของพระรูปหนึ่ง ชื่อว่าไซโจ ที่ได้นำเมล็ดชาชุดแรกกลับมายังญี่ปุ่น ในปี พ.ศ. 1348 (ค.ศ. 805) และอีกชุดหนึ่งจากพระอีกรูปหนึ่งชื่อคุไค ในปีพ.ศ. 1349 (ค.ศ. 806) ต่อมา ชาได้กลายมาเป็นเครื่องดื่มของชนชั้นสูงในสมัยราชวงษ์ซางะ ซึ่งดำริให้ปลูกต้นชา โดยนำเข้าเมล็ดพันธ์จากจีน และเริ่มพัฒนาสายพันธุ์ในญี่ปุ่นนับแต่นั้นมา

บันทึกของชา[แก้]

บันทึกของชา หรือ กิซซะ โยโจกิ เริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1734 (ค.ศ. 1191) พระในนิกายเซนที่มีชื่อเสียงชื่อว่าเออิไซ (พ.ศ. 1684-1758) ได้ในเมล็ดชาดำกลับมายังเกียวโต เมล็ดบางส่วนได้ถูกมอบให้กับพระอีกรูปหนึ่งคือเมียวเอ โชนิน และกลายมาเป็นต้นกำเนิดของชาอุจิ เออิไซได้เขียนหนึงสือที่เก่าแก่ที่สุดที่บันทึกเกี่ยวกับชา คือ "กิซซะ โยโจกิ" (วิถีการดื่มชาเพื่อสุขภาพ) โดยแบ่งออกเป็นสองเล่ม เขียนในปี พ.ศ. 1754 (ค.ศ. 1211) ในขณะที่ได้ไปยังจีนเป็นครั้งที่สอง และครั้งสุดท้ายในบันทึกของเออิไซ ในบรรทัดแรกเขียนไว้ว่า "ชาเป็นสุดยอดของยาและเวชภัณฑ์ซึ่งสามารถทำให้ชีวิตหนึ่งเติมเต็มและสมบูรณ์" ในบทนำได้อธิบายวิธีที่จะดื่มชาเพื่อที่จะได้ผลดีต่ออวัยวะหลักทั้งห้าของร่างกาย โดยเฉพาะที่หัวใจ ในหนังสืออธิบายว่าชาเป็นยาคุณภาพ ที่มีความสามารถต่าง ๆ เช่น ช่วยบรรเทาอาการเมาค้าง จากการใช้สารกระตุ้น รักษาจุดด่างดำ ดับกระหาย แก้ท้องอืด เหน็บชา ป้องกันความเหนื่อยล้า ช่วยระบบปัสสาวะและการทำงานของสมอง ในส่วนที่หนึ่งของหนังสืออธิบายรูปร่างของต้นชา ดอกชา ใบชา ร่วมไปถึงวิธีปลูกชา และการเก็บใบชา ในส่วนที่สองอธิบายถึงข้อกำหนด ปริมาณการดื่ม และวิธีดื่ม สำหรับการรักษาโรคทางกายภาพในแต่ละบุคคล

เออิไซยังแนะนำชาให้กับชนชั้นนักรบได้บริโภค โดยเริ่มจากกลุ่มการเมืองในสมัยเฮอัง เออิไซรู้ว่าซาเนโตโมะ มินาโมโตะ โชกุนของเหล่าซามูไร มีนิสัยชอบดืมสังสรรค์ทุกวันยามค่ำคืน ในปี พ.ศ. 1757 (ค.ศ. 1214) เออิไซจึงนำหนังสือที่ตนเองเขียนให้กับโชกุน และบอกถึงประโยชน์ที่จะได้จากการดื่มชา หลังจากนั้นขนบธรรมเนียมการดื่มชาจึงเป็นที่แพร่หลายในหมู่ซามูไร

ไม่นานชาเขียวได้มาเป็นเครื่องดื่มในชนชั้นผู้ดีของญี่ปุ่นและพระสงฆ์ด้วยเช่นกัน แม้ว่าผลผลิตที่ได้จะเพิ่มพูนอย่างรวดเร็วและหาได้ง่ายขึ้น แต่ก็ถูกจำกัดไว้สำหรับชนชั้นสูงเท่านั้น

การอบแห้งเข้าสู่ญี่ปุ่น[แก้]

ช่วงคริตศตวรรษที่ 14 สมัยราชราชวงศ์หมิง ญี่ปุ่นมีปฏิสัมพันธ์กับจีนทางตอนใต้ โดยแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมต่าง ๆ ซึ่งกันและกัน การค้าขายส่งวัตถุดิบของชาเข้ามาในญี่ปุ่น และนำวิธีการอบแห้งใบชาเข้ามาในคิวชู ก่อนหน้าจะมีการอบแห้งในญี่ปุ่นใช้วิธีอบไอน้ำในการอบชา (คริตศตวรรษ์ที่ 9) จนเปลี่ยนมาใช้เป็นการอบแห้ง (คริตศตวรรษ์ที่ 13) ทำให้ชาเหล่านี้มีความแตกต่างจากชาใดๆ

วิวัฒนาการของวัฒนธรรมการดื่มชา[แก้]

การอ่านบทกวี เขียนอักษรจีน วาดภาพ หรือถกกันถึงหลักปรัชญาระหว่างที่ดื่มชาไปด้วย เป็นงานอดิเรกที่นิยมกันในจีน ระหว่างช่วงคริตศตวรรษที่ 12 ถึง 13 และยังแพร่หลายมายังญี่ปุ่น รวมไปถึงสังคมของเหล่าซามูไร เป็นศตวรรษแล้วที่พีธีดื่มชาสมัยใหม่ถูกพัฒนาขึ้นโดยพระนิกายเซน โดยต้นตำรับเริ่มต้นที่เซนโนะริคิว (พ.ศ. 2065-2134) แต่แท้จริงแล้วทั้งชาและพิธีดื่มชาเริ่มก่อตัวขึ้นระหว่างการทูตของระบบสังคมศักดินา ในการติดต่อสัมพันธ์สำคัญ ๆ ต่างของคนระดับสูงของระบบสังคมศักดินา จะเป็นพิธีกรรมดื่มชาที่เคร่งคัดกฎระเบียบ ในบรรยากาศที่ตกแต่งอย่างเรียบง่าย จนท้ายคริสต์ศตวรรษที่ 16 กระแสพิธีดื่มชาเป็นที่แพร่หลายและยอมรับโดยทั่วไป ทำให้เกิดแบบแผนของชาญี่ปุ่นขึ้น เมื่อชาเขียวถูกผลิตได้เป็นจำนวนมาก ทำให้ชาเขียวเป็นสุดยอดเครื่องดื่มประจำชาติญี่ปุ่น

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]