โยกัง (ขนม)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โยกัง
ประเภทวางาชิ
แหล่งกำเนิดญี่ปุ่น
ส่วนผสมหลักวุ้น น้ำตาล ถั่วแดงกวน หรือถั่วขาวกวน
โยกังชาเขียวรูปทรงลูกบาศก์

โยกัง (ญี่ปุ่น: 羊羹โรมาจิYōkan) เป็นวางาชิ (ขนมญี่ปุ่น) ที่ทำจากถั่วแดงกวน วุ้น และน้ำตาล มักจำหน่ายในรูปทรงสี่เหลี่ยมและหั่นรับประทานเป็นชิ้น มีสองชนิดหลัก ๆ คือ เนริโยกัง (煉羊羹, Neriyōkan) และ มิซูโยกัง (水羊羹, mizuyōkan) คำว่า "มิซุ" มีความหมายว่า "น้ำ" แสดงว่าใช้น้ำในการทำมากกว่าปกติ มิซูโยกังมักนำมาแช่เย็นและรับประทานในฤดูร้อน

ชนิด[แก้]

แม้ว่าโดยทั่วไปแล้วโยกังที่พบในญี่ปุ่นและต่างประเทศจะทำจากถั่วแดงกวน แต่โยกังที่ทำจากถั่วขาวกวน (ญี่ปุ่น: しろあん, 白餡โรมาจิshiro an) ก็พบได้ทั่วไปเช่นกัน โยกังชนิดนี้มีสีน้ำนมและโปร่งแสง มีรสชาติอ่อนกว่าโยกังที่ทำจากถั่วแดงกวน ด้วยเหตุนี้จึงสามารถแต่งกลิ่นและแต่งสีได้โดยใช้มัตจะ (ผงชาเขียว)

นอกจากนี้ โยกังยังอาจมีส่วนผสมด้วยเกาลัดสับ[1] ลูกพลับ ถั่วอาซูกิเชื่อมทั้งเมล็ด มะเดื่อ และ มันเทศ (อิโมโยกัง) และส่วนผสมอื่น ๆ น้ำตาลยังสามารถแทนที่ด้วยน้ำผึ้ง น้ำตาลทรายแดง หรือกากน้ำตาล เพื่อเปลี่ยนรสชาติของโยกังที่ปรุง นอกจากนี้ยังมี ชิโอโยกัง ซึ่งใช้เกลือในปริมาณเล็กน้อย

ประวัติ[แก้]

เดิมโยกังเป็นเยลลี่จีนทำจากเจลาตินที่ได้มาจากเนื้อแกะต้ม คำว่า "โยกัง" มีความหมายตามตัวอักษรว่า "ซุปแกะข้น" (羊 แกะ + 羹 เกิง หรือซุปข้น) เผยแพร่ให้เป็นที่รู้จักในประเทศญี่ปุ่นโดยชาวพุทธนิกายเซนในยุคคามากูระและยุคมูโรมาจิ ราวปี ค.ศ. 1191 เนื่องจากศาสนาพุทธห้ามการฆ่าสัตว์ จึงเปลี่ยนจากเจลาตินจากสัตว์มาเป็นแป้งสาลีและถั่วอาซูกิ วุ้นถูกนำมาใช้ในโยกังหลังจากถูกค้นพบในราวปี ค.ศ. 1658 ในประเทศญี่ปุ่น รูปแบบนี้กลายเป็นพื้นฐานของโยกังสมัยใหม่[2] หนึ่งในขนมญี่ปุ่นที่ได้รับความนิยมมากที่สุด มีการพัฒนาเพิ่มเติมในช่วงยุคเอโดะ เนื่องจากน้ำตาลมีจำหน่ายมากขึ้น สามารถเก็บไว้ได้นานโดยไม่ต้องแช่เย็นเว้นแต่เปิดบรรจุภัณฑ์ และเป็นกลายสินค้าของขวัญชิ้นหลัก

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 栗子羊羹 at 搜搜问问 wenwen.soso.com in Chinese
  2. "'Yōkan', Japan Wagashi Association, 2011 (translated from Japanese)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-28. สืบค้นเมื่อ 2011-09-17.