สมัน (อาหาร)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมัน
ชื่ออื่นซามา
ประเภทเครื่องโรยหน้า
แหล่งกำเนิดประเทศไทย
ภูมิภาคปตานี
ส่วนผสมหลักเนื้อกุ้ง, เนื้อปลา, ส้มแขก, กะทิ, พริกแห้ง, หอมแดง, กระเทียม, น้ำตาลแว่น, มะพร้าวคั่ว, เกลือ

สมัน หรือ ซามา ในภาษามลายูปัตตานี เป็นเครื่องโรยหน้าชนิดหนึ่งของไทย พบได้ทั่วไปในจังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา และจังหวัดนราธิวาส โดยจะรับประทานเคียงเป็นหน้าข้าวเหนียว ข้าวเหนียวมูน ต่างไส้ขนมปัง เคียงกับนาซิดาแฆ[1] นาซิตีแนะ[2] หรือโรยหน้าขนมกอและลือเมาะ[3] มีลักษณะและหน้าที่อย่างเดียวกันกับกระฉีก หากแต่กระฉีกจะมีรสชาติหวานมันและใช้มะพร้าวขูดเป็นวัตถุดิบหลัก[4] สมันมีสองรูปแบบหลักคือ สมันกุ้ง (หรือ ซามาอูแด) กับสมันปลา (หรือ ซามาอีแก) และยังมีสมันรูปแบบอื่นตามวัตถุดิบหลัก ถือเป็นอาหารที่มีอายุการเก็บรักษาได้นานแรมเดือน และกลายเป็นหนึ่งในเสบียงกรังสำหรับชาวมุสลิมที่ไปแสวงบุญที่นครมักกะฮ์ในยุคก่อน

โดยวิธีการทำสมัน จะนำกระเทียม หอมแดง พริกแห้ง (บ้างก็ไม่ใส่พริก) ตำ (หรือปั่น) พอละเอียดแล้วใส่กะทิ ทำเป็นพริกแกง ส่วนเนื้อกุ้งและเนื้อปลานำมาตำ (หรือปั่น) ให้ละเอียดเช่นกัน จากนั้นให้นำพริกแกงมาผัดในกระทะจนหอม แล้วใส่เนื้อกุ้งและปลาที่ละเอียดแล้ว และใส่ส้มแขกลงไป จากปรุงรสด้วยน้ำตาลแว่นและเกลือ ผัดให้แห้งราวหนึ่งชั่วโมงจึงแล้วเสร็จ[3][5] สมันบางสูตรอาจใช้มะพร้าวคั่ว เนื้อปลาย่าง หอมแดง ตะไคร้ เกลือ และน้ำตาล เป็นวัตถุดิบหลัก[2]

อ้างอิง[แก้]

  1. "นาซิดาแฆ". Pattani Heritage City. สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2566. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. 2.0 2.1 พุมรี อรรถรัฐเสถียร (มกราคม–เมษายน 2553). อาหารพื้นเมืองปัตตานี. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. p. 98.
  3. 3.0 3.1 "ขนมกอเละเลอเมาะ กอเละซามา". Pattani Heritage City. สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2566. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. "ขนมใส่ไส้ประยุกต์". Phol Food Mafia. สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2566. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. "สมันปลา (ซามาอีแก)". Cookpad. สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2566. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)