แกงระแวง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แกงระแวง
ประเภทแกง
มื้ออาหารจานหลัก
แหล่งกำเนิดไทย
ส่วนผสมหลักเนื้อสัตว์ (เนื้อวัว เนื้อหมู เนื้อไก่) พริกแกงแบบแกงเขียวหวาน น้ำปลา น้ำตาลปี๊บ พริกชี้ฟ้า ใบมะกรูด

แกงระแวง เป็นอาหารไทยประเภทแกงกะทิมีน้ำขลุกขลิก กึ่งแกงกึ่งผัด มีลักษณะคล้ายพะแนง แต่ใช้พริกแกงแบบแกงเขียวหวาน เติมขมิ้นสดและตะไคร้เข้าไป[1] แกงระแวงต้นตำรับโบราณจะใส่เนื้อวัว แต่ในปัจจุบันสามารถใส่เนื้อสัตว์อื่น ๆ แทนได้ เช่น เนื้อหมู เนื้อไก่ เป็นต้น ปรุงรสด้วยน้ำปลาและน้ำตาลปี๊บ โรยพริกชี้ฟ้าและใบมะกรูดฉีกเพื่อตกแต่ง[2]

ต้นกำเนิดของแกงระแวง บ้างว่ามีมาตั้งแต่สมัยทวารวดี บ้างว่าอาจจะได้รับอิทธิพลมาจากอินโดนีเซีย (ชวา) โดยผ่านทางภาคใต้ของไทย บ้างว่าแกงระแวงน่าจะมาจากแกงเผ็ดเนื้อวัวของชวา ที่เรียกว่า เรินดัง และสันนิษฐานว่าแกงชนิดนี้จะเข้าสู่เมืองไทยเมื่อคราวที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสชวา[3]

ในวัฒนธรรมประชานิยมปรากฏแกงระแวงในภาพยนตร์เรื่อง บุพเพสันนิวาส 2[4]

อ้างอิง[แก้]

  1. ""ระแวงเนื้อน่องลาย" แกงโบราณน้ำขลุกขลิก". เดลินิวส์.
  2. "แกงระแวงเนื้อ แกงไทยโบราณรสเผ็ดกลมกล่อมหอมสมุนไพร". กะปุก.
  3. ""แกงระแวง" แกงโบราณ กรุ่นกลิ่นเครื่องเทศ เมนูชวนกินจาก "บุพเพสันนิวาส 2"". ผู้จัดการออนไลน์.
  4. "วิธีทำ "แกงระแวง" เมนูคู่ "บุพเพสันนิวาส"". กรุงเทพธุรกิจ.