ตูปะซูตง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตูปะซูตง
ชื่ออื่นketupat sotong
แหล่งกำเนิดไทย, มาเลเซีย
ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ตูปะซูตง เป็นอาหารกึ่งคาวกึ่งหวานของชาวไทยมุสลิม มีลักษณะเป็นปลาหมึกยัดไส้ข้าวเหนียว นิยมรับประทานในแถบจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส[1]

ตูปะซูตงประกอบไปด้วยปลาหมึกสด ข้าวเหนียว กะทิ น้ำตาลทราย และเกลือ มักรับประทานหลังอาหารมื้อกลางวัน หรือรับประทานเป็นอาหารว่าง บางครั้งใช้รับประทานแทนอาหารมื้อใดมื้อหนึ่งก็ได้ นิยมในหมู่ชุมชนที่อยู่ใกล้ทะเล[2] ตูปะซูตงเป็นภาษามลายูโดย ตูปะ หมายถึง ข้าวเหนียวต้มนึ่ง และ ซูตง หมายถึง ปลาหมึก[3]

ในรัฐกลันตันและตรังกานูของมาเลเซีย เรียกอาหารชนิดนี้ว่า เกอตูปัตโซตง (มลายู: ketupat sotong)[4]

อ้างอิง[แก้]

  1. "ตูปะซูตง". ปัตตานีเฮอริเทจซิตี. 1 มกราคม 2022. สืบค้นเมื่อ 1 มกราคม 2022.
  2. ""ตูปะซูตง" ขนมหวานพื้นบ้าน ชาว 3 จังหวัดใต้ เมนูสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น". สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดยะลา. 1 มกราคม 2022. สืบค้นเมื่อ 1 มกราคม 2022.
  3. "ตูปะซูตง : หมึกต้มหวานยัดไส้ข้าวเหนียว เมนูง่ายงามสามัญพื้นถิ่นชายแดนใต้". ทรูไอดี. 28 ธันวาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 1 มกราคม 2022.
  4. "Local Delicacy & Traditional Cuisine". terengganutourism.com.