ชาชัก (เครื่องดื่ม)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชาชัก
ประเภทเครื่องดื่ม
แหล่งกำเนิดมาเลเซีย
ภูมิภาคคาบสมุทรมลายู[1]
ผู้สร้างสรรค์ผู้อพยพชาวอินเดียในคาบสมุทรมลายู[1][2]
อุณหภูมิเสิร์ฟร้อน
ส่วนผสมหลักชาแดง, นมระเหย
จานอื่นที่คล้ายกันชานม รวมถึงชานมพม่าและชานมฮ่องกง

ชาชัก (มลายู: teh tarik) เป็นชานมแบบร้อนที่พบได้ทั่วไปในมาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ และภาคใต้ของไทย[1] ชื่อมาจากกระบวนการชงที่มีการเทเครื่องดื่มกลับไปกลับมา ทำจากชาแดง นมระเหย จัดเป็นเครื่องดื่มประจำชาติของมาเลเซีย[3]

การผสมส่วนผสมจะใช้การเทกลับไปกลับมาระหว่างแก้วสองใบจนเกิดฟอง เป็นการทำให้ชาเย็นลง และทำให้ชากับนมระเหยเข้ากันดี การผสมชานี้กลายเป็นศิลปะอย่างหนึ่ง ชาชักและนาซีเลอมะก์ถือเป็นอาหารและเครื่องดื่มที่เป็นมรดกของมาเลเซีย

รูปแบบ[แก้]

  • เตะฮ์-ซี เป็นชาที่ชงกับนมระเหยไม่หวาน ต่างจากชาชักทั่วไปที่ใส่นมข้นหวาน
  • เตะฮ์-โอ เป็นชาที่ไม่ใส่นม ถ้าไม่ใส่น้ำตาลด้วยเรียก "เตะฮ์-โอ โกซง"
  • เตะฮ์ฮาเลีย หรือชาขิง
  • ชาม มาจากภาษากวางตุ้ง หมายถึง ผสม เป็นส่วนผสมของชาและกาแฟ
โรตีปราตาและชาชักในสิงคโปร์

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 Bonny Tan (2013). "Teh tarik". Singapore: National Library Board. สืบค้นเมื่อ 30 August 2016.
  2. Su-Lyn Tan (2003). Malaysia & Singapore. Lonely Planet. pp. 158–. ISBN 978-1-74059-370-0.
  3. "Lipton urges Malaysians to take pride in teh tarik, our national beverage". New Sabah Times. 7 September 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 July 2014. สืบค้นเมื่อ 6 November 2013.