ขนมวง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ขนมวง
ชื่ออื่นเข้ามูนข่วย
ขนมหีควาย
ข้าวโค้ง
มื้ออาหารว่าง
ภูมิภาคภาคเหนือและภาคกลางของประเทศไทย
รัฐฉานในประเทศพม่า
ส่วนผสมหลักแป้งข้าวเหนียว, กะทิ, น้ำตาลปี๊บ

ขนมวง บางแห่งเรียก ขนมหีควาย เป็นขนมไทยชนิดหนึ่ง ตัวขนมรูปวงกลมมีรูตรงกลางคล้ายกับกำไลหรือโดนัท ทำจากแป้งข้าวเหนียว ผสมกับกะทิ น้ำตาลปี๊บ นวดจนเป็นเนื้อเดียวกัน แล้วปั้นเป็นวงกลมก่อนนำไปทอดในน้ำมัน (ในอดีตใช้น้ำมันปลา) จนตัวขนมมีสีเหลืองทอง[1] บางสูตรใช้แป้งข้าวเหนียวผสมถั่วเหลือง ทอดด้วยเตาถ่าน แล้วเคลือบตัวขนมด้วยน้ำตาลโตนด[2] โดยชื่อ "หีควาย" มาจากการนำตอกมาร้อยขนมให้เป็นพวง จนตัวขนมมีรูปเป็นวงรี คล้ายกับอวัยวะเพศของควายตัวเมีย จึงได้ชื่อนี้มา[1] ส่วนชุมชนชาวอยุธยาในพม่าซึ่งอาศัยอยู่ในภาคมัณฑะเลย์ มีขนมเรียกว่า มงรัดเกล้า ซึ่งมีลักษณะเดียวกันกับขนมวง รับประทานคู่กับน้ำจิ้มรสหวาน[3]

มีอาหารลักษณะเดียวกันขนมของชาวไทใหญ่ เรียกว่า เข้ามูนข่วย เป็นรูปวงกลมมีรูตรงกลางคล้ายกำไลหรือโดนัท ทำจากแป้งข้าวเหนียวนวดกับน้ำและมะพร้าวขูด นำไปคลุกกับงาขาวแล้วต่อให้เป็นวงกลม ทอดในน้ำมันให้สุก พอขนมเย็นลงจึงนำไปชุบน้ำตาลอ้อยให้ทั่ว ชาวไทใหญ่นิยมทำขนมนี้ในงานปอยหรืองานบุญ[4]

นอกจากนี้ยังมีอาหารของชาวไทพวนซึ่งมีลักษณะเดียวกัน เรียกว่า ข้าวโค้ง ทำจากแป้งข้าวเหนียว น้ำ มะพร้าวขูดฝอย และมันเทศซึ่งนึ่งจนสุกบดให้ละเอียด นำมานวดด้วยกันจนเนื้อเนียน จากนั้นก็ปั้นแป้งเป็นเส้น แล้วจับมาโค้งเข้าหากัน ก่อนนำไปทอด เป็นที่มาของชื่อ[5]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "เคยกินไหม? ขนมชื่อแปลกอร่อยจนต้องยกนิ้วให้สูตรโบราณยอดฮิตในสมัยคุณยาย". แนวหน้า. 16 ธันวาคม 2563. สืบค้นเมื่อ 9 มกราคม 2567. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "ชวนชิมขนม "ฮิควาย" ขนมโบราณฝีมือคุณยายวัย 77 ปี ชาวชัยนาทยังคงอนุรักษ์ไว้". ผู้จัดการออนไลน์. 6 สิงหาคม 2561. สืบค้นเมื่อ 9 มกราคม 2567. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. "เที่ยวพม่าแบบอันซีน ตามรอยชาวโยเดียที่สาบสูญสู่แผ่นดินเมียนมา". ชิลไปไหน. 19 Jan 2018. สืบค้นเมื่อ 13 May 2018.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  4. สิริรักษ์ บางสุด และ พลวัฒน์ อารมณ์. โอชะล้านนา. กทม. แสงแดด. 2558 หน้า 215
  5. "ข้าวโถเถ-ข้าวโค้ง ขนมในความทรงจำที่กำลังจะหายไป". ครัว. 11 มกราคม 2565. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2565. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)