ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เสรีไทย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BondAviation (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับไอโอเอส
Komasan1997 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 25: บรรทัด 25:
นอกจากนี้ยังมีการจัดตั้งโรงเรียนนายทหารสารวัตร และโรงเรียนนายสิบสารวัตรทหาร โดยรับสมัครนิสิตจาก[[จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]] นักเรียนเตรียมปริญญาจาก[[มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง]] นักเรียน[[โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา]] และนักเรียน[[โรงเรียนเตรียมนายเรือ]] มาฝึกให้เป็นผู้บังคับบัญชาของกองกำลังใต้ดินเพื่อเตรียมสู้รบกับกองทัพญี่ปุ่นในวันที่ฝ่ายสัมพันธมิตรกำหนด มีการประชาสัมพันธ์ให้คนไทยในประเทศร่วมกันต่อต้านญี่ปุ่น ส่งข่าวด้านยุทธศาสตร์ทางทหารตลอดจนรายงานสภาพดินฟ้าอากาศให้ฝ่ายสัมพันธมิตรทราบ ซึ่งทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตรสามารถปฏิบัติการทางทหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ยังมีการจัดตั้งโรงเรียนนายทหารสารวัตร และโรงเรียนนายสิบสารวัตรทหาร โดยรับสมัครนิสิตจาก[[จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]] นักเรียนเตรียมปริญญาจาก[[มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง]] นักเรียน[[โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา]] และนักเรียน[[โรงเรียนเตรียมนายเรือ]] มาฝึกให้เป็นผู้บังคับบัญชาของกองกำลังใต้ดินเพื่อเตรียมสู้รบกับกองทัพญี่ปุ่นในวันที่ฝ่ายสัมพันธมิตรกำหนด มีการประชาสัมพันธ์ให้คนไทยในประเทศร่วมกันต่อต้านญี่ปุ่น ส่งข่าวด้านยุทธศาสตร์ทางทหารตลอดจนรายงานสภาพดินฟ้าอากาศให้ฝ่ายสัมพันธมิตรทราบ ซึ่งทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตรสามารถปฏิบัติการทางทหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ


อย่างไรก็ดี การปะทะกันระหว่างขบวนการเสรีไทยกับกองทัพญี่ปุ่นไม่มีโอกาสเกิดขึ้น เพราะญี่ปุ่นประกาศยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไข เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2488 หลังจากสหรัฐอเมริกาทิ้ง[[ระเบิดปรมาณู]]ถล่มเมือง[[ฮิโรชิมะ]]และ[[นางาซากิ]]เมื่อวันที่ 6 และ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2488 แม้ว่าไทยจะร่วมกับญี่ปุ่นในการประกาศสงคราม แต่ความร่วมมืออย่างลับ ๆ ของไทยกับฝ่ายสัมพันธมิตรทำให้ไทยมีอำนาจต่อรองในการเจรจากับฝ่ายสัมพันธมิตรหลังสงครามยุติ โดยสหรัฐอเมริกาถือว่าไทยไม่เคยประกาศสงครามต่อประเทศของตน ขณะที่อังกฤษยังดำเนินนโยบายต่อไทยแตกต่างไปจากสหรัฐอเมริกา สวัสดีครับท่านผู้ชม
อย่างไรก็ดี การปะทะกันระหว่างขบวนการเสรีไทยกับกองทัพญี่ปุ่นไม่มีโอกาสเกิดขึ้น เพราะญี่ปุ่นประกาศยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไข เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2488 หลังจากสหรัฐอเมริกาทิ้ง[[ระเบิดปรมาณู]]ถล่มเมือง[[ฮิโรชิมะ]]และ[[นางาซากิ]]เมื่อวันที่ 6 และ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2488 แม้ว่าไทยจะร่วมกับญี่ปุ่นในการประกาศสงคราม แต่ความร่วมมืออย่างลับ ๆ ของไทยกับฝ่ายสัมพันธมิตรทำให้ไทยมีอำนาจต่อรองในการเจรจากับฝ่ายสัมพันธมิตรหลังสงครามยุติ โดยสหรัฐอเมริกาถือว่าไทยไม่เคยประกาศสงครามต่อประเทศของตน ขณะที่อังกฤษยังดำเนินนโยบายต่อไทยแตกต่างไปจากสหรัฐอเมริกา


== สมาชิกขบวนการที่มีชื่อเสียง ==
== สมาชิกขบวนการที่มีชื่อเสียง ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 21:05, 22 มีนาคม 2562

เสรีไทย
ตราสัญลักษณ์เสรีไทย
ปฏิบัติการพ.ศ. 2484–2488
พันธมิตรฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง
ปรปักษ์จอมพล ป. พิบูลสงครามและจักรวรรดิญี่ปุ่น

เสรีไทย (อังกฤษ: Free Thai Movement) เป็นขบวนการใต้ดินที่ดำเนินการระหว่างสงครามมหาเอเชียบูรพา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสงครามโลกครั้งที่สอง ในช่วง พ.ศ. 2484–2488 มีวัตถุประสงค์เพื่อต่อต้านการรุกรานของกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น รักษาเอกราชและอธิปไตยของชาติไทย ขบวนการเสรีไทยกำเนิดขึ้นในวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484เมื่อกองทัพญี่ปุ่นยกทัพเข้ามาทางด้านทิศตะวันออกและยกพลขึ้นบกจากอ่าวไทย เดิมเรียกขบวนการนี้ว่า "องค์การต่อต้านญี่ปุ่น" ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น "เสรีไทย" มีบทบาทเป็นแหล่งข่าวสำคัญของฝ่ายสัมพันธมิตร

การที่รัฐบาลไทยนำโดยจอมพลแปลก พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ยินยอมตกลงเข้าร่วมกับญี่ปุ่นและประกาศสงครามต่อสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ ทำให้บุคคลสำคัญทางการเมืองการปกครอง ข้าราชการ และชาวไทยทั้งในและนอกประเทศไม่เห็นด้วยกับนโยบายประกาศสงคราม มีการรวมตัวกันเคลื่อนไหวต่อต้านญี่ปุ่น แบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มในประเทศ นำโดยนายปรีดี พนมยงค์ ขณะนั้นดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีคลัง กลุ่มที่สองเป็นกลุ่มคนไทยในสหรัฐอเมริกา นำโดยหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการไม่ยอมส่งคำประกาศสงครามต่อสหรัฐอเมริกา และถือว่าการประกาศสงครามนั้นมิใช่เจตนาของคนไทย กลุ่มที่สามเป็นกลุ่มคนไทยในอังกฤษ นำโดยนักเรียนไทย ณ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ รวมถึงสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และราชนิกูลอีกหลายพระองค์ และต่อมาใน พ.ศ. 2485 อังกฤษได้รับสมาชิกเสรีไทยเข้าเป็นกำลังพลร่วมในกองทัพอังกฤษ

ช่วงที่จอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี การดำเนินงานของกลุ่มทั้งสามไม่ค่อยประสบผลสำเร็จมากนักเพราะขาดการประสานงานร่วมกัน แต่เมื่อเปลี่ยนรัฐบาล โดยมีนายควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี ความร่วมมือระหว่างกันก็มีประสิทธิภาพมากขึ้น แม้ว่านายควง อภัยวงศ์จะแถลงนโยบาย ร่วมมือกับญี่ปุ่นโดยใกล้ชิด ตามสัญญาพันธกรณีที่ได้มีต่อกันไว้ด้วยดี และให้ความร่วมมือกับญี่ปุ่นตามข้อเรียกร้องของญี่ปุ่นทุกประการ แต่ขณะเดียวกันคณะรัฐบาลก็มีรัฐมนตรีหลายคนที่เป็นบุคคลระดับหัวหน้าในองค์การต่อต้านญี่ปุ่น และคอยให้ความช่วยเหลือองค์การอย่างลับ ๆ

เสรีไทยมีเครือข่ายความร่วมมือในจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ โดยได้รับความช่วยเหลือจากฝ่ายสัมพันธมิตร สหรัฐอเมริกาและอังกฤษได้ส่งหน่วยปฏิบัติการมาประจำในกรุงเทพมหานคร ด้านฝ่ายไทย นายปรีดี พนมยงค์ ได้ส่งทหารไปประจำที่กองบัญชาการของฝ่ายสัมพันธมิตร ณ เมืองแคนดี ลังกา พร้อมกับส่งทหาร ตำรวจ และพลเรือนไปรับการฝึกกับสำนักงานบริการด้านยุทธศาสตร์ (O.S.S : Office of Strategic Services) ของสหรัฐอเมริกา และกองกำลัง 136 ของอังกฤษ ในอินเดียและลังกา

นอกจากนี้ยังมีการจัดตั้งโรงเรียนนายทหารสารวัตร และโรงเรียนนายสิบสารวัตรทหาร โดยรับสมัครนิสิตจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นักเรียนเตรียมปริญญาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง นักเรียนโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา และนักเรียนโรงเรียนเตรียมนายเรือ มาฝึกให้เป็นผู้บังคับบัญชาของกองกำลังใต้ดินเพื่อเตรียมสู้รบกับกองทัพญี่ปุ่นในวันที่ฝ่ายสัมพันธมิตรกำหนด มีการประชาสัมพันธ์ให้คนไทยในประเทศร่วมกันต่อต้านญี่ปุ่น ส่งข่าวด้านยุทธศาสตร์ทางทหารตลอดจนรายงานสภาพดินฟ้าอากาศให้ฝ่ายสัมพันธมิตรทราบ ซึ่งทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตรสามารถปฏิบัติการทางทหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อย่างไรก็ดี การปะทะกันระหว่างขบวนการเสรีไทยกับกองทัพญี่ปุ่นไม่มีโอกาสเกิดขึ้น เพราะญี่ปุ่นประกาศยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไข เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2488 หลังจากสหรัฐอเมริกาทิ้งระเบิดปรมาณูถล่มเมืองฮิโรชิมะและนางาซากิเมื่อวันที่ 6 และ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2488 แม้ว่าไทยจะร่วมกับญี่ปุ่นในการประกาศสงคราม แต่ความร่วมมืออย่างลับ ๆ ของไทยกับฝ่ายสัมพันธมิตรทำให้ไทยมีอำนาจต่อรองในการเจรจากับฝ่ายสัมพันธมิตรหลังสงครามยุติ โดยสหรัฐอเมริกาถือว่าไทยไม่เคยประกาศสงครามต่อประเทศของตน ขณะที่อังกฤษยังดำเนินนโยบายต่อไทยแตกต่างไปจากสหรัฐอเมริกา

สมาชิกขบวนการที่มีชื่อเสียง

ชื่อในวงเล็บเป็นรหัสที่ใช้เรียกในขบวนการเสรีไทย

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  • ขบวนการเสรีไทย, กรมวิชาการ, กระทรวงศึกษาธิการ, พ.ศ. 2538

หนังสืออ่านเพิ่ม

  • จิราธร ชาติศิริ (บก.). ร.ศ. 160 ไขรหัสลับเสรีไทยที่ศาลายา: ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และคำบอกเล่าว่าด้วยเรื่องสงครามโลกครั้งที่ 2 และศาลายา. นครปฐม: ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา ร่วมกับหน่วยวิชาการเชิงสร้างสรรค์และชุมชนสัมพันธ์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, 2559.
  • สรศักดิ์ งามเจริญกุลกิจ. ขบวนการเสรีไทยกับความขัดแย้งทางการเมืองภายในประเทศไทยระหว่าง พ.ศ. 2481–2492. กรุงเทพฯ : สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535.
  • สรศักดิ์ งามขจรกุลกิจ. ตำนานใหม่ของขบวนการเสรีไทย: เรื่องราวของการต่อสู้เพื่อเอกราช สันติภาพ และประชาธิปไตยอย่างแท้จริง. กรุงเทพฯ: สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555.
  • Wasana Wongsurawat (วาสนา วงศ์สุรวัฒน์). “Heroes or Villains: A Comparative Study of the Overseas Chinese Contribution to the Free Thai Movement and Their Role in the Yaowarat Uprising of 1945.” ใน ธนภาษ เดชพาวุฒิกุล และคงกฤช ไตรยวงค์ (บก.), เอกสารประกอบการประชุมวิชาการระดับชาติ เวทีวิจัยมนุษยศาสตร์ไทย ครั้งที่ 7 ความกลัว ความหวัง จินตนาการ และการเปลี่ยนแปลง. ม.ป.ท., นครศรีธรรมราช, 2557.